วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

บ่อ mio (บ่อกรอง)

สวัสดีครับเพื่อนๆ มาตามสัญญาครับ
วันนี้เราจะมาคุยเจาะลึกถึงเรื่องบ่อกรองของบ่อ mio
ก่อนอื่นเรามาดูระบบของบ่อ mio
ระบบกรองของบ่อผมเป็น แบบ Up down forward
หรือ ระบบน้ำมุดน้ำรอด แบ่งการทำงานของกรองเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ
.....
กรองกายภาพ Mechanical filter
เป็นการกรองเศษอาหาร และขี้ปลา
เพื่อให้ตะกอนหนัก ตกตะกอนอยู่ในช่วงนี้ให้มากที่สุด
......
กรองชีวภาพ Bio filter
เป็นการกรองโดยอาศัยแบคทีเลียที่อาศัยอยู่ในมีเดีย
ทำหน้าที่เปลี่ยนแอมโมเนียให้เป็น ไนไตร และสุดท้ายเป็นไนเตรท
จากแบบจะเห็นว่าบ่อกรองของผม
มีกรองชีวภาพ Bio filter เป็นส่วนใหญ่
หรือประมาณ 80% ของระบบกรอง
ทั้งนี้ เพราะผมอยากให้น้ำในระบบได้รับการบำบัดให้มากที่สุด
เพื่อสุขภาพของปลาที่รักครับ
ช่องแรกผมใช้พู่กรองเรียง 4 แถว
แถวละ 10 อันตะกอนหนักส่วนใหญ่จะอยู่ในช่องนี้ครับ
ช่องที่ 2 ของผมทำเป็น Moving bed ผมใช้ KK-1 เป็นมีเดีย
ดูรายละเอียดการทำงานของระบบนี้ได้ที่
http://www.koi-keeper.net/index.php?topic=1634.0

ช่องที่ 3 Fix bed ผมใช้ JFM และ Bio ball เป็นมีเดีย
จากนั้นที่กรองช่องสุดท้ายน้ำจะถูกแยก 2 ส่วน
ส่วนนึ่งกลับเข้าบ่อเลี้ยง และอีกส่วนจะถูกสูบขึ้น Bakki shower

หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.makc.com/bakki.pdf
ดูคลิบวีดีโอ Bakki shower
http://www.youtube.com/watch?v=LLArP0p8V_Q
ที่ บักกิชั้นสุดท้ายผมใส่ REFRESH SOLID
ซึ่งเป็นโคลนธรรมชาติ Montmorillonite
มีคุณสมบัติดูดซับของเสียและกลิ่นเสียในระบบ
ในขณะเดียวกันก็ปลดปล่อยแร่ธาตุธรรมชาติ
ในดินจากแหล่งภูเขาไฟในประเทศญี่ปุ่น
ช่วยคืนแร่ธาตุความเป็นธรรมชาติให้บ่อปูนในระบบปิด
เมื่อเราวางแผนเรื่องระบบกรอง และเลือกชนิดมีเดียที่จะใช้เสร็จแล้ว
เรามาดูขั้นตอนในการก่อสร้างบ่อกรองของผมบ้างดีกว่าครับ
เริ่มจากหาตำแหน่งวางท่อสะดือบ่อกันก่อนครับ

ใช้อิฐมอลก่อแนวบ่อกรองตามรูปเลยครับ
จำได้ว่าวันที่ถ่ายรูปนี้ผมกลับจากไปเยี่ยมพี่โฟล์คที่บ้านครับ
นานแค่ไหนก็ยังประทับใจครับ
ที่กรองช่องแรกเป็นจุดรวมของท่อสะดือบ่อทั้ง 3 อัน
และท่อสะดือบ่อกรองทุกๆช่องครับ
น้ำที่จะผ่านไปช่องกรองอื่นต้องผ่านท่อ PVC
ขนาด 4 นิ้ว จำนวน 6 อัน ตามภาพครับ
เนื่องจากตอนที่ผมทำบ่อยังไม่ค่อยเข้าใจ
ว่าบ่อเกอะมันคืออะไร มีไว้ทำไม ตอนนั้นไม่กล้าถามพี่หนึ่ง 2P
ก็เลยวางท่อสะดือบ่อกรองแบบที่เห็นนี่แหละครับ
ไม่ค่อยสะดวกเวลาล้างกรองครับ
ถ้าจะให้ดีกว่านี้...เพื่อนๆควรมีบ่อเกอะ
และว่างท่อสะดือบ่อช่องละ 1 อัน แยกอิสระ
เพื่อที่ว่าเมื่อเราต้องการล้างกรองช่องใด
ก็ดึงท่อช่องกรองช่องนั้น วิธีนี้จะช่วยให้การล้างกรองง่ายขึ้นครับ
ที่ผนังของบ่อเลี้ยงช่างได้เสียบเหล็ก
สำหรับยึดผนังบ่อกรองตามรูปครับ
จากนั้นเมื่อเราก่อผนังบ่อกรองก็จะผูกเหล็ก
เพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับบ่อกรอง
ค่อนข้างสำคัญนะครับ ห้ามลืมนะครับ
ที่ผนังบ่อกรองในช่วงบน ช่างเค้าเอาเหล็กเส้นมาวาง
และยึดติดกับผนังของบ่อเลี้ยง
เพื่อช่วยเสริมความแข็งแรงให้โครงสร้างของบ่อกรอง
ดูอีกกันทีครับ
เริ่มเป็นรูปเป็นร่างแล้วครับเพื่อนๆ
จับเซี่ยมจับฉากแต่งให้เรียบร้อยครับ
จากนั้นก็ฉาบผนังให้เรียบร้อยครับ
อย่าลืมทำบ่ารองรับมีเดียด้วยนะครับ
กรองช่องแรกครับ
จากนั้นก็ทาสีเคลือบบ่อ แนะนำให้ใช้สีขาว หรือสีฟ้า
เพื่อเราจะดูว่าล้างกรองสะอาดหรือป่าวนะครับ
เสร็จแล้วครับ...รอให้สีแห้งดีๆซะก่อนนะครับ
กรองช่องแรก
เมื่อเราประกอบท่อต่างๆลงไปดูแปลกตาขึ้นมาทันทีครับ
กรองช่องอื่นๆครับ ในภาพจะเห็น Protin skimmer
ซึ่งเดี๋ยวผมจะมาเล่าให้ฟังกันอีกทีนะครับ
ไม้ฝากรองเวอร์ชั่นแรก
ซึ่งเป็นไม้บางๆน้ำหนักเบาเพราะตอนนั้นผมทำเป็นชุด
เพื่อให้ง่ายเวลาที่เราเปิดฝาบ่อกรองครับ
แต่ปัจจุบันผมเปลี่ยนเป็นไม้เนื้อแข็ง
ยกเป็นแผ่นๆแบบนี้แข็งแรง และง่าย
กว่าแบบตอนแรกเยอะเลยครับ เหอะๆ
วันนี้พอเท่านี้นะครับง่วงนอนแล้วครับ
เดี๋ยวสัปดาห์หน้าเรามาคุยกันเรื่อง Protin skimmer นะครับ

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552

บ่อ mio (โครงสร้าง)

สวัสดีอีกครั้งครับเพื่อนๆ
วันนี้เรามาคุยกันเรื่องโครงสร้างของบ่อผม (mio) กันต่อครับ
กว่าจะได้บ่อปลา ขนาด 70 ตัน หน้าตาแบบนี้
มีที่มาที่ไปเป็นอย่างไร ติดตามชมกันนะครับ
กลับมาดูที่แบบบ่อกันก่อนนะครับ
บ่อนี้มีรูปทรงธรรมดา มาตรฐานแบบบ้านๆครับ
ระบบกรองในสมัยที่ผมออกแบบนั้น
ตัวผมเองยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่อง วอล์เทค และมูฟวิ่งเบด
จึงเลือกทำบ่อแบบเก่าไปก่อน....ชัวร์ดีครับ
.....
กว่าจะได้แบบบ่อนี้ ผมต้องออกแบบบ่อในกระดาษ A4
มาอย่างน้อย 2 แบบ พร้อมทั้งส่งเมลว์ไปปรึกษา ดร.บรรเจิด หลายรอบ
ไม่รู้อาจารย์ยังพอจำได้ไหม อิอิอิ
คิดแล้วคิดอีก แก้แล้วแก้อีก จนพี่โป้ง(นายจริงใจ)
ทำบ่อ 100 ตันเสร็จแล้ว ผมยังไม่ OK กับแบบเลย เหอะๆ
สุดท้ายก็ได้ข้อสรุป เป็นบ่อกรอง แบบUp Down Forward
มีชุดกรองทั้งหมด 3 ชุด และช่องตกตะกอน 2 ช่อง ช่องปั้มน้ำ 1 ช่อง
....
จากนั้นผมจึงไปปรึกษากับรุ่นพี่ที่เรียน MBA มาด้วยกัน
ขอให้พี่เค้าช่วยรับงานทำบ่อให้ผมหน่อย
ผมบอกพี่เค้าว่า "นี่คือของรักของผม"
พี่เค้าจบ ป.โท ด้านวิศวกรรมมาแล้ว 1 ใบ และรับเหมาก่อสร้างอยู่แล้ว
ประสบการณ์ของทีมช่าง กว่า 20 ปี
จนลูกสาวของหัวหน้าช่างเป็นหมออยู่ที่ USA ไปแล้ว
(ตรงนี้ผมขอพูดถึงหน่อยเพราะผมปลื้มแทนหัวหน้าช่างท่านนี้)
....
เอาแหละเข้าเรื่องดีกว่า อิอิ
เมื่อได้ผู้รับเหมา และทำสัญญาจ้างงานกันแล้วก็ลงมือขุดกันเลย
เนื่องจากบ่ออยู่หลังบ้านผมจึงไม่สามารถนำรกเข้ามาขุดได้
จึงต้องใช้แรงงานคนในการขุด โดยขุดอยู่ 1 สัปดาห์
จนได้ระดับความลึกที่ต้องการ จากนั้นก็ปรับพื้นให้เรียบ
รองพื้นด้วยทรายหนาประมาณ 5 cm แล้วเตรียมไม้แบบ
เพื่อเตรียมสำหรับการเทลีน
เทลีน หนาประมาณ 5 cm ปรับผิวงานให้เรียบ รอให้แห้ง 1 วัน

วันต่อมาทีมช่างเริ่มถักเหล็กกันแล้วครับ
อากาศร้อนมากๆครับ จำได้ว่า 40 องศา
เห็นใจช่างมากครับ ผมก็ทำได้แค่เลี้ยงน้ำเย็นๆ เท่านั้นเองครับ
สังเกตลักษณะการถักเหล็ก ระหว่างเหล็กที่เป็นโครงสร้างของพื้น
และเหล็กที่เป็นโครงสร้างของผนัง นะครับ
พี่เค้าบอกว่า...เนื่องจากบ่อของผมไม่มีการเจาะเสาเข็มเลย
พี่เค้าจึงเลือกทำบ่อในลักษณะที่ใช้ตัวบ่อเป็นฐานราก
โครงสร้างบ่อจึงดัดแปลงการทำฐานตอมอมาอีกที
เพื่อความแข็งแรงของโครงสร้าง พี่เค้าจึงใช้เหล็ก 6 mm ถัก 2 ชั้น
เพราะบ่อปลาจะรั่วซึมไม่ได้เลย...พี่เค้าบอกผมอย่างนั้นครับ
ระหว่างเหล็กรองด้วยก้อนปูน
ซึ่งเพื่อนๆสามารถใช้อิฐมอลแทนก็ได้นะครับ
ก้อนปูนทำหน้าที่หนุนโครงเหล็กให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
อยู่กึ่งกลางระหว่างเนื้อคอนกรีต
อย่าลืมล้างทำความสะอาด ไม่ให้มีเศษดิน
ก่อนเทคอนกรีตนะครับ
ล้างงานซะก่อนเทคอนกรีตนะครับ
จากนั้นเราจึงเริ่มเทคอนกรีตได้ครับ
ช่างเค้าใช้เครื่องจี้คอนกรีตมาช่วยให้เนื้อคอนกรีตแนน
ไม่มีฟองอากาศแทรกอยู่ในเนื้อคอนกรีตครับ
รอให้แห้งอีก 1 - 2 วัน จากนั้นช่างเริ่มก่ออิฐบล๊อก
เพื่อใช้เป็นแบบในการเทผนังบ่อ
โดยแนวของอิฐบล็อกจะอยู่บนฐานที่เราเทเมื่อวันก่อน

จากนั้นก็ล้างทำความสะอาดครับ
สังเกตแนวอิฐบล๊อกที่ช่างก่อขึ้นมาสิครับ
อยู่บนฐานที่เราเทพื้นไปเมื่อวันก่อน
ห่างจากขอบประมาณ 10 cm
ดูกันชัดๆ อีกทีครับ
ที่มุมของแนวอิฐบล๊อกช่างได้เสริมเหล็กเข้าไปด้วย
เพื่อความแข็งแรงของแบบครับ
เริ่มถัดเห็ลกผนังบ่อแล้วครับ
ที่มุมด้านในของโครงเห็ลกก็มีการใส่เหล็กตัว L
เพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับผนังบ่อ
เหล็กเราถักกัน 2 ชั้นครับ
แล้วติดก้อนปูนให้เรียบร้อยตามรูปครับ
เตรียมไม้แบบด้านใน ต้องแข็งแรงนะครับ
ป้องกันปัญหาเรื่องแบบแตกเวลาเทคอนกรีตครับ
เมื่อเตรียมทุกอย่างพร้อมแล้วก็เริ่มเทคอนกรีตได้ครับ
อย่าลืมใช้เครื่องจี้ปูนด้วยนะครับ
ตรงนี้มีเทคนิคมาบอกครับว่า เราจะจี้ปูนในลักษณะแนวดิ่ง
ไม่จี้แบบเฉียง หรือทะแยงมุม
ก่อนเทผนังด้านที่เรากำหนดให้เป็นบ่อกรอง
ช่างจะเจาะแบบเพื่อเสียบเหล็ก
เพื่อไว้สำหรับยึดโครงสร้างบ่อกรองให้ติดกับโครงสร้างผนังบ่อ
เทคอนกรีตเสร็จเรียบร้อยแล้ว ระหว่างนั้นเราจะต้องคอยพรมน้ำ เช้า เย็น
เพื่อเป็นการบ่มปูนนั่นเองครับ
ดูรายละเอียดเรื่องการบ่มปูนได้ที่
รดน้ำที่ตัวแบบด้านนนอกดินจะอุ้มน้ำเป็นตัวกักความชื้นที่ดีครับ
ขังน้ำไว้อย่างนี้ครับ
เมื่อแกะแบบออกเราก็ลองเติมน้ำลงไป
เพื่อดูว่ามีการรั่วซึม นะหว่างพื้นและผนัง หรือไม่
เหล็กที่ช่างเสียบไว้สำหรับยึดผนังช่องกรอง
ปรับแต่งขอบบ่อให้เรียบร้อยครับ
บ่อผมมีหลังคาด้วย
ซึ่งโครงสร้างหลังคายึดติดกับโครงสร้างบ่อครับ
ก่อบ่อกรอง
เดี๋ยวผมจะมาเล่าให้ฟังกันต่อใน บ่อ mio (บ่อกรอง)
โปรดติดตามเรื่องต่อไป...ตอนนี้ขอข้ามเรื่องบ่อกรองไปก่อนนะครับ
แต่งขอบทั้งสี่ให้โค้งมน เพื่อไม่ให้เกิดจุดอับของกระแสน้ำ
งานฉาบ
ตรงนี้เราควรวางแผนว่าเราจะทาสีเคลือบบ่อหรือไม่ สีที่ใช้คือสีอะไร
ถ้าเป็นฟิลโค๊ตผิวงานต้องขัดหยาบเพื่อให้เนื้อสียึดเกาะได้ดีครับ
จากนั้นก็วางแผนเรื่องการเติมน้ำเข้าบ่อให้เรียบร้อยครับ
จะเติมน้ำในบ่อกรอง หรือบ่อเลี้ยง เลือกเอาตามใจชอบครับ
สำหรับบ่อผม...เนื่องจากอยู่หลังเขา หาซื้อสีอย่างอื่นยาก
ก็เลยเลือกฟิลโค๊ทครับ
ลายระเอียดข้างกระป๋องครับ
สีชนิดนี้ใช้น้ำเป็นตัวทำละลายครับ
ผมให้พนักงานที่บริษัทฯ มาทำงานพิเศษ "มาทาสีกันในวันหยุด"
ทาสีกัน 3 รอบ จากนั้นทิ้งให้สีแห้งประมาณ 7 วัน
ดูกันอีกมุมครับ
ล้างทำความสะอาดก่อนเติมน้ำเข้าระบบครับ
ลองเดินระบบครับ
ตรงนี้อาจมีการปรับปรุงที่หน้างานอีกพอสมควรครับ
เดี๋ยววันหน้าผมจะมาเล่าเรื่องบ่อ mio ต่อครับ
สำหรับวันนี้ขอจบเพียงเท่านี้ครับเพื่อนๆ สวัสดีครับ