วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ค่า Hardness และ Ph

ข้อความต่อไปนี้เป็นข้อความของคุณอ้วน สยามโค่ย
ซึ่งกรุณาตอบให้ความรู้ในกระทู้ http://www.koi360.com/index.php?topic=5151.0
ผมได้ขออนุญาตคุณอ้วนนำมาเขียนบล็อก ได้รับการอนุญาตจากคุณอ้วนแล้ว

ค่า Hardness และ Ph

เรื่องพวกนี้ผมเคยค้นคว้าจากบทความต่างๆนานมากมาแล้ว ลืมเลือนไปเยอะแล้ว (แก่)
เอาแบบง่ายๆ เพราะคะแนนทั้ง เคมี และชีวะ สมัยเด็กไม่สูงเท่าไหร่ เอาจากข้อสังเกตุของผมแล้วกัน

เวลาผมไปดูการเอาปลาขึ้นจากบ่อดิน ซึ่งน้ำที่นั่นจัดเป็นน้ำอ่อน และมีค่า pH ประมาณ 6 กว่าๆ ปลาจากบ่อดินมีอัตราการเติบโตที่ดีมาก ปลาล่ำสวยงาม ทั้งนี้ขนาดที่ได้ ขึ้นอยู่กับอัตราความหนาแน่นของจำนวนปลาด้วย สีผิวที่ขึ้นจากบ่อดินในทันทีนั้น สีขาวเป็นขาวขุ่นหนา ขาวดี แต่ขาวแบบนมสด หรึอแบบนมข้น ประมาณตรามะลิ ไม่ถึงกับตราหมี (ไม่ได้ค่าโฆษณา) สีแดงนั้น ลึก ข้น หนา อมทางส้มแดง (เปรียบเทียบแบบ ฟาร์มต่อฟาร์ม เกรด และ ชนิดของแดง ต่อ แดงด้วยกัน) สำหรับปลาที่คุณภาพดี ส่วนพวกคุณภาพแย่ สีพัง หลุด ก็มี โทนสีแตกต่างกันแล้วแต่บ่อ แล้วแต่เกรด และ แล้วแต่ลักษณะการใช้สารเร่งสี สีดำแล้วแต่บริเวณที่เลี้ยง มีทั้งดีและไม่ดี หรือปริมาณมากหรือน้อย แต่ส่วนใหญ่ขึ้นมา แต่ไม่ฟินนิช

ทันทีที่ย้ายเข้าบ่อปูน สีขาวจะเริ่มเปลี่ยน เป็นขาวที่ดูโปร่งใสกว่าเดิม เป็นแบบปลาตามงานประกวด ใช้เวลาจากบ่อดิน มาอยู่บ่อปูนเพียงไม่กี่วัน ก็เห็นการเปลี่ยนชัด จริงๆ แค่ระหว่างเคลื่อนย้าย จากบ่อดินขึ้นรถทรัค ขนมาที่ฟาร์ม พอโยนลงบ่อปูนสักพัก ก็เริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลง ยกเว้นบางตัวที่มีอาการแพ้น้ำ มีเส้นเลือดขึ้นบ้าง แต่ผิวขาวดูเปลี่ยนไป ส่วนสีแดงนั้น พอเวลาผ่านไป สักพัก ที่ญี่ปุ่นช่วงนี้จะไม่มีการให้อาหาร สีแดงกระชับ และเปลี่ยนมาดูสดขึ้น ดูเหมือนลอยมาที่ผิวมากขึ้น อาจดูไม่ลึกเหมือนวันแรกๆ หรือไม่แดงขุ่นแบบวันแรก ดูสดใสกว่าวันที่มาจากบ่อดิน เป็นการสวยคนละแบบ สีดำช่วงแรกที่ย้ายมาดูไม่ต่างมาก จนเวลาผ่านไปนานๆ เช่น2-3 เดือนขึ้นไป ขึ้นอยู่กับบริเวณที่ตั้งฟาร์ม แต่ส่วนใหญ่จะดูลึกขึ้น มีการพัฒนาขึ้นกว่าตอนขึ้นจากบ่อดินใหม่ๆ ลืมบอกไป ว่าน้ำบ่อปูน อาจไม่อ่อนเท่า

เวลาโชว่าย้ายมาอยู่บ่อปูนที่เมืองไทย สีดำเปลี่ยนแปลงไปทางฟินนิชเร็วขึ้น มาเร็วขึ้น หลายครั้งที่ญี่ปุ่นบอกว่า ปลาบางตัว ทำท่าจะไม่ดี รีบส่งมาที่เมืองไทยเสียก่อน สีดำจะได้มีโอกาสมากขึ้น สีดำในซันเก้สาย จินเบ (Jinbei) สีดำจะมามากแบบน่าตกใจ บางครั้งมากจนดูไม่ได้ คุณภาพดำจากน้ำเมืองไทยกับ ซันเก้สายจินเบนั้น ดำเข้ม ลึก เป็นมันเงา สวยมากๆๆ แต่ควบคุบคุมปริมาณไม่ค่อยได้ บางที่มาจนดำไปครึ่งตัวก็มี แต่เป็นอะไรที่แสดงลักษณะของน้ำจากบ้านเรานั้น ค่อนข้างจะทำให้ดำดีขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงได้มาก

แต่ถึงจะเทียบกับที่ญี่ปุ่นด้วยกัน ลักษณะของสีทั้ง 3 สีนั้น ก็แตกต่างกันพอควร แบบสังเกตุได้ ระหว่างปลาที่เพิ่งมาจากบ่อดิน กับปลาที่อยู่ในบ่อปูนนานๆ

มีอยู่ปีหนึ่ง ที่ ไดนิชิ ทดลองเก็บโตไซ ไว้ 1 ชุดใหญ่ ในช่วงฤดูร้อน โดยไม่ปล่อยลงบ่อดิน พอถึงเดือนธันว่า ปลาที่อยู่ในบ่อดิน กับปลาที่เลี้ยงในบ่อปูน มีลักษณะสี ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ปลาบ่อปูนมีสีที่ดูสดใส แบบพร้อมขายมากกว่า อาจทำให้มือใหม่ดูตื่นเต้นกว่า อัตราการโตต่ำกว่า อาจเพราะที่จำกัด และเลี้ยงหนาแน่นกว่า ขาวกว่า แดงสดกว่า ดำดูฟินนิชกว่า ดูแล้ว เหมือนปลามาจากคนละฟาร์ม ทั้งๆที่มาจากพ่อแม่เดียวกัน

ผมเขียนแบบภาษา เคมี ไม่ค่อยเป็น ช่วยแปลไทยเป็นตัวเลขค่าต่างๆที ผมจะได้ร่วมเข้าใจด้วย เพราะของผม เอามาจากการสังเกตุ ผมลงไปลุยในบ่อดินบ่อยๆ จึงมีโอกาสได้เห็นปลาขณะยังอยู่ในบ่อว่าม้นต่างกันจริงๆ ที่เมืองไทย ที่รังสิตก็เป็นแบบเดียวกัน

ข้อเสียของบ่อดินคือ ควบคุมยาก ให้ผลแตกต่างมาก จากบ่อหนึ่งถึงบ่อหนี่ง อันตรายเยอะ ญี่ปุ่นนิยมใช้เพราะไม่มีทางเลือก เพราะ มีปลาเยอะ สร้างบ่อปูนมารอบรับทั้งหมดไม่ไหว


ผมคิดว่าปลา Sansai ที่ขึ้นจากบ่อดินใหม่นั้น มีสีที่มีพัฒนาการเพิ่มขึ้นอีกระดับหนึ่ง ต้องบอกว่า ปลาที่ Breeder เก็บไว่ลงบ่อดิน จนถึง 3 ปีนั้น ส่วนใหญ่ก็ต้องถือว่า มีระดับพอควร จากที่ผมเห็นปลาที่เพิ่งขึ้นมาจากบ่อดิน สีแดง จะหนาเข้มกว่า Nisai เป็นส่วนใหญ่ สีแดงของปลาหลายตัว สดขึ้นกว่าเดิม แต่ไม่ทั้งหมดนะครับ บางส่วน ยังมีลักษณะสีที่ยังอมส้มอยํู หนาลึก และออกใสขึ้น อาจไม่ขุ่นข้นแบบปลา 2 ปีชั้นดี แต่ก็ไม่สดเข้มแบบปลาที่ฟินนิชแล้ว

ผมอยากแบ่งปลา 3 ปีออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก สีแดงค่อนข้างสดและหนา ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่กว่า และกลุ่มที่ 2 ที่อาจเป็นปลาเกรดสูงที่บรีดเดอร์ไม่เร่งสีเพื่อเตรียมขาย ทำให้สีดูอ่อนกว่ากันในแง่โทนสี

ผมเคยเข้าคลาสเรียนข้างบ่อกับปลาโคฮากุอายุ 4 ปีตัวหนึ่ง จากฟาร์ม ไดนิชิ ถ้าจำไม่ผิด ในปี 2006 ในคลาสเรียนข้างบ่อวันนั้น มีผม มีคุณตาว คุณ 2p คุณโจ้ Koi Expert และคุณพระเอก วิลลี่ แมคอินทอช ปลาตัวนั้นมีสีแดงที่ยังมีโทนสีที่อ่อนอยู่ คือแดงอมส้ม แบบที่เริ่มมีความสดใสและเข้มปานกลาง พวกเราเรียนรู้จากมาโน่ซัง ในวันนั้นว่า นี่คือตัวอย่างของสีแดงที่ดี เราทราบว่าปลาตัวนั้นราคาไม่ถูก เป็นปลาที่ว่ายไปมาอยