วันศุกร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Koi and Vitamins

อาหารปลาส่วนใหญ่ควรจะมีความเพียงพอ
ในแง่ของปริมาณธาตุอาหารและระดับวิตามิน
อย่างไรก็ตามสภาพอากาศบ้านเราที่ร้อนและชื้น
วิตามินบางชนิดจะเสื่อมสภาพไปอย่างรวดเร็ว
โดยเฉพาะในระหว่างการเก็บรักษา
ปลาที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น
จะมีความต้องการวิตามินสูงตามไปด้วย
วิตามินที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับปลาคาร์ฟ คือ

วิตามิน C

เป็นที่ทราบกันดีว่าวิตามิน C (Ascorbic Acid)

ช่วยให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานโรคต่างๆ
เพื่อต่อสู้กับอาการติดเชื้อต่างๆ นอกจากนี้
ยังช่วยให้ปลาไม่เครียด ระหว่างการขนส่ง
เนื่องจากวิตามินซีช่วยให้แผลสมานตัวเร็วขึ้น
และทำให้เซลล์ภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อการติดเชื้อได้อย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ยังช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กจากลำไส้ได้ดียิ่งขึ้น
เพิ่มความแข็งแรงให้หลอดเลือด
เนื่องจากวิตามิน C เสื่อมสภาพได้ง่าย

จึงไม่ควรเก็บอาหารไว้ในที่ซึ่งมีสภาพร้อนชื้น
หรือห้ามโดนแสงแดด
มิฉะนั้นจะส่งผลให้วิตามิน C เสื่อมสภาพ

วิตามิน E

วิตามิน E เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ

กล่าวโดยรวม คือ วิตามิน E ก็จะช่วยให้เยื่อหุ้มเซลล์คงที่
และป้องกันเซลล์จากการถูกทำลายโดยมลพิษต่างๆ
ที่เกิดขึ้นระหว่างการย่อยอาหาร
ซึ่งเกิดขึ้นเมื่ออวัยวะของปลาสัมผัสกับมลพิษในสิ่งแวดล้อม
หรือเมื่อปลาต่อสู้กับอาการติดเชื้อ
วิตามิน E เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
ของกลไกการป้องกันที่ซับซ้อนในเนื้อเยื่อ
โดยการปกป้องเซลล์เม็ดเลือดแดงจาก disintegrating
ถ้าปลาได้รับวิตามิน E ในปริมาณที่เพียงพอ
จะสามารถทนต่อสภาวะเครียด
และทนต่ออาการติดเชื้อที่เหงือกได้ดี
แต่ระดับของวิตามิน E ต้องมีความสมดุลกับแร่ธาตุ ซีลีเนียม
ถ้าปลาได้รับวิตามิน E มากเกินไปอาจเป็นพิษได้

ชนิดของวิตามิน E ก็เป็นสิ่งสำคัญ

วิตามิน E ธรรมชาติดูดซึมได้ง่าย
กว่าวิตามิน E สังเคราะห์
วิตามิน E มีมากในจมูกข้าวสาลี ข้าวโพด(วิทเจม)
และน้ำมันจากเมล็กพืชในรูปไขมันไม่อิ่มตัว (HUFA 's)
เราจึงควรเลือกอาหาร
ที่มีส่วนประกอบของวิตามิน E ธรรมชาติ(โทโคฟีรอ d - alpha -)
มากกว่าวิตามิน E แบบสังเคราะห์ (โทโคฟีรอ alpha - dl)
เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การให้อาหารปลา

สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้เป็นวันก่อนสิ้นปี
พรุ่งนี้หลายคนคงหยุดงานและออกเดินทางท้องเที่ยวกันแล้ว
ผมขอส่งท้ายปีเก่าด้วยเรื่องของการให้อาหารปลา
เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
ในที่นี้เราพิจารณากันที่อุณหภูมิของน้ำในช่วงอุณหภูมิต่างๆ
ที่มีผลต่อการทำงานของระบบการย้อยอาหารของปลา
โดยเราจะเริ่มจากอุณหภูมิสูงไปหาอณหภูมิต่ำ
ซึ่งจะเป็นแนวทางในการให้อาหาร รวมถึงเวลาในการให้อาหาร
เพื่อนๆลองพิจารณาจากประสบการณ์ และลักษณะนิสัยของปลา
ควบคู่กันไปด้วยนะครับ
ช่วงอุณหภูมิของน้ำที่สูงกว่า 30 องศา
ปลาจะไม่ค่อยกินอาหาร ในช่วงนี้เราควรจะให้อาหารที่ย่อยง่าย
โดยให้ครั้งละน้อยๆ บ่อยๆ
ประกอบกับพยายามลดอุณหภูมิของน้ำลง
เช่น การหาที่บังแสงแดด ไม่ให้บ่อได้รับแสงแดดมาเกินไป
พวกโทไซจะได้รับผลกระทบน้อยกว่าปลาที่อายุมาก
ช่วงอุณหภูมิระหว่าง 20-30 องศา
เป็นช่วงที่เราสามารถให้อาหารปลาได้บ่อยเท่าที่เราต้องการ
สามารถให้อาหารเร่งสี เร่งโตได้
โดยให้ครั้งละน้อยๆแต่เพิ่มจำนวนรอบได้ตามต้องการ
เรียกว่าช่วงอุณหภูมินี้เป็นช่วงที่เราสามารถเพิ่มขนาดปลาได้ดี
แต่เราก็ต้องดูแลคุณภาพน้ำให้ดีควบคู่กันไปด้วย
หลีกเลี่ยงการให้อาหารภายใน 1 ชม.
ก่อนพระอาทิตย์ขึ้นหรือตก
พูดง่ายๆก็คือ ถ้ามืดแล้วก็ควรให้ปลานอนนั้นเองครับ

ช่วงอุณหภูมิระหว่าง 15-20 องศา
ในสำรวจดูว่าปลายังต้องการอาหารหรือไม่
เพราะช่วงนี้ระบบย่อยอาหารของปลาจะด้อยลง
ระวังอย่าให้อาหารมากเกินไป ควรให้อาหารย่อยง่าย
ให้อาหารสัก 1 - 2 ครั้งต่อวัน ในปริมาณที่พอเหมาะ

ช่วงอุณหภูมิ 10-15 องศา
ช่วงนี้เราควรสังเกตความต้องการอาหารของปลาว่ามีหรือไม่
ควรให้อาหารย่อยง่าย ชนิดที่ทำจากจมูกข้าวสาลี(วิทเจม)
เวลาที่ควรให้อาหารคือ ระหว่าง 10 โมงเช้าถึงบ่าย 2 โมง
ให้ไม่เกิน 2 ครั้งต่อวันหรือไม่ให้เลยก็ได้ถ้าปลาไม่หิว
ช่วงอุณหภูมิระหว่าง 5-10 องศา
ปกติควรหยุดให้อาหาร ถ้าต้องการให้อาหาร
ก็ควรเป็นพวกอาหารย่อยง่าย ชนิดที่ทำจากจมูกข้าวสาลี(วิทเจม)
เวลาที่ควรให้อาหารคือ ระหว่าง 10 โมงเช้าถึงบ่าย 2 โมง
ให้ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
ช่วงอุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศา
ปลาจะอยู่ในช่วง ไฮเบอร์เนต หรือจำศิล
ไม่จำเป็นต้องให้อาหารครับ
ช่วงอุณหภูมิน้ำข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น
เพื่อนๆจะรู้นิสัยปลาของตน และสภาพบ่อดีกว่าใคร
ลองปรับใช้ให้เหมาะสมนะครับ
อย่างไรก็ดีให้อาหารน้อยดีกว่าให้อาหารมากเกินไปนะครับ
ควรเก็บอาหารที่เหลือทิ้งเสมอเพื่อควรคุมคุณภาพน้ำ
สำหรับบ่อใหม่ ควรให้ลดปริมาณอาหารจนกว่าระบบกรอง
จะสมบูรณ์และพัฒนา Cycled แบคทีเรียในระดับที่พอเหมาะ
หากมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิน้ำควรลดปริมาณอาหาร หรือหยุดให้
จนกว่าอุณหภูมิจะนิ่ง แล้วค่อยเริ่มให้อาหาร
อาหารที่ควรให้ก็เป็นพวกอาหารย่อยง่าย
หรือชนิดที่ทำจากจมูกข้าวสาลี(วิทเจม)
โดยค่อยๆให้ปริมาณน้อย แล้วค่อยๆเพิ่มปริมาณไปจนกว่า
คุณจะรู้สึกว่าพอดีกับความต้องการของปลา
วิธีนี้จะช่วงให้ระบบการย้อยอาหารของปลาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เป็นยังไงกันบ้างครับเพื่อนๆ คงพอทราบวิธีการให้อาหาร
ปริมาณอาหาร รอบในการให้ ชนิดอาหาร และช่วงเวลาที่เหมาะสม
เหล่านี้เกี่ยงข้องกับอุณหภูมิน้ำ และระบบการย้อยอาหารของปลา
เป็นอย่างมาก การเลี้ยงปลาจึงเป็นศาสตร์ที่ลึกซึ้ง
จริงไหมครับ
ที่มาของข้อมูลและรูปภาพ http://www.hikari.info/topics/to_06.html

วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เครื่องสำรองไฟ



ข่าวประชาสัมพันธ์

เครื่องสำรองไฟนวัตกรรมใหม่ล่าสุด Inverter power switching

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักคำว่า ระบบ อินเวอร์เตอร์ พาวเวอร์สวิทช์ชิ่ง กันก่อนนะครับ หลัก ๆ ระบบนี้เป็นระบบที่ใช้ในอากาศยานหรือ เครื่องบิน เป็นระบบที่ใช้ในการสตาร์ทเครื่องไอพ่น ของเครื่องบิน ซึ่งระบบนี้ จะมีขนาดเล็ก และ เบา สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ค่อนข้างสูงและขดลวดไม่กินกระแสไฟ เมื่อเทียบกับระบบ หม้อแปลงอินเวอร์เตอร์ขนาดใหญ่ทั่วไป หม้อแปลงอินเวอร์เตอร์ทั่วไป กำลังขับ 150 วัตต์ จะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ และมีน้ำหนักมาก เมื่อเทียบกับระบบ สวิชท์ชิง หม้อแปลงจะมีขนาดเล็กถึงเล็กมาก ถ้าเทียบขนาดของตัวหม้อแปลงเองกับกำลังไฟฟ้าที่จ่ายออกมาจริง โดยมีขนาด กว้าง 1 นิ้ว ยาว 1 นิ้ว สูง 1 นิ้ว และมีน้ำหนักเบามาก สามารถจ่ายกระแสไฟได้เท่ากับหม้อแปลงที่มีขนาดใหญ่ เครื่องสำรองไฟระบบ Inverter power switching สามารถนำไปใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้หลายประเภท เช่น ทีวี เครื่องเล่นซีดี พัดลม กล้องวงจรปิด ระบบสัญญาณเคเบิล ไฟฉุกเฉินสำหรับคอนโด หรืออพาร์ทเม้นท์ เครื่องผลิตออกซิเจนที่ใช้ระบบไฟฟ้าสำหรับผู้ป่วยที่ต้องให้ออกซิเจนตลอดเวลา และออกซิเจนสำหรับตู้ปลาหรือบ่อเพาะพันธุ์ปลาสวยงามต่าง ๆ โดยดูจากวัตต์และโหลดของเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดนั้น ๆ ด้วย

ประสิทธิภาพของเครื่องสำรองไฟระบบ Inverter power switching

1. สามารถจ่ายกระแสไฟได้นาน 8-24 ชม. เป็นอย่างต่ำ แปรผันตามการใช้งานในแต่ละครั้ง โดยที่การทำงานของเครื่องสำรองไฟจะขึ้นอยู่กับกระแสไฟที่ใช้ในแต่ละครั้งและก็ขนาดของแอมป์แบตเตอร์รี่ที่ใช้ ดังนั้น แรงลมของปั้มลมที่ท่านใช้งานปกติ จะไม่มีการตกหรือเบาลงเลย จะทำงานปกติ ต่อเนื่องได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญระบบ Inverter power switching ต่างจากระบบของ UPS โดยสิ้นเชิง

2. เราได้พัฒนาระบบการระบายความร้อน ให้สามารถระบายความร้อนได้ดียิ่งขึ้นและย้ายปลั๊กมาอยู่ด้านข้างเพื่อสะดวกในการใช้งานและเปลี่ยนปลั๊กไฟให้มีความสวยงานทันสมัยยิ่งขึ้น ที่สำคัญสามารถ ชาร์ทไฟจากแบตเตอร์รี่ขนาดใหญ่ได้ 200-400 แอมป์

3. เครื่องสำรองไฟระบบ Inverter power switching สามารถทำงานและชาร์ทแบตเตอร์รี่ไปพร้อม ๆกัน โดยอัตโนมัติหลังจากที่ได้ใช้กระแสไฟไปในแต่ละครั้ง โดยที่ท่านไม่ต้องสับสวิทซ์ไฟ หรือโยกเบรคเกอร์ และเมื่อแบตเตอร์รี่ชาร์ทไฟเต็มเรียบร้อยแล้ว จะมีวงจรตัดการชาร์ทโดยอัตโนมัติ

4. ด้านหน้าของตัวเครื่องจะมีช่องแอมป์มิเตอร์และโวลท์มิเตอร์แสดงสถานะการทำงานอย่างชัดเจนโดยจะแสดงสถานะการจ่ายกระแสไฟของอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงว่ากินกระแสไฟเท่าไร พร้อมหลอดไฟ แสดงสถานะต่าง ๆ ในการทำงานแต่ละอย่างอีกด้วย และยังมีช่องแสดงการชาร์ทเป็นแบบดิจิตอลพร้อมสัญญาณเตือนเมื่อชาร์ตแบตเตอร์รี่เต็ม

เครื่องสำรองไฟระบบ Inverter power switching ช่วยป้องกันความเสียหาย หากเกิดกระแสไฟฟ้าดับ ปลาของท่านจะไม่ขาดออกซิเจนอย่างแน่นอน ในกรณีที่ท่านไม่อยู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นหยุดเทศกาลต่าง ๆ หรือเดินทางไปต่างประเทศเป็นระยะเวลาหลาย ๆ วัน และในกรณีที่ไฟฟ้าดับในเวลากลางคืนท่านก็ไม่ต้องตื่นขึ้นมานั่งปั่นเครื่องสำรองไฟหรือตื่นมาเพื่อเสียบปลั๊กใด ๆ ทั้งสิ้นเพราะเครื่องสำรองไฟของเราจะทำงานอัตโนมัติ เพราะฉะนั้นทุกท่านจึงมั่นใจได้ว่า เครื่องสำรองไฟรุ่นนี้เหมาะสำหรับผู้รักปลาทุกท่าน โดยเฉพาะผู้ที่เลี้ยงปลาสวยงามที่มีจำนวนตู้ปลาหลาย ๆ ใบ ตลอดจนบ่อเพาะพันธ์ปลาและร้านขายปลาสวยงามต่าง ๆ


แบ่งเครื่องสำรองไฟออกเป็น 3 รุ่น

1. Neo kid เหมาะสำหรับ ปั๊มลม atman และ resun หรือ ปั๊มลมเมโด้ เซโกะ ไฮโบร ตั้งแต่รุ่น 40 60 80 และสามารถต่อพ่วงปั๊มลมรุ่น atman hp 12000 หรือ resun lp 100 ได้ไม่ต่ำกว่า 2-3 เครื่องในการใช้งานแต่ละครั้ง และยังสามารถพ่วงปั๊มน้ำได้ตามวัตต์ที่ใช้งานจริงเพิ่มเข้าไปได้อีกด้วย (ต้องเช็ควัตต์ที่เหลือด้วยนะครับ) ราคาเครื่องไม่รวมแบตเตอร์รี่

2. Neo top เหมาะสำหรับ ปั๊มลมจากต่างประเทศ ที่ใช้กระแสไฟสูง ๆ เช่น ไฮโบร เมโด้ เซโกะ หรือรุ่นไฮโบร 100 และ 120 ยิ่งกว่านั้นเครื่องสำรองไฟรุ่นนี้ยังสามารถต่อปั๊มลมของ atman hp1200 หรือ resun lp 100 ได้มากถึง 6 เครื่องด้วยนะครับ และยังใช้กับปั๊มน้ำที่เหลือได้อีกด้วย โดยดูตามวัตต์จริงหน้างาน
(ต้องเช็ควัตต์ที่เหลือด้วยนะครับ) ราคาเครื่องไม่รวมแบตเตอร์รี่

3. Neo pro เหมาะสำหรับ ปั๊มลมจากต่างประเทศที่ใช้กระแสไฟสูง ๆ เช่น ไฮโปร 200 เมโด้ 200 เซโกะ 200 และสามารถต่อปั๊มลม resun หรือ atman ได้มากสุดครั้งละ 7-9 เครื่อง นอกจากนั้นยังใช้กับปั๊มน้ำที่ใช้งานที่เหลือได้อีก (ต้องเช็ควัตต์ที่เหลือด้วยนะครับ) โดยที่ตู้รุ่นนี้จะเป็นตู้ที่มีหลังคากันแดด กันน้ำได้ด้วยนะครับ ราคาเครื่องไม่รวมแบตตเตอร์รี่

หมายเหตุ
หากลูกค้าต้องการซื้อแบตเตอร์รี่เองก็ได้ ทางเราจะทำการคำนวณแอมป์ที่ใช้ต่อชั่วโมงให้นะครับ
เครื่องสำรองไฟทุกรุ่น รับประกัน 1 ปี ไม่รวมค่าขนส่ง (ฟรีค่าแรงและค่าอะไหล่)
ยกเว้น กรณีที่ลูกค้านำเครื่องไปใช้งานผิดประเภท หรือตรวจพบว่ามีการนำเครื่องไปดัดแปลงแก้ไขเอง จะสิ้นสุดการรับประกันทันที
-กรณีที่ลูกค้านำเครื่องไปใช้งานผิดประเภทหรือดัดแปลง แก้ไข จนเกิดความเสียหาย เรายินดีซ่อมให้จะคิดค่าและค่าอะไหล่ตามจริง
-กรณีที่มีการนำเครื่องไปลอกเลียนแบบ หรือ COPY เราจะดำเนินคดีตามกฎหมาย สินค้าของเราทุกรุ่นจดลิขสิทธิ์เรียบร้อยแล้ว

สามารถสั่งซื้อและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณหนึ่ง โทร. 086 989 9900

ทางเราอยากให้ลูกค้าทุกท่านใช้งานจากเครื่องสำรองไฟของเราให้ได้ประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ครับ เราสัญญาว่าจะพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งครับ ขอบคุณสำหรับพื้นที่ครับ

การแก้ไขปัญหา การใช้งานเครื่องให้อาหารอัตโนมัติ


สวัสดีครับ ผมขอแนะนำ วิธีการแก้ไขปัญหา การใช้งานเครื่องให้อาหารอัตโนมัติ
หน้าจอไม่ขึ้น หรือขึ้นแต่ผิดปกตื หรือปกติแต่ตั้งเวลาไม่ได้ มัน Hang ครับ
สาเหตุมาจากการที่ไม่ได้ใช้แล้วถอดปลั๊กเก็บ และไม่ได้ถอดถ่านออก ถ่านเลยหมด
หรือเกิดจากถ่านแบคอัพหมด ไฟกระชากอย่างแรง ฟ้าผ่า เป็นต้น
ต้อง reset เครื่องโดยการถอดถ่าน ถอดปลั๊กออก ทิ้งไว้สักครู่
เสียบปลั๊กอย่างเดียว แล้วตั้งเวลาใหม่ ถ้าไม่หายให้ถอดปลั๊กทิ้งไว้ข้ามคืน
ถ้ายังไม่หายแล้วค่อยส่งมาให้ดูครับ

วิธีใช้เครื่องให้อาหารอัตโนมัติ

1. ตั้งเวลาตามคู่มือทุกขั้นตอน สวิทช์ตั้งเวลาจะมีความไว ปุ่ม MODE และ SET หากกดแช่หน้าจอจะข้ามไปหน้าอื่น ให้กด MODE หรือ SET วนไปจนถึงหน้าที่ต้องการจะตั้งเวลา

2. ตั้งเวลาเรียบร้อยแล้ว ค่อยใส่ถ่าน Backup เพื่อเลี้ยงวงจรขณะไฟฟ้าดับ (หน้าจอจะดับไปด้วย) ถ่านจะถูกดึงกระแส ไปใช้ขณะไฟดับเท่านั้น เมื่อไฟฟ้ามาเวลาที่ตั้งไว้ยังคงอยู่ ถ่านไม่ใส่ก็ได้ ถ้าไฟฟ้าดับต้องมาตั้งเวลาใหม่ หากไม่ได้ใช้เครื่องเป็นเวลานานๆ ควรถอดถ่านออกด้วย เพื่อไม่ให้ถ่านหมดเร็ว

3. ถ้าตั้งเวลาไม่ได้ หน้าจอไม่ปกติ แสดงว่าเครื่องค้าง ต้องทำการ Reset โดยการถอดถ่าน ถอดปลั๊กไฟออก ทิ้งไว้สักพัก แล้วเสียบปลั๊กตั้งเวลาใหม่ เครื่องค้างอาจมีสาเหตุมาจาก ไฟฟ้ากระชาก หรือถ่าน Backup หมด ควรเปลี่ยนถ่านใหม่

4. หากติดตั้งเครื่องไว้กลางแจ้งควรหาพลาสติกใสมาปิดบริเวณสวิทช์ตั้งเวลา เพื่อป้องกันน้ำฝน หากจะให้ดียิ่งขึ้น ควรหากระถางดินเผาหรือวัสดุอื่นๆ มาครอบ เพื่อกันแดด ฝน อายุการใช้งานจะยาวนานขึ้น


5. หากเครื่องมีปัญหากรุณาอย่าแกะซ่อมเอง นั่นหมายถึงหมดประกัน ควรโทรมาปรึกษา หรือส่งเครื่องมาตรวจเช็ค

ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ

หากเป็นสินค้านำเข้า เครื่องเสียต้องทิ้ง ไม่มีใครซ่อม อะไหล่หาไม่ได้ รับประกัน 1 ปี ดูแลตลอดอายุการใช้งาน (มากกว่า 10 ปี)

ติดต่อสอบถามได้ที่ พี่ยุทธนา หรือ mickeycowboy 0891286899

เว็ปไซด์ http://feed-auto.com/

วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ค่า Hardness และ Ph

ข้อความต่อไปนี้เป็นข้อความของคุณอ้วน สยามโค่ย
ซึ่งกรุณาตอบให้ความรู้ในกระทู้ http://www.koi360.com/index.php?topic=5151.0
ผมได้ขออนุญาตคุณอ้วนนำมาเขียนบล็อก ได้รับการอนุญาตจากคุณอ้วนแล้ว

ค่า Hardness และ Ph

เรื่องพวกนี้ผมเคยค้นคว้าจากบทความต่างๆนานมากมาแล้ว ลืมเลือนไปเยอะแล้ว (แก่)
เอาแบบง่ายๆ เพราะคะแนนทั้ง เคมี และชีวะ สมัยเด็กไม่สูงเท่าไหร่ เอาจากข้อสังเกตุของผมแล้วกัน

เวลาผมไปดูการเอาปลาขึ้นจากบ่อดิน ซึ่งน้ำที่นั่นจัดเป็นน้ำอ่อน และมีค่า pH ประมาณ 6 กว่าๆ ปลาจากบ่อดินมีอัตราการเติบโตที่ดีมาก ปลาล่ำสวยงาม ทั้งนี้ขนาดที่ได้ ขึ้นอยู่กับอัตราความหนาแน่นของจำนวนปลาด้วย สีผิวที่ขึ้นจากบ่อดินในทันทีนั้น สีขาวเป็นขาวขุ่นหนา ขาวดี แต่ขาวแบบนมสด หรึอแบบนมข้น ประมาณตรามะลิ ไม่ถึงกับตราหมี (ไม่ได้ค่าโฆษณา) สีแดงนั้น ลึก ข้น หนา อมทางส้มแดง (เปรียบเทียบแบบ ฟาร์มต่อฟาร์ม เกรด และ ชนิดของแดง ต่อ แดงด้วยกัน) สำหรับปลาที่คุณภาพดี ส่วนพวกคุณภาพแย่ สีพัง หลุด ก็มี โทนสีแตกต่างกันแล้วแต่บ่อ แล้วแต่เกรด และ แล้วแต่ลักษณะการใช้สารเร่งสี สีดำแล้วแต่บริเวณที่เลี้ยง มีทั้งดีและไม่ดี หรือปริมาณมากหรือน้อย แต่ส่วนใหญ่ขึ้นมา แต่ไม่ฟินนิช

ทันทีที่ย้ายเข้าบ่อปูน สีขาวจะเริ่มเปลี่ยน เป็นขาวที่ดูโปร่งใสกว่าเดิม เป็นแบบปลาตามงานประกวด ใช้เวลาจากบ่อดิน มาอยู่บ่อปูนเพียงไม่กี่วัน ก็เห็นการเปลี่ยนชัด จริงๆ แค่ระหว่างเคลื่อนย้าย จากบ่อดินขึ้นรถทรัค ขนมาที่ฟาร์ม พอโยนลงบ่อปูนสักพัก ก็เริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลง ยกเว้นบางตัวที่มีอาการแพ้น้ำ มีเส้นเลือดขึ้นบ้าง แต่ผิวขาวดูเปลี่ยนไป ส่วนสีแดงนั้น พอเวลาผ่านไป สักพัก ที่ญี่ปุ่นช่วงนี้จะไม่มีการให้อาหาร สีแดงกระชับ และเปลี่ยนมาดูสดขึ้น ดูเหมือนลอยมาที่ผิวมากขึ้น อาจดูไม่ลึกเหมือนวันแรกๆ หรือไม่แดงขุ่นแบบวันแรก ดูสดใสกว่าวันที่มาจากบ่อดิน เป็นการสวยคนละแบบ สีดำช่วงแรกที่ย้ายมาดูไม่ต่างมาก จนเวลาผ่านไปนานๆ เช่น2-3 เดือนขึ้นไป ขึ้นอยู่กับบริเวณที่ตั้งฟาร์ม แต่ส่วนใหญ่จะดูลึกขึ้น มีการพัฒนาขึ้นกว่าตอนขึ้นจากบ่อดินใหม่ๆ ลืมบอกไป ว่าน้ำบ่อปูน อาจไม่อ่อนเท่า

เวลาโชว่าย้ายมาอยู่บ่อปูนที่เมืองไทย สีดำเปลี่ยนแปลงไปทางฟินนิชเร็วขึ้น มาเร็วขึ้น หลายครั้งที่ญี่ปุ่นบอกว่า ปลาบางตัว ทำท่าจะไม่ดี รีบส่งมาที่เมืองไทยเสียก่อน สีดำจะได้มีโอกาสมากขึ้น สีดำในซันเก้สาย จินเบ (Jinbei) สีดำจะมามากแบบน่าตกใจ บางครั้งมากจนดูไม่ได้ คุณภาพดำจากน้ำเมืองไทยกับ ซันเก้สายจินเบนั้น ดำเข้ม ลึก เป็นมันเงา สวยมากๆๆ แต่ควบคุบคุมปริมาณไม่ค่อยได้ บางที่มาจนดำไปครึ่งตัวก็มี แต่เป็นอะไรที่แสดงลักษณะของน้ำจากบ้านเรานั้น ค่อนข้างจะทำให้ดำดีขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงได้มาก

แต่ถึงจะเทียบกับที่ญี่ปุ่นด้วยกัน ลักษณะของสีทั้ง 3 สีนั้น ก็แตกต่างกันพอควร แบบสังเกตุได้ ระหว่างปลาที่เพิ่งมาจากบ่อดิน กับปลาที่อยู่ในบ่อปูนนานๆ

มีอยู่ปีหนึ่ง ที่ ไดนิชิ ทดลองเก็บโตไซ ไว้ 1 ชุดใหญ่ ในช่วงฤดูร้อน โดยไม่ปล่อยลงบ่อดิน พอถึงเดือนธันว่า ปลาที่อยู่ในบ่อดิน กับปลาที่เลี้ยงในบ่อปูน มีลักษณะสี ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ปลาบ่อปูนมีสีที่ดูสดใส แบบพร้อมขายมากกว่า อาจทำให้มือใหม่ดูตื่นเต้นกว่า อัตราการโตต่ำกว่า อาจเพราะที่จำกัด และเลี้ยงหนาแน่นกว่า ขาวกว่า แดงสดกว่า ดำดูฟินนิชกว่า ดูแล้ว เหมือนปลามาจากคนละฟาร์ม ทั้งๆที่มาจากพ่อแม่เดียวกัน

ผมเขียนแบบภาษา เคมี ไม่ค่อยเป็น ช่วยแปลไทยเป็นตัวเลขค่าต่างๆที ผมจะได้ร่วมเข้าใจด้วย เพราะของผม เอามาจากการสังเกตุ ผมลงไปลุยในบ่อดินบ่อยๆ จึงมีโอกาสได้เห็นปลาขณะยังอยู่ในบ่อว่าม้นต่างกันจริงๆ ที่เมืองไทย ที่รังสิตก็เป็นแบบเดียวกัน

ข้อเสียของบ่อดินคือ ควบคุมยาก ให้ผลแตกต่างมาก จากบ่อหนึ่งถึงบ่อหนี่ง อันตรายเยอะ ญี่ปุ่นนิยมใช้เพราะไม่มีทางเลือก เพราะ มีปลาเยอะ สร้างบ่อปูนมารอบรับทั้งหมดไม่ไหว


ผมคิดว่าปลา Sansai ที่ขึ้นจากบ่อดินใหม่นั้น มีสีที่มีพัฒนาการเพิ่มขึ้นอีกระดับหนึ่ง ต้องบอกว่า ปลาที่ Breeder เก็บไว่ลงบ่อดิน จนถึง 3 ปีนั้น ส่วนใหญ่ก็ต้องถือว่า มีระดับพอควร จากที่ผมเห็นปลาที่เพิ่งขึ้นมาจากบ่อดิน สีแดง จะหนาเข้มกว่า Nisai เป็นส่วนใหญ่ สีแดงของปลาหลายตัว สดขึ้นกว่าเดิม แต่ไม่ทั้งหมดนะครับ บางส่วน ยังมีลักษณะสีที่ยังอมส้มอยํู หนาลึก และออกใสขึ้น อาจไม่ขุ่นข้นแบบปลา 2 ปีชั้นดี แต่ก็ไม่สดเข้มแบบปลาที่ฟินนิชแล้ว

ผมอยากแบ่งปลา 3 ปีออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก สีแดงค่อนข้างสดและหนา ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่กว่า และกลุ่มที่ 2 ที่อาจเป็นปลาเกรดสูงที่บรีดเดอร์ไม่เร่งสีเพื่อเตรียมขาย ทำให้สีดูอ่อนกว่ากันในแง่โทนสี

ผมเคยเข้าคลาสเรียนข้างบ่อกับปลาโคฮากุอายุ 4 ปีตัวหนึ่ง จากฟาร์ม ไดนิชิ ถ้าจำไม่ผิด ในปี 2006 ในคลาสเรียนข้างบ่อวันนั้น มีผม มีคุณตาว คุณ 2p คุณโจ้ Koi Expert และคุณพระเอก วิลลี่ แมคอินทอช ปลาตัวนั้นมีสีแดงที่ยังมีโทนสีที่อ่อนอยู่ คือแดงอมส้ม แบบที่เริ่มมีความสดใสและเข้มปานกลาง พวกเราเรียนรู้จากมาโน่ซัง ในวันนั้นว่า นี่คือตัวอย่างของสีแดงที่ดี เราทราบว่าปลาตัวนั้นราคาไม่ถูก เป็นปลาที่ว่ายไปมาอยู่ในบ่อแล้วสีไม่โดดเด่นไปกว่าตัวอื่นเลย

ปีที่แล้ว 2009 ปลาตัวเดียวกันนี้ ได้รับรางวัล Grand Champion ในรายการ

เป็นตัวอย่างว่า ปลา 3 ปี หรือแม้แต่ 4 ปี ที่มาจากบ่อดินนั้น สียังไม่เหมือนกับปลาที่ฟินนิชสมบูรณ์อยู่ดี ทั้งนี้ ปลาเหล่านี้ก็อาศัยอยู่ในบ่อปูน อยู่ครึ่งหนึ่งของชีวิต (แต่เป็นช่วงฤดูหนาว ที่ไม่มีการให้อาหาร) และสภาพน้ำในบ่อปูนก็มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสีไปพอควรในช่วงฤดูหนาวนั้นๆ แต่พอกลับไปลงบ่อดินใหม่อีก 5 เดือน ผลจากน้ำบ่อดินก็ค่อยๆเปลี่ยนสภาพสีให้เป็นอีกแบบหนึ่งได้เหมือนกัน

ปลาอีกส่วนหนึ่งถูกนำลงบ่อดินต่อเนื่องจนถึงปีที่ 4-5-6 หรืออาจนานกว่านั้น โดยเฉพาะแถบนิกาตะ นั่นเพราะสาเหตุหลักก็คือ ไม่มีบ่อปูนที่ดีพอ ที่จะ Condition ปลานั่นเอง หากเทียบกันแล้ว Breeder ในนิกาตะ รายไหนๆก็ไม่มีศักยภาพในการ Condition ปลาเทียบเท่าพวกดีลเลอร์ใหญ่ๆในแถบโตเกียว ชิบะ นาโกย่า โอดาวาร่า หรือ โอกายามา ปลาอายุมากขนาดใหญ่ มีความเสี่ยงสูงในทุกๆเรื่อง ตั้งแต่ภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะวันสุดท้ายก่อนตีอวนขึ้นจากบ่อดินนั้น เป็นวันที่อันตรายที่สุด เพราะบรีดเดอร์จะเริ่มทำการลดระดบน้ำในบ่อดินลง 1 วันก่อนการตีอวน เพราะมีปริมาณน้ำมากต้องใช้เวลาปล่อยน้ำนาน คืนนั้น บรรดาแรคคูนหรือหมีขนาดเล็กจะลงมาจับปลาไปกินได้ง่ายที่สุด เพราะน้ำตื้น ทำให้ปลาใหญ่หนียาก ปลาในบ่อแพงๆ อาจต้องใช้คนเฝ้าระวังทั้งคืน

นอกจากนั้น ความไม่แน่นอนของสภาพน้ำในบ่อดิน ยังอาจสร้างความประหลาดใจสารพัดให้กับบรีดเดอร์ได้อีก เช่นสีหลุด สีดำหาย สีดำมามากเกินไป เป็นแผล หรือหายสาบสูญ

การคอนดิชั่นปลาใหญ่ให้ฟินนิช จึงทำในบ่อปูนมากกว่า ปลาแชมป์ระดับพระกาฬส่วนใหญ่ ฟินนิชในบ่อปูน ที่สามารถควบคุมสภาพน้ำ และป้องกันอันตรายได้ดีกว่า ในอดึต ยุครุ่งเรืองของ ดีลเลอร์ดัง Miyoshiike ของปรมาจารย์ Mamoru Kodama ใช้บ่อปูนขนาด 800 ตันที่ชิบะ เป็นที่คอนดิชั่นปา ได้ Grand Champion 3 ตัว ถัดมายุค ดีลเลอร์ใหม่ (ขณะนั้น) Momotaro แห่งเมือง Okayama เอาปลาจากหลายแหล่ง มาคว้า GC ถึง 3 ครั้ง 3 ครา (แต่ไม่ใช่ปลาของ Momotaro เอง) ถัดมาเป็นยุค Odawara แห่งเมือง โอดาวาร่า ชื่อเดียวกับฟาร์ม แม้บ่อไม่ใหญ่เท่า 2 ดีลเลอร์แรก แต่ก็มีเทคนิคสมัยใหม่ ที่ทำให้ปลาฟืนนิชสวย จนถึงปัจจุบัน ที่เป็นยุคของ Ryuki Narita แห่ง Narita Koi Farm แห่ง Nagoya ที่ขึ้นชื่อเรื่องเทคนิคการฟินนิช โดยเพาะเรื่องอาหาร และสารบางอย่างที่ใช้ปรับสภาพน้ำ จนคว้าแชมป์มามากมาย

ในบ่อดิน ไม่มีอาหารอื่นครับ ไม่มีกุ้งฝอย ปู หอย แบบบ้านเรา เพราะนั่นคือศัตรูทั้งนั้น มีแต่กบที่หลุดเข้ามาแต่ถัาถามว่าเป็นพวกแร่ธาตุต่างๆในดินนั้น เป็นไปได้ครับ

วันปลาสวยงามภาคอีสานครั้งที่ 4

กรมประมง ร่วมกับเทศบาลนครขอนแก่น และชมรมปลาสวยงามจังหวัดขอนแก่น
ขอเชิญร่วมงาน
วันปลาสวยงามภาคอีสานครั้งที่ 4
วันที่ 19 – 27 กุมภาพันธ์ 2554
ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่นการประกวดปลาคาร์พ

ประเภทปลาที่
ประกวด
1. Kohaku
2. Taisho Sanshoku (Sanke)
3. Showa Sanshoku (Showa)
4. Shiro Utsuri, Bekko
5. Tancho
6. Varity A : Hi Utsuri, Koromo, Goshiki, Asagi, Shusui
7. Varity B : Hikari-mujimono, Hikari-moyomono, Kawarimono

ขนาดปลาที่ประกวด
size 1 ความยาว 10 - 18 ซม.
size 2 ความยาว 19 - 25 ซม.
size 3 ความยาว 26 - 35 ซม.
size 4 ความยาว 36 - 45 ซม.
size 5 ความยาว 46 - 55 ซม.

รูปแบบการประกวด
-การประกวดแยกถุง ดังนี้
ปลาที่มีขนาด ไซส์ 18BU-55BU จะแยกบรรจุในถุงพลาสติกใส โดยบรรจุถุงละ 1 ตัว

หมายเหตุ รับถุงพลาสติกใส (ฟรี) ได้ที่งาน
รางวัล
1. Grand Champion
มอบถ้วยพระราชทานพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา พร้อมใบประกาศนียบัตร
2. Superior Champion
มอบถ้วยพระราชทานพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา พร้อมใบประกาศนียบัตร
3. Best in Size 1
มอบถ้วยพระราชทานพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา พร้อมใบประกาศนียบัตร
4. Best in Size 2
มอบถ้วยพระราชทานพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา พร้อมใบประกาศนียบัตร
5. Best in Size 3
มอบถ้วยพระราชทานพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา พร้อมใบประกาศนียบัตร
6. Best in Size 4
มอบถ้วยพระราชทานพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา พร้อมใบประกาศนียบัตร
7. Best in Size 5
มอบถ้วยพระราชทานพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา พร้อมใบประกาศนียบัตร
8. รางวัลชนะเลิศแต่ละสายพันธุ์ แต่ละ size
มอบถ้วยรางวัลพร้อมใบประกาศนียบัตร จำนวน 35 รางวัล
9. รองชนะเลิศอันดับ 1 แต่ละสายพันธุ์ แต่ละ size
มอบถ้วยรางวัลพร้อมใบประกาศนียบัตร จำนวน 35 รางวัล
10. รองชนะเลิศอันดับ 2 แต่ละสายพันธุ์ แต่ละ size
มอบใบประกาศนียบัตร จำนวน 35 รางวัล

กฎเกณฑ์และกำหนดการต่างๆ
การรับสมัคร

1. ผู้สนใจเข้าร่วมประกวด ต้องเตรียมหลักฐาน ดังนี้
•ใบสมัครพร้อมกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน
•รูปถ่ายปลาเต็มตัวจากด้านบน (ท๊อปวิว) พื้นหลังสีฟ้าหรือดำเท่านั้น ขนาด 3”x5” จำนวน 3 รูป
2. กำหนดการรับสมัคร
•สมัครได้ตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ – 20 กุมภาพันธ์ 2554 รับถึงเวลา 18.00 น.
•สมัครทางอีเมล์ รับถึงเวลา 24.00 น. ของวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2554 โดยดูหลักฐานการโอนเงินเป็นสำคัญ
3. วิธีการสมัคร การสมัครส่งปลาเข้าประกวดสามารถทำได้ 2 วิธี
วิธีที่ 1 สมัครผ่านอีเมล์ มีขึ้นตอนดังนี้
•ดาว์นโหลดใบสมัครได้ที่ http://www.fisheries.go.th/if-khonkaen/web2/
•กรอกข้อมูลใบสมัครให้ครบถ้วน
•ชำระค่าสมัครตามจำนวนที่กำหนด โดยโอนเข้าบัญชีออมทรัพย์
ชื่อบัญชี ชมรมปลาสวยงามจังหวัดขอนแก่น
ธนาคารทหารไทย จำกัดมหาชน บัญชีเลขที่ 335-7-17536-7 สาขาขอนแก่น

•สแกนใบโอนเงิน, ใบสมัครที่กรอกข้อมูลเรียบร้อย และรูปถ่ายมาที่
k_kkoikk@yahoo.co.th
•รอใบตอบรับการลงทะเบียนทางอีเมล์ที่แจ้งเพื่อนำมาแสดงในวันส่งปลาเข้าประกวด
วิธีที่ 2 การสมัครที่ จุดรับสมัคร ดังนี้
•ร้านขอนแก่นปลาตู้ โทร 0 4322 2091
•ร้าน ศ ปลาทอง โทร 0 4333 8180
•ศูนย์วิจัย และพัฒนาประมงน้ำจืดขอนแก่น โทร 0 4324 6654
•เต้ย 087-2227161

ขั้นตอนการประกวดในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2554
1. เวลา 08.00 น. – 10.30 น. ส่งปลาไซส์ 18BU – 55BU
2. เวลา 10.30 น. – 12.00 น. ตัดสินรางวัลไซส์ 18BU – 55BU
3. เวลา 15.00 น. พิธีมอบรางวัล
4. รับปลากลับ เวลา 17.00 น.

ค่าสมัคร
1. ปลา Size 1 – 2 ค่าสมัครตัวละ 300 บาท
2. ปลา Size 3 – 4 ค่าสมัครตัวละ 400 บาท
3. ปลา Size 5 ค่าสมัครตัวละ 500 บาท
4. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ชมรมปลาสวยงามจังหวัดขอนแก่น คุณเต้ย 08 7222 7161

วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

แก้ปัญหากระทู้

สวัสดีครับพี่ น้อง ทุกท่าน
วันนี้ผมเอาวิธีการแก้ปัญหา
การใช้เว็ปบร์อด Thai koi keeper
เวอร์ชั่นใหม่ ซึ่งปลอดภัยยิ่งขึ้นกว่าเดิม
แต่ปัญหาเบื้องต้น คือ สมาชิกหลายท่าน
จะไม่สามารถมองเป็นกระทู้ในหน้าแรกได้
วิธีแก้ปัญหาง่ายๆ มีดังนี้ครับ
1.ไปทีเมนู Tools แล้วคลิก
2. เลือกคำสั่ง Internet Options แล้วคลิก
3 . หลังจากนั้นมาที่ Browsing history คลิกที่ Delete
4. จะปรากฎเมนู Delet Browsing history แล้วคลิก Delete เพียงเท่านี้ก็เสร็จครับ ลองทำดูนะครับ


วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

แบบบ่อพี่ฤทธิ์(บ่อใหม่)

สวัสดีครับเพื่อนๆ
วันนี้ผมมาเขียนบล๊อก หรือเรียกอีกอย่างว่า
มาส่งการบ้านให้พี่ฤทธิ์ พี่ชายที่ผมนับถืออีกท่านหนึ่ง
พอดีพี่ฤทธิ์ หรือคุณหมูขุนในเว็ปบร์อด Thai Koi Keeper
กำลังสร้างบ้านใหม่ และที่ขาดไม่ได้
สำหรับคนชอบปลาคาร์ฟ ก็ต้องสร้างบ่อใหม่
ซึ่งผมได้มีโอกาสออกแบบบ่อให้พี่ฤทธิ์เป็นครั้งที่2
ผังการก่อสร้างมีดังนี้ครับ
น้ำตก ลำธาร ศาลา และบ่อเลี้ยงที่เลี้ยงปลาได้ดี

นี่คือการวางท่อต่างๆของบ่อครับ
รูปแบบของระบบกรอง
บ่อใหม่นี้มีกรองอยู่ 2 กรอง กรองอันแรกเป็น
กรองสำหรับบ่อเลี้ยง ผมออกแบบให้เป็นแบบ Up-Down
หน้าที่หลักๆของกรองชุดนี้คือเป็นกรองกายภาพ
ในช่วงท้ายๆเป็นกรองชีวภาพ

กรองที่2 เป็นกรองที่อยู่ที่ฐานของน้ำตก
ผมออกแบบให้เป็นกรองแบบแนวราบ
หรือเราเรียกว่า HORIZONTAL FLOW
ภาพประกอบนี้ผมเอามาจากเว็ป คุณ Wandy
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
http://www.koikichi.com/the-pond/the-perfect-small-pond-2009.php
ระบบ HORIZONTAL FLOW เป็นที่นิยมมาก
ใน NARITA KOI FARM และใน BREEDER


ผมขออ้างจากโจ้ koikichi
http://www.koi-keeper.net/topic_3852.0.html

จุดเด่นของ HORIZONTAL FLOW สูตร Endless System
1) ก่อสร้างง่าย
2) ลดค่าใช้จ่ายการก่อสร้าง
3) ใช้พื้นที่ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยที่สุด ทั้งนี้ในแง่การใส่ปริมาณมีเดีย
4) มีเดียวางเริ่มตั้งแต่ระดับปริ่มน้ำไล่ลงไป ทำให้จุลินทรีย์ทำงานได้ทรงประสิทธิภาพสูงสุด
เพราะใกล้ผิวน้ำจุลินทรีย์ทำงานได้ดีที่สุด เนื่องจากเรื่องของอ๊อกซิเจน และ เรื่องของแรงดันของน้ำ
5) ดูแลรักษาง่ายเบาแรง
6) ประหยัดน้ำเวลาล้างบ่อกรอง
แต่เนื่องจากบ่อกรองชุดที่ 2 นี้
ผมออกแบบให้มันมีหน้าที่หลักเป็นกรองชีวภาพ
จึงตัดส่วนที่เป็นกรองกายภาพออกไป
โดยจะดึงน้ำจากระดับกลางของบ่อเข้าสู่กรองนี้
คาดว่าตะกอนน่าจะมีน้อย
รูปแบบกรองจึงเหลือเท่านี้ครับ(ตามรูป)
การเติมอ๊อกซิเจนก็ตามรูปต่อไปนี้เลยครับ
อ๊อกซิเจนจะผ่านเข้าสู่มีเดียตามลูกศรครับ

ทิศทางการไหลของน้ำเป็นไปตามลูกศรครับ

ภาพไซด์วิวครับ

ภาพท๊อพวิวครับ

เอาหละครับเป็นยังไงบ้างครับเพื่อนๆ
คงพอได้ไอเดียกันบ้างแล้วนะครับ
วันนี้ผมขอตัวก่อนนะครับ
สวัสดีครับ

วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สาหร่ายสไปรูลิน่า

สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้ว่างพอมีเวลา
ประกอบกับมีน้องๆสอบถามมาเกี่ยวกับสารเร่งสี
ซึ่งก่อนหน้านี้ผมได้รวบรวมเรื่องAstaxanthin
ซึ่งเป็นเป็นสารสีจำพวกแคโรทีนอยด์ (carotenoid)
ที่สกัดมาจากแหล่งธรรมชาติมีผลต่อสีของปลา
แต่มีราคาสูงหน่อย ผมเลยคิดว่ายังมี "สาหร่ายสไปรูลิน่า "
ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติอีกชนิดหนึ่ง
ที่ถูกเลือกมาใช้เป็นอาหารเสริมสุขภาพ
และผสมอากหารเพื่อเร่งสีปลา
เนื่องจากสาหร่ายสไปรูลินาเป็นจุลินทรีย์โปรตีน
ซึ่งมีปริมาณโปรตีนต่อน้ำหนักแห้ง สูงถึง 50-70%
ภาพ 1 สาหร่าย Spirulina platensis CMU2
ภายใต้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยาย 100 เท่า

คุณค่าทางโภชนาการของ สาหร่ายสไปรูลิน่า
นอกจากสาหร่ายชนิดนี้จะอุดมไปด้วยโปรตีนแล้ว ยังประกอบไปด้วยสารอาหารอื่นๆอีกมากมาย ได้แก่คาร์โบไฮเดรต วิตามิน แร่ธาตุ กรดไขมันไม่อิ่มตัว กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย และซัลโฟลิปิด ในกลุ่ม sulfoquinovosyl diacylglycerol รวมทั้ง มีรงควัตถุที่มีคุณค่าหลายชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เบต้าแคโรทีนซึ่งมีคุณสมบัติเป็น provitamin A และไฟโคไซยานินซึ่งรงควัตถุสองชนิดนี้มีฤทธิ์ เป็นสารป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระ
ภาพ 2 บ่อเพาะเลี้ยงน้ำวน (raceway ponds)
สำหรับเพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลินา
ของห้องปฏิบัติการวิจัยสาหร่ายประยุกต์
สาขาจุลชีววิทยา ภาควิชาชีววิทยา
คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ภาพ 3 ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวผลผลิต
(ก) การกรองสาหร่ายผ่านผ้ากรองแพลงก์ตอนขนาดตาถี่ 45 μm
(ข) สาหร่ายสไปรูลินาที่กรองได้
(ค) การอบสาหร่ายสไปรูลินาในตู้อบลมร้อนอุณหภูมิ 50 °C
(ง) สาหร่ายสไปรูลินาแบบเกล็ด

หน่วยวิจัยความหลากหลายของสาหร่ายและแพลงก์ตอน
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย จาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) เรื่อง “การผลิตสาหร่ายสไปรูลินาที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ในระดับชุมชนเพื่อเป็นอาหารเสริมของคน สัตว์น้ำ” มี รองศาสตราจารย์ ดร. ยุวดี พีรพรพิศาล เป็นหัวหน้าโครงการ ซึ่งโครงการนี้ได้ดำเนินงานสิ้นสุดลงแล้ว และผลการวิจัย พบว่า สามารถเพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลินาแบบลดต้นทุนได้ และเมื่อนำไปเลี้ยงปลาบึก โดยผสมในอาหารในอัตราส่วนแตกต่างกัน พบว่า ปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมสาหร่ายสไปรูลินา 30 % ให้ผลในด้านการเจริญเติบโตดีที่สุด ที่มาของข้อมูล http://blog.eduzones.com/pondplay/22608
"ตรงนี้ผมขอเสริมหน่อยครับว่าสำหรับอาหารปลาคาร์ฟที่มีจำหน่ายทั่วไป
มีส่วนผสมของสาหร่ายสไปรูลิน่าประมาณ 10% เท่านั้นเองครับ"
ระดับของสไปรูลินาในอาหารต่อการเจริญเติบโต
และการเร่งสีปลาทอง (Carassius auratus)
ดูรายละเอียดในส่วนนี้

ผลการศึกษา
เมื่อนำปลาทองมาเลี้ยงด้วยอาหารที่เสริมสไปรูลินา
ที่ระดับต่าง ๆ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่าการเสริมสไปรูลินาที่ระดับความเข้มข้น 3% มีผลให้อัตราการเจริญเติบโตของปลาทองมีค่าสูงสุดและแตกต่างกับชุดการทดลองอื่น ๆ ขณะที่การเสริมสไปรูลินาในอาหาร 5% มีผลให้อัตราการเติบโตของปลาลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากระดับความเข้มข้นของสไปรูลินาในอาหารที่เพิ่มขึ้นมีผลต่อสมดุลของกรดอะมิโนรวมในอาหาร การได้รับอาหารที่มีกรดอะมิโนไม่สมดุล มีผลทำให้การเจริญเติบโตของปลาทองลดลงได้ (Halver et al.,2002) ซึ่งสอดคล้องกับการทดลองในกุ้งกุลาดำของ Liao และคณะ(1993) ซึ่งพบว่ากุ้งกุลาดำที่ได้รับอาหารเสริมสไปรูลินา 5% มีการเจริญเติบโตต่ำกว่าชุดการทดลองที่ได้รับอาหารไม่เสริมสไปรูลินา นอกจากนี้ในการทดลองใช้โปรตีนเซลล์เดียว (single cells protein, SCP) เสริมในอาหารในปริมาณมากเกินจะมีผลเสียต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ ซึ่งอาจเกิดจากสมดุลของกรดอะมิโนรวมในอาหาร ตลอดจนอาจมีสารยับยั้งการเผาผลาญอาหาร (antimetabolites) อยู่ในเซลล์ที่นำมาใช้เป็นแหล่งของโปรตีนเซลล์เดียว (Kiessling and Askbrandt, 1993) ทั้งนี้การเสริมสไปรูลินาในอาหารไม่มีผลต่อการแลกเนื้อ และการรอดตายของปลาทอง เช่นเดียวกันกับการทดลองของมะลิและคณะ (2543) ซึ่งศึกษาผลของแอสตาแซนทีนสังเคราะห์ต่อการเจริญเติบโตในกุ้งกุลาดำ โดยทำการทดลอง 8 สัปดาห์ พบว่าน้ำหนักเฉลี่ย อัตรารอดตายและเปอร์เซ็นต์น้ำหนักที่เพิ่มของกุ้งที่ได้รับอาหารทดลองทุกสูตรไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ และสอดคล้องกับรายงานของ Yamada และคณะ (1990) ซึ่งทดลองเสริมแอสตาแซนทีนสังเคราะห์บีต้า-แคโรทีนสังเคราะห์ และแคนตาแซนทีนสังเคราะห์ในอาหารกุ้งที่ได้รับอาหารเสริมสารสีสังเคราะห์ดังกล่าวทุกสูตร มีการเจริญเติบโตและประสิทธิภาพการใช้อาหารไม่แตกต่างกับชุดควบคุม
อย่างไรก็ตาม การเสริมสไปรูลินาในอาหารมีผลทำให้สีเหลือง และแดงของตัวปลาทองเพิ่มมากขึ้น โดยที่สีขาวจะลดลง โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของค่าระดับสีแดง-เขียว (a) และเหลือง-น้ำเงิน (b) ซึ่งจะสัมพันธ์กับสีแดงและเหลืองของตัวปลาที่เพิ่มขึ้น โดยระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมของสาหร่ายที่มีประสิทธิภาพต่อการเร่งสีในปลาทองคือระดับความเข้มข้นของสไปรูลินาแห้งในอาหาร 3-5% ซึ่งสอดคล้องกับการทดลองของ Liao และคณะ(1993) ซึ่งพบว่าระดับความเข้มข้นของสาหร่ายสไปรูลินาแห้งในอาหารกุ้งกุลาดำ 3-5% มีประสิทธิภาพสูงสุดในการเพิ่มปริมาณแคโรทีนอยด์ในเปลือกกุ้ง ทั้งนี้ Ohkubo และคณะ(1999) รายงานว่า ปลาทองจะเปลี่ยนแปลงแคโรทีนอยด์จากอาหารและสะสมในรูปแอสตาแซนทีน และบีต้า-แคโรทีนเป็นหลัก จึงทำให้เกิดสีส้ม-เหลืองในตัวปลาทอง สไปรูลินา ซึ่งมีบีต้า-แคโรทีน เป็นแคโรทีนอยด์ หลักจึงสามารถเร่งสีเหลืองในตัวปลาทองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังเห็นได้จากค่าระดับสีเหลือง-น้ำเงิน (b value) ซึ่งเพิ่มมากขึ้น จากการทดลองครั้งนี้การเสริมสไปรูลินาในอาหารในระดับความเข้มข้น 5% ส่งผลให้การเจริญเติบโตของปลาทองลดต่ำลงกว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารเสริมสไปรูลินา 1-3% โดยที่มีค่าระดับสีเหลืองและแดงไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่ได้รับอาหารเสริมสไปรูลินา 3% และ 5% ดังนั้นการเสริมสไปรูลินาในอาหารปลาทอง 3% จึงเป็นระดับที่มีความเหมาะสมในการเร่งสี โดยไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของปลา ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://www.klickaquatech.com/

เป็นไงกันบ้างครับเพื่อนๆ

สไปรูลิน่า มีผลต่อการเติบโต และสีของปลา

เยอะใช่ว่าจะดีเสมอไป จริงๆนะครับ

วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Protein skimmer

สวัสดีครับเพื่อน
วันนี้ ผมจะเล่าให้พวกเราฟังเกี่ยวกับเจ้า Protein skimmer
ซึ่งเป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับพวกเราคนรักปลาคาร์ฟ
Protein skimmer ทำหน้าที่ในการแยกโมเลกุลโปรตีนที่ละลายอยู่ในน้ำ
การแยกโมเลกุลโปรตีนออกจากน้ำมีประโยชน์อย่างไรกับปลา??
เพื่อนหลายท่านคงสงสัยกันอยู่ใช่ไหมหละครับ
ผมขอตอบสั้นๆว่า โมเลกุลโปรตีนที่ละลายอยูในน้ำ
ที่ไหลผ่านเข้ามาในระบบกรองซึ่งมีแบคทีเลียอาศัยอยู่
เจ้าแบคทีเลียพวกนี้ก็จะทำหน้าที่ในการย่อยโมเลกุลโปรตีน
เปลี่ยนมันให้เป็นแอมโมเนีย....
เป็นไงครับพอผมพูดถึงแอมโมเนีย
ที่มีในน้ำเพื่อนหลายท่านคงพอทราบประโยชน์กันบ้างแล้ว
แต่ถ้าเพื่อนๆ ยัง งง อยู่
ผมก็จะขยายความต่อไปอีกหน่อย
เจ้าแอมโมเนียก็จะถูกแบคทีเลียเปลี่ยนมันให้เป็น
ไนไตรท์ และไนเตรท ตามวัฎจักรไนโตรเจน
ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัฎจักรไนโตรเจนได้ที่
สรุปสั้นๆว่า Protein skimmer แยกโปรตีน
ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในวัฎจักรไนโตรเจน
การที่มีโปรตีนในน้ำน้อยลงส่งผลให้
แอมโมเนีย ไนไตรท์ ไนเตรทก็จะน้อยลงตามไปด้วย
หลักการทำงานของ Protein skimmer มีดังนี้(ดูภาพแรกประกอบ)
น้ำไหลตามทิศทางที่ลูกศรสีน้ำเงินชี้
ซึ่งเราจำกัดทิศทางการไหลของน้ำให้ไหลลง
ตำแหน่งนี้เราติดตั้งหัวทราย(แบบละเอียด)
จากนั้นให้เราปรับแรงลมที่ออกมาจากหัวทรายไม่แรงเกินไป ไปเบาเกินไป
ตรงนี้ต้องปรับแก้ที่หน้างานตามความเหมาะสมครับ
กระบอก Skimmer ควรมีความยาว(ดูภาพที่ 2 )
เพื่อให้ฟองอากาศได้สัมผัสกับน้ำได้นานพอ
ที่ปลายด้านบนควรมีความสูงจากระดับน้ำประมาณ 30 cm
เพื่อให้ได้ฟองโฟมที่แห้งสนิท
การทำงานของ Protein skimmer ที่ได้ผลขึ้นอยู่กับปัจจัยเหล่านี้
1.ระยะเวลาที่ฟองอากาศได้สัมผัสกับน้ำ ยิ่งนานยิ่งดี
2.ขนาดของฟองอากาศ ยิ่งเล็กยิ่งมีผิวสัมผัสมาก
3.ลักษณะของฟองโฟม ที่ไหลออกมายิ่งแห้งยิ่งแสดงถึงประสิทธิภาพในการแยกโปรตีนออกจากน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เรามาดูกระบอกสกิมเมอร์กันชัดๆอีกทีครับ
จะเห็นว่าผมเจาะรูเพื่อใส่หัวทรายเข้าไปดูรูปที่ 3-4

การติดตั้งสกิมเมอร์สำหรับบ่อผมเป็นแบบในภาพนะครับ
ถ้าเพื่อนๆ สนใจอยากจะทำ
ผมแนะนำให้ทำชุด Protein skimmer
ที่ท่อน้ำล้นเข้าบ่อกรองจะได้ประโยชน์สูงสุด
เพราะเราต้องการแยกโมเลกุลโปรตีนก่อนที่จะถึงกรองชีวภาพ
เพื่อลดแอมโมเนีย ไนไตรท์ ไนเตรท ให้มากที่สุด
หลักการนี้ผมได้รับคำแนะนำมาจาก ดร.บรรเจิด อีกทีครับ
ขอขอบคุณอาจารญ์มา ณ โอกาสนี้ครับ

รูปสุดท้าย คือ ปลายสำหรับทิ้งฟองโฟมครับ

เอาหละครับสำหรับวันนี้
ผมหวังว่าเพื่อนๆ คงได้รับข้อมูลเกี่ยวกับ
Protein skimmer พอสมควรนะครับ
ท่านใดสงสัยสามารถสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://en.wikipedia.org/wiki/Protein_skimmer
สำหรับวันนี้ขอจบเพียงเท่านี้ "สวัสดีครับ"

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อาวากิ 3

สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้ผมมาอัพเดท
"เจ้าอาวากิ"
ให้พวกเราดูกันตามคำเรียกร้องของพี่ปิ๊ก
พี่ชายใจดีจากออสเตเรียที่พูดคุยกันเป็นประจำ
ผ่านเว็ปบรอดของ Thai koikeeper
ขนาดไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรมากครับ
ยังอยู่ที่ 68 cm สำหรับปลาที่เข้าสู่ปีที่ 3 แล้ว
ถือว่าอัตราเติบโตดีที่เดียวครับ
อาจจะเป็นเพราะเจ้าอาซากิพวกนี้เป็นปลาสายเลือดเก่าแก่
เรียกว่าเป็นปลาคาร์ฟยุคแรกๆ
ก่อนที่จะมีโคฮากุเกิดขึ้นมาซะอีก
เพื่อนๆเคยสังเกตธงปลาคาร์ฟ(Koinobori โค่ยโนโบริ)ไหมครับ
ถ้าอยากรู้จัก โค่ยโนโบริ เพิ่มคลิกตามลิ้งก์นี้นะครับ
จะมีปลาคารฟ์ 4 สี คือ สีแดง คือพวกเบนิกอย สีดำ คือมากอย
สีเขียว คือ ??? ผมจำไม่ได้ครับ และสุดท้าย
สีน้ำเงิน ก็คือ เจ้าพวกอาซากินี่แหละครับ
เพื่อนๆคงพอจำได้ว่าเจ้าอาวากิเมื่อคราวก่อนนี้
มันเป็นแผลที่ไหล่มัน ตอนนี้หายดีแล้วครับ

ดูคลิปวีดีโอ เจ้าอาวิกิ ได้ที่
http://www.youtube.com/watch?v=vaJRScabkbI
http://www.youtube.com/watch?v=5J4zYZ3MRBE
เอาหละครับสำหรับวันนี้ผมมาอัพเดท
ตามสัญญาแล้วนะครับพี่ปิ๊ก

วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Black Thunder to day

สวัสดีครับเพื่อนๆ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม 2553 ที่ผ่านมา
ผมว่างๆ ก็เลยตักปลามาถ่ายรูปเพื่ออัพเดทพัฒนาการของปลา
เจ้าสายฟ้าดำ หรือ Black Thunder ปัจจุบันโตขึ้นเป็น 55 cm


เพื่อนๆคงรู้จักเจ้า Black Thunder มาพอสมควร
ถ้าใครอยากดูพัฒนาการที่ผ่านมาสามารถเข้าไปดูได้ที่ลิ้งก์นี้นะครับ
คลิปเก่าๆสมัยยังเล็กๆ http://www.youtube.com/watch?v=KEQbCqDK2u0
ปัจจุบันผิวของมันดีขึ้นมาก
ดูคลิปปัจจุบันได้ตามลิ้งก์นี้ครับ
http://www.youtube.com/user/koimio1#p/a/u/2/hifIw6a-Wqg
อายุ 2 ปีเข้า 3 ปีได้
โตช้าหน่อยแต่ผิวดี คุณภาพดำดีครับ
คาดว่าในปีที่ 3 ดำน่าจะฟินิชแล้วหละครับ
ขอบคุณที่ติดตามรับชมนะครับเพื่อน

วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เสน่ห์ของสีดำ

ปลาคารฟ์เป็นปลาที่มีอะไรให้เราศึกษาอยู่เสมอ
และสีดำก็เป็นอีกหนึ่งในเรื่องที่น่าสนใจ
เรียกว่าเป็นเสน่ห์ของปลาที่มีสีดำ เพราะสีดำมันไม่ตายตัว
มันไม่สำเร็จรูปพวกเราจึงต้องศึกษาหาความรู้
เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลาโอโมซาโกะชิโร่ตัวนี้ก็เช่นกัน
ในตอนที่ยังเป็นโทไซ เราเห็นโครงสร้างที่ดีของมันแล้ว
กล่าวคือ มีปากกว้าง กระโหลกยาว ไหล่และท้องรับกัน
และข้อหางหนาดำที่เห็นเหมือนจะจบใน 1 ปีข้างหน้า
แต่อะไรก็เกิดขึ้นได้
เมื่อปลาตัวนี้อายุมากขึ้นสิ่งที่ทำให้ผมแปลกใจคือ
ดำหายไปไหนหมดเหลือให้เห็นเพียงดำที่ฝังอยู่ลึกๆ
ใต้ชั้นของผิวปลา นี่แหละคือจุดเริ่มต้นของเสน่ห์ของสีดำ
แถมยังมีจุดแดงขึ้นที่ข้อหางอีกนิดหน่อย
เพื่อนๆหลายท่านรวมถึงตัวผมเองอาจจะทิ้งปลาตัวนี้ออกมาแน่ๆ
.....
แต่ที่เราเห็นกันในตอนนี้คือ
โครงสร้างที่ดีเท่าเทียมกับโครงสร้างของปลาหลัก
โครงสร้างของปลาหลักคืออะไร และน่าสนใจอย่างไร???
.....
"โครงสร้างของปลาหลัก" (โคฮากุ ซันเก้ และโชว่า)
เราต้องกลับไปดูที่มาของปลาหลักเสียก่อนว่า
กว่าจะมาได้ถึงทุกวันนี้บรีดเดอร์ทั้งหลาย
ต่างใช้ความเพียรพยายามในการพัฒนาโครงสร้าง
เพื่อให้ได้ปลาที่มีโครงสร้างดี
สามารถพัฒนาไปเป็นปลาไซด์จัมโบ้ได้
เดี๋ยวนี้เราคาดหวังจะได้ปลาเกินไซด์ 8 กัน
เรียกได้ว่าขอให้ได้ความยาวสักเมตรยิ่งดี จริงปะ
ซึ่งโครงสร้างในตัวปลาเป็นปัจจัยตั้งต้น
จากนั้นก็อยู่ที่วิธีการเลี้ยง และระยะเวลา
ชิโร่เองมีการพัฒนาด้านโครงสร้าง
ด้อยกว่าปลาหลักอยู่พอสมควร
ไม่นับรวมพวกโชว่าที่สีแดงหลุดนะครับ แฮะๆ
การที่เราท่านจะมีชิโร่ที่มีโครงสร้างดีเทียมเท่าปลาหลัก
จึงเป็นเรื่องท้าทายสำหรับพวกเรา จริงปะครับ
แต่เจ้าโอโมซาโกะชิโร่ตัวนี้มีให้เราเห็นแล้วตั้งแต่เล็กๆ
"ปลาตัวนี้เป็นปลาจากโอโมซาโกะ ไม่ใช่ปลาผมนะ"
เอาหละครับ เพื่อนๆมาดูการเปลี่ยนแปลง
ของเจ้าชิโร่ตัวนี้กันต่อนะครับ
ในปีถัดมาดำที่หายไปก็ค่อยพัฒนาขึ้น
แดงที่หางก็หายไปเข้าใจว่าคงแต่งออกไป
จะเห็นว่าดำมาจากชั้นผิวที่ลึก จึงใช้เวลาค่อนข้างนาน
ระหว่างนี้ผมขอคิดว่ามันเป็นเป๊กโกะไปก่อน แก้เซง อิอิ
เพื่อนๆเห็นไหมครับ ว่าเจ้าตัวนี้มันมีโครงสร้างที่เด่นนำมาก่อนแล้วตั้งแต่เล็กๆ
.....
สุดท้าย ผลตอบแทนของผู้ที่อดทนรอคอย
คลายๆกับคนเลี้ยงบอนไซที่ต้องใช้จินตนาการ
และความอดทนรอ(รอเป็น) ซึ่งพวกเราก็ทำได้
ปลาตัวนี้มีลายดำกลับคืนมาเหมือนสมัยยังเป็นโทไซ
แต่ที่น่าประหลาดใจว่าทำไม
ผิวขาวของมันจึงเหมือนมีซุยยะ(ขาวมันวาว)
ซึ่งผมเองมองว่าเด็กๆไม่เห็นว่าชิโร่ตัวนี้จะมีผิวขาวชนิดนี้เลย
เพื่อนๆคิดว่าแปลกไหมหละครับ อิอิ
เอาหละครับ สุดท้ายนี้
ผมขอเป็นความหวังให้กับผู้ที่กำลังหวังว่า
"สักวันเป๊กโกะจะกลายเป็นชิโร่"

วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

Kingkong Koi Shop

Kingkong Koi Shop
เป็นแหล่งรวมอุปกรณ์การเลี้ยงปลาคาร์พ, อาหารปลา นำเข้า
เริ่มต้นจากบ่อผ้าใบ ในปี 2008 และขยายฐานสินค้า
เพิ่มขี้นเป็นอาหารปลา , ฟิวเตอร์แมท และอุปกรณ์ต่างๆ
รวมทั้งมีการนำเข้าปลาคาร์พจากประเทศญี่ปุ่น
ผู้ที่ริเริ่มธุรกิจ คือ คุณพรชัย วัฒนากุลชัย
หรือในวงการปลาคาร์พรู้จักในนามของเฮียคิงคอง
เฮียคิงคองเริ่มเลี้ยงปลาคาร์พมาตั้งแต่ประมาณปี 2003
ก็เริ่มลองผิดลองถูกในการเลี้ยงปลาคาร์พ
ศึกษาเรื่องปลาคาร์พและอุปกรณ์ต่างๆ
จนกระทั่งได้เห็นช่องทางในการนำอุปกรณ์ต่างๆมาขาย
ซึ่งมีทั้งที่ออกแบบเองและนำเข้ามาจากต่างประเทศ
สินค้าที่ออกแบบเองก็มี บ่อผ้าใบ
แท่งสเตนเลสที่ใช้กับออกซิเจนริงค์
ถังกรอง Vortex เป็นต้น
สินค้าที่นำเข้ามา เช่น ฟิวเตอร์แมท , เครื่องให้อาหาร ,ปั๊มน้ำ เป็นต้น
เฮียคิงคองเคยร่วมเป็นผู้จัดงานประกวดปลาคาร์พ
ของ ZNA KKST ครั้งที่ 1-3
ทั้งยังเคยไปดูงานประกวดปลาคาร์พของประเทศเพื่อนบ้าน
เช่น อินโดนีเซีย.สิงคโปร์,มาเลเซีย และเซี้ยงไฮ้
จึงได้ไปเยี่ยมบ่อปลาคาร์พของประเทศเหล่านี้
ทำให้ได้เห็นถึงวิธีการเลี้ยงปลาคาร์พและอุปกรณ์ในการเลี้ยง
นำมาประยุกต์ใช้กับของบ้านเรา
และนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเราเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค
....
ที่มาของข้อมูล http://www.kingkongkoishop.com/web/aboutus.php
ที่มาของรูปภาพ http://www.momotaro-koi.org/english/index.htm