วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

เตรียมงาน

The 1st ZNA-TKKG Koi Show 2011

Suranaree University of Technology (SUT), Nakhon Ratchasima, Thaialnd
6 August 2011, 8.00 am-17.30 pm

Co-organized by TKKG Nonthaburi ZNA Friendship Club and Suranaree University of Technology (SUT)

1. Principle and Reasons
Fancy carp, koi or Nishikigoi is one of the most received attention fancy fish. Due to its beauty and charm, koi attract much attention to people around the world. Koi keeper is recently very popular in Thailand. It is a good hobby and brings enjoyment to keepers. Koi business in Thailand has been also good and provided opportunity to koi farms and dealers a bright future. Koi show is one of the main events that bring koi keepers and people who are dealing with koi together. Since the National Agriculture Fair 2011, “Innovation for Sustainable Agriculture” is held at Suranaree University of Technology from the 29th July 2011 to 7th August 2011 at Nakhon Ratchasima (for more information, please visit: http://web.sut.ac.th/sutnew/kaset54/), TKKG Nonthaburi ZNA Friendship Club (TKKG) are proud to organize our first full-size koi show under the name “The 1st ZNA-TKKG Koi Show 2011”. This koi show is co-organized by Suranaree University of Technology (SUT), and is the first ZNA koi show in Thailand that held outside Bangkok. Every year the National Agriculture Fair at SUT drew more than 500,000 people. Nonetheless, this year is the very first year that koi show is included in the program.


With the benevolence of Her Royal Highness Princess Chulabhorn Walailak, eight big prizes winners will receive the royal trophies by Her Royal Highness. This will be the first ZNA koi show in Thailand that receives this great honor. With recognition to the royal grace, we determine to spare no effort to organize one of the best koi shows in Thailand. We do hope that people who attend this koi show will enjoy and gain knowledge more on koi keeping and competition. This is also strengthen relationship among koi keepers in our club as well as welcoming new friends who share common interest in koi to the circle of koi keepers. Through the activities we share knowledge on koi appreciation, maintaining and care for koi and how to grow koi to their maximum potential.

2. Aims
2.1 To organize the first ZNA koi show in the National Agriculture Fair 2011 under the cerebration for the 84 years of Her Majesty the King Birthday


2.2 To promote the wealth of knowledge and experience on koi keeping among hobbyist both in the national and international levels.


2.3 To share knowledge on koi appreciation, maintaining and care for koi and how to grow koi to their maximum potential.


2.4 To strengthen relationship among koi keepers in our club as well as welcoming new friends who share common interest in koi to the circle of koi keepers.


3. Participants
3.1 3 ZNA certified judges


3.2 6 Trainee judges


3.2 2000 Koi keepers and people who are interest in koi

4. Show date and avenue
Saturday 6th Auagust 2011, University Food Center, Suranaree University of technology, Nakhon Ratchasima, Thailand


5. Details of the Koi Show
5.1 Organizers: TKKG Nonthaburi ZNA Friendship Club and Suranaree University of Technology (SUT)


5.2 Show Chairman: Associate Prof. Dr. Santi Maensiri (President of TKKG)
Co-Chairman: Associate Prof. Dr. Anan Thong-raar (SUT)


5.3 Show Schedule
Friday 5th August 2011
18.00-24.00 p.m. Fish Entry (Large Fish: 55bu, 65bu, 75bu, and 85bu)
Saturday 6th August 2011
08.00-10.00 a.m. Fish Entry (Small Fish: 18bu, 25bu, 35bu, and 45bu)
09.30-10.00 a.m. Pre-judging meeting at the show site
10.00-13.00 p.m. Judging
13.00-14.00 p.m. Lunch
14.00-14.30 p.m. Opening Ceremony
14.30-16.00 p.m. Open to public (Admission free)
16.00-17.30 p.m. Awarding & Closing Ceremony
17.30-18.30 p.m. Fish to be removed
19.00-21.00 p.m. Show Party

5.4 Type of Show: European style


5.5 Koi Variety in Competition
1. KOHAKU (โคฮากุ)
2. TAISHO SANSHOKU (ซังเก้)
3. SHOWA SANSHOKU (โชว่า)
4. UTSURIMONO (อุสซุริโมโน) และ BEKKO (เบคโกะ)
5. TANCHO (ตันโจ)
6. KOROMO (โกโรโมะ), GOSHIKI (โงวชิกิ), ASAKI (อาซากิ), และ SHUSUI (ซูซุย)
7. HIKARI MUJIMONO (ฮิการิ มูจิโมโน)
8. HIKARI UTSURIMONO (ฮิการิ อุจิริโมโน) และ HIKARI MOYOMONO (ฮิการิ โมโยโมโน)
9. KAWARIMONO (คาวาริโมโน)


5.6 Koi Entry and Entry Fee
Koi size ranging from 18 bu – 85 bu.
1) 18 Bu < 18 cm 300 Baht per fish with plastic bag supplied. 2) 25 Bu > 19-25 cm 300 Baht per fish with plastic bag supplied.
3) 35 Bu > 26-35 cm 300 Baht per fish with plastic bag supplied.
4) 45 Bu > 36-45 cm 400 Baht per fish with plastic bag supplied.
5) 55 Bu > 46-55 cm 500 Baht per fish
6) 65 Bu > 56-65 cm 600 Baht per fish
7) 75 Bu > 66-75 cm 800 Baht per fish
8) 85 Bu > 75 cm 1000 Baht per fish
Note that koi with sizes ranging from 55bu to 85bu are displayed in a standard 2 m.-diameter plastic tank with a rental of 1000 Baht/tank; a maximum of 4 fish is around to be displayed in one tank.


5.7 Judge: 3 ZNA Certified judges and 6 trainees


5.8 Show Awards
(1) Grand. Champion
(2) Superior. Champion
(3) Mature. Champion
(4) Adult. Champion
(5) Young. Champion
(6) Baby Champion
(7) Jumbo Champion A (for Group A: Gosanke, Utsurimono) (8) Jumbo Champion B (for except Group A) (9) Best in size (8 trophies for 8 size)
(10) Best in variety (9 trophies for 9 varieties)
(11) 1st prize (72 trophies)
(12) 2nd prize (72 certificates)
(13) 3rd places (72 certificates)
Note: (1)-(8) The awards are the royal trophies by Her Royal Highness Princess Chulabhorn Walailak
(9)-(10) The awards are the special trophies by the Rector of Suranaree University of Technology



6. Budget
Entry fee and sponsors


7. Expected outputs
7.1 The successful promotion of the wealth of knowledge and experience on koi keeping among hobbyist both in the national and international levels.


7.2 Koi keepers having knowledge on koi appreciation, maintaining and care for koi and how to grow koi to their maximum potential.


7.3 The strengthen of relationship among koi keepers in TKKG club as well as welcoming new friends who share common interest in koi to the circle of koi keepers.


8. Project Leader
Associate Prof. Dr. Santi Maensiri (President of TKKG)
School of Physics, Institute of Science, Suranaree University of Technology,
Nakhon Ratchasima, 30000, Thailand.
Tel: 089-8406148 (mobile)
e-mails: Thai-koikeeper@hotmail.com; santimaensiri@g.sut.ac.th
โครงการประกวดปลาแฟนซีคาร์พ

“The 1st ZNA-TKKG Koi Show 2011”

โรงอาหารกลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา 3000
6 สิงหาคม 2554 8.00-17.30 น.
ภายใต้การสนับสนุนจาก TKKG Nonthaburi ZNA Friendship Club และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

1. หลักการและเหตุผล
ปลาแฟนซีคาร์พ (fancy carp) หรือโค่ย (koi) หรือชื่อเดิมในภาษาญี่ปุ่น เรียกว่า นิชิกิกอย(Nishikigoi) เป็นหนึ่งในปลาสวยงามที่ได้รับความสนใจและมีการนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงอย่างแพร่หลายในประเทศไทยในปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจากปลาคาร์พเป็นปลาที่มีสีสันสวยงาม มีหลากหลายสายพันธุ์ในเลี้ยง ให้ความสุขกับผู้ที่ได้เลี้ยงและผู้ที่ได้เห็น ประเทศไทยเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่มีการเลี้ยงปลาคาร์พเป็นงานอดิเรกโดยมีทั้งปลาที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นและที่มีการเพาะพันธุ์ขึ้นในประเทศไทยเพื่อขายและส่งออกโดยเป็นหนึ่งในอาชีพที่ทำรายได้ให้กับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงได้อย่างดี เนื่องด้วยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้กำหนดให้มีการจัดงานวันเกษตรแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2554 ขึ้นในระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม ถึงวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554 กิจกรรมภายในงานประกอบด้วยนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา นิทรรศการทางวิชาการและแสดงผลิตภัณฑ์จากภาครัฐและเอกชน การประกวดพืช การประกวดผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และการประกวดสัตว์ ในการนี้ ชมรมผู้เลี้ยงปลาแฟนซีคาร์พในประเทศไทยซึ่งได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มภายใต้ชื่อ Thai Koi Keeper Group (TKKG) และได้รับการจดทะเบียนเป็น TKKG Nonthaburi ZNA Friendship Club จากสมาคมนักเลี้ยงปลาแฟนซีคาร์พ Zen Nippon Airinkai (ZNA) ประเทศญี่ปุ่น ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้เล็งเห็นโอกาสที่จะเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลาแฟนซีคาร์พ รวมถึงเปิดโอกาสให้เยาวชนและบุคคลทั่วไปได้ชมปลาแฟนซีคาร์พคุณภาพสูง จึงได้ทำการจัดงานประกวดปลาแฟนซีคาร์พขึ้น ภายใต้ชื่องาน The 1st ZNA-TKKG Koi Show 2011 ซึ่งเป็นการจัดงานของชมรมผู้เลี้ยงปลาแฟนซีคาร์พในประเทศไทยภายใต้ ZNA ในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งอยู่นอกเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นครั้งแรก ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ทำให้การประกวดดังกล่าวเป็นการประกวดชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และจะจัดให้มีขึ้นในวันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม 2554 ตั้งแต่เวลา 8.00 - 17.30 น. ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา โดยจัดประกวดแบบ European Style เต็มขนาด(ขนาด 18-85 bu) โดยมีคณะกรรมตัดสินรับเชิญจากต่างประเทศซึ่งได้รับการรับรองจากสมาคม ZNA ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งงานประกวดในครั้งนี้คาดว่าจะเป็นการประกวดที่ให้ทั้งความรู้และสร้างความเข้าใจและพัฒนาทักษะในการดูความงามของปลาแฟนซีคาร์พมาตรฐานให้กับผู้ที่สนใจ นำประสบการณ์ไปใช้ในการการเลี้ยงปลาแฟนซีคาร์พที่ถูกต้องและมีความสุขต่อไป


2. วัตถุประสงค์ของโครงการ
2.1 ร่วมกิจกรรมงานวันเกษตรแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2554 เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา


2.2 เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลาแฟนซีคาร์พ รวมถึงเปิดโอกาสให้เยาวชนและบุคคลทั่วไปได้ชมปลาแฟนซีคาร์พคุณภาพสูง


2.3 พัฒนาทักษะในการเลี้ยงปลาแฟนซีคาร์พระดับประกวดให้กับนักเลี้ยงและผู้ที่สนใจ


2.4 พัฒนาทักษะในการดูความงามของปลาแฟนซีคาร์พมาตรฐานให้กับผู้ที่สนใจ


3. จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
3.1 คณะกรรมการผู้ตัดสินจากต่างประเทศที่ได้รับการรับรองจากสมาคม ZNA จำนวน 3 คน


3.2 Trainee judges จำนวน 6 คน

3.3 ผู้เลี้ยงปลาแฟนซีคาร์พและผู้สนใจทั่วไปรวมประมาณ 2000 คน


4. ระยะเวลาและสถานที่
วันที่ 6 สิงหาคม 2554 รวม 1 วัน ณ โรงอาหารกลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา 3000


5. รายละเอียดการประกวด
ผู้จัดงาน : TKKG Nonthaburi Friendship Club (TKKG) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.)
ประธานจัดงาน : รศ.ดร.สันติ แม้นศิริ (TKKG) โทร. 089-8406148
ประธานร่วม : รศ.ดร.อนันต์ ทองระอา (มทส.) โทร. 081-7521642


โปรแกรมการประกวด
วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม 2554
18.00-24.00 น. ลงทะเบียนและรับปลาขนาด 55bu, 65bu, 75bu, และ 85bu ลงบ่อ
วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม 2554
08.00-10.00 น. ลงทะเบียนและรับปลาขนาด 18bu, 25bu, 35bu, และ45bu
09.30-10.00 น. ประชุมกรรมการตัดสินที่งานประกวด
10.00-13.00 น. ตัดสินปลา
13.00-14.00 น. พักเที่ยง
14.00-14.30 น. พิธีเปิดงาน
14.30-16.00 น. เปิดให้ผู้ร่วมงานเข้าชม
16.00-17.30 น. พิธีปิดงานและมอบรางวัล
17.30-18.30 น. ขนย้ายปลากลับ
19.00-21.00 น. งานเลี้ยง


ประเภทของการประกวด : European Style Show
สายพันธุ์ของปลาแฟนซีคาร์พที่ประกวด แบ่งเป็น 9 สายพันธุ์
1. KOHAKU (โคฮากุ)
2. TAISHO SANSHOKU (ซังเก้)
3. SHOWA SANSHOKU (โชว่า)
4. UTSURIMONO (อุสซุริโมโน) และ BEKKO (เบคโกะ)
5. TANCHO (ตันโจ) 6. KOROMO (โกโรโมะ), GOSHIKI (โงวชิกิ), ASAKI (อาซากิ), และ SHUSUI (ซูซุย)
7. HIKARI MUJIMONO (ฮิการิ มูจิโมโน)
8. HIKARI UTSURIMONO (ฮิการิ อุจิริโมโน) และ HIKARI MOYOMONO (ฮิการิ โมโยโมโน)
9. KAWARIMONO (คาวาริโมโน)


ขนาดปลาคาร์ฟที่ส่งเข้าประกวด และค่าสมัคร
ประกวด ทุกๆ 10 เซนติเมตร ตั้งแต่ 18 bu – 85 bu
1) 18 Bu < 18 cm 300 บาท พร้อมถุง 2) 25 Bu > 19-25 cm 300 บาท พร้อมถุง
3) 35 Bu > 26-35 cm 500 บาท พร้อมถุง
4) 45 Bu > 36-45 cm 500 บาท พร้อมถุง
5) 55 Bu > 46-55 cm 700 บาท
6) 65 Bu > 56-65 cm 700 บาท
7) 75 Bu > 66-75 cm 900 บาท
8) 85 Bu > 75 cm 900 บาท


คณะกรรมการตัดสิน จาก ZNA ( Zen Nippon Airinkai)
ค่าเช่าบ่อ ใบละ 1,000.- (ปลาขนาดตั้งแต่ 50 Bu – 85 Bu ทุกตัวตัดสินในบ่อ)
ถ้วยรางวัล ทั้งหมด. 97 ใบ
(1) Grand. Champion 1 ใบ
(2) Superior. Champion 1 ใบ
(3) Mature. Champion. 1 ใบ
(4) Adult. Champion. 1 ใบ
(5) Young. Champion. 1 ใบ
(6) Baby Champion 1 ใบ
(7) Jumbo Champion A 1 ใบ
(8) Jumbo Champion B 1 ใบ
(9) Best in size. 8 ใบ
(10) Best in variety. 9 ใบ
(11) 1st place 72 ใบ
(12) 2nd place (ประกาศณียบัตร) 72 ใบ
(13) 3rd place (ประกาศณียบัตร) 72 ใบ
หมายเหตุ
(1)-(8) ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี (ขอผ่านทาง มทส.)
(9)-(10) ถ้วยจากอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี



6. แหล่งงบประมาณ
ค่าสมัคร และเงินสนับสนุนจากองค์กร บริษัท หรือห้างร้าน


7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
เยาวชนและบุคคลทั่วไปได้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลาแฟนซีคาร์พและได้ชมปลาแฟนซีคาร์พคุณภาพสูง สามารถพัฒนาทักษะในการเลี้ยงและการดูความงามของปลาแฟนซีคาร์พ ระดับประกวด



8. ชื่อและสถานที่ติดต่อของผู้รับผิดชอบโครงการ
รศ. ดร. สันติ แม้นศิริ (ประธาน TKKG)
สาขาวิชาฟิสิกส์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทโนโลยีสุรนารี
โทรศัพท์ 089-8406148 (มือถือ); e-mails: Thai-koikeeper@hotmail.com; santimaensiri@g.sut.ac.th


แผนผังการจัดงานประกวด

คณะกรรมการตัดสิน


ถ้วยพระราชทาน และถ้วยรางวัล
ถ้วยรางวัลพระราชทาน Grand Champion

ถ้วยรางวัลพระราชทาน Superior, Grand Champion, Young Champion ตามลำดับ ถ้วยรางวัลพระราชทาน Jumbo Champion A และ Adult Champion

ถ้วยรางวัล The Most Unique Koi และ The Best Tatego

โล้ขอบคุณสปอนเซอร์

ใบเซอร์สำหรับปลาที่ชนะการตัดสิน

บริเวณรอบๆของสถานที่สำหรับจัดงานครั้งนี้

โซนจัดประกวดปลาบ่อ

โซนจัดประกวดปลาถุง

กำลังทหารจากกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 3 ร่วม 10 นาย ที่ทำงานอย่างแข็งขัน 24 ชม. 3 วัน 3 คืนที่ได้รับการสนับสนุนจาก พันเอกพิเศษ ชวรัตน์ ทรงสุนทร (พี่โจ๊ก)

พนักงาน บจก.ทวีมอเตอร์ ด่านขุนทด และแซ็คกี้ นศ.ป.เอก กำลังช่วยกันประกอบบ่อยาง

กำลังทหารช่วยกันจัดเตรียมบริเวณเวที สำหรับงานพิธีการ

กางบ่อยางเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อมาคือการต่อท่ออ๊อกซิเจน

ทีมเฮียซ้ง พี่เอก2009 พี่เอกไทยนิปปอน เดินทางมาถึงบริเวณเตรียมงาน

ทีมนี้ มาถึงก็จัดแจงทำงานกันเลย ขอชื่นชมความตั้งใจครับ


ทหารกำลังช่วยประกอบท่อลมเข้ากับบ่อต่างๆ

พี่จ่าปฐม สาธิตการประกอบท่อลมให้น้องพลทหารดูเป็นตัวอย่าง

ในช่วงบ่ายของวันแรกทั้งบ่อและชุดท่อลมก็ถูกเตรียมไว้เรียบร้อยแล้วครับ

ขอชื่นชมทีมทำงานทุกท่านที่มีความตั้งใจทำงานสูงมาก

ส่งผลให้งานเสร็จเร็วกว่าที่คิดไว้มากๆครับ เฮียซ้ง ลงมือทำด้วยตัวเองเลย...น้องๆชื่นชมมากครับเฮีย


ท่อลมเป็นระเบียบมากๆ ให้เครดิตนี้กับเฮียซ้ง เฮียบอย เฮียโกวิท พี่เอก 2009 และพี่เอกไทยนิปปอนครับ

ภาพมุมไกลครับ

คุณแชมป์ CEO ของ TCP เดินทางมาถึงบริเวณเตรียมงานประกวดพร้อมทีมงาน

ดำเนินการต่อท่อลมเข้ากับปั้มลม ซึ่งมีความพิเศษตรงระบบระบายความร้อน

ช่วยทำให้ได้ลมที่เย็นช่วยทำให้อ๊อกซิเจนละลายในน้ำได้ดียิ่งขึ้นครับ


พนักงานของ บจก.ทวีมอเตอร์ ด่านขุนทด กำลังเตรียมบอร์ดประกาศผลการตัดสิน

เพื่อสามารถรายงานผลการตัดสินแบบ Real time นับเป็นแห่งแรกของประเทศไทย

ที่มีการนำบอร์ดประกาศผลนี้มาใช้ บอร์ดนิทัศการ ประชาสัมพันธ์งานประกวดครั้งนี้ และแนะนำ TKKG


เฮียซ้ง และพี่เอกไทยนิปปอน เตรียมสถานที่สำหรับจัดประกวดปลาถุง

พนักงานของ บจก.ทวีมอเตอร์กำลังติดแถบแบ่งไซด์ปลาในการจัดเรียงสำหรับรอการตัดสิน

พื้นที่สำหรับจัดประกวดปลาถุงเสร็จเรียบร้อย

พื้นที่สำหรับจัดประกวดปลาถุง อีกมุมหนึ่ง



ทดสอบวางปลาไซด์ 4 ตัวแรก (ฮาๆ) หรือว่าไซด์ 4 เฮียโกนอนมาเลยใช่มะ


วันต่อมาน้องพลทหารช่วยกันนำแอลกอฮอล์มาเช็ดทำความสะอาดบ่อยาง

ทั้งด้านในและด้านนอกเพื่อทำการฆ่าเชื้อโรคต่างๆที่อาจมี


งานนี้ค่อนข้างให้ความสำคัญกับควารมสะอาด ความปลอดภัยมาก

ผู้ที่ส่งปลาเข้าประกวดวางใจได้ว่าปลาของท่านปลอดภัยแน่นอน


เริ่มทำการเติมน้ำแล้วครับ ขอบคุณเฮียโกวิท ที่ช่วยตรวจสอบคุณภาพน้ำอย่างใกล้ชิด


ค่า TDS ของน้ำครับ

จากนั้นก็มีการตรวจสอบค่า PH และคอลีน ของน้ำ

โดยเฮียโกวิท เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ปลอดภัย ของ TKKG


ดูกันชัดๆครับ

ขอขอบพระคุณ เฮียโกวิท ที่ช่วยตรวจเช็คคุณภาพน้ำในการจัดงานประกวดครั้งนี้ครับ

เฮียบอย อดีตประธาน ผู้ก่อตั้ง TKKG และที่ปรึกษา TKKG

กำลังเติมยาฆ่าเชื้อลงไปในบ่ออีกครั้งหนึ่ง เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่อาจมากับน้ำ


ยาอะไรหวา ทราบเพียงได้มาจากพี่ยุ่นครับ

กลุ่มนศ.ป.เอก มาช่วยติดป้าย และเบอร์บ่อ

เหล่าว่าที่ "ด๊อกเตอร์" ร่วมไม้ร่วมมือกันอย่างแข็งขัน

คุณประพล ไกลถิ่น และคุณปราการ ไกลถิ่น เดินทางมาถึงบริเวณเตรียมจัดงานพร้อมด้วย

กระชอนสำหรับตักฝุ่นผงในบ่อ ซึ่งหนึ่งบ่อจะใช้กระชอนหนึ่งอัน ปลอดภัยแน่นอนครับ เจ้าหน้าที่ มทส. ดำเนินการตรวจสอบความพร้อมของไฟแสงสว่าง


ไฟแสงสว่างพร้อมแล้วสำหรับงานใหญ่

ป้ายประจำบ่อยางแต่ละบ่อก็เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ

ลืมบอกไปว่าป้ายเบอร์บ่อเป็นผลงานของพี่หนึ่ง รศ.ดร.ดวงกมล แม้นศิริ

ขอบพระคุณมากครับป้ายต้อนรับทางเข้างานประกวดได้รับการสนับสนุนจากเฮียป๊อก ขอบคุณมากครับเฮีย

ประตูที่หนึ่ง ประตูที่สองครับ


คณะที่ไปรับกรรมการนำโดย รศ.ดร.สันติ แม้นศิริ (พี่แกละ) ประธาน TKKG คนปัจจุบัน

รศ.ดร.ดวงกมล แม้นศิริ (พี่หนึ่ง) เฮียโกวิท ปทุมนากุล เหรัญญิกTKKG คนปัจจุบันและน้องเชม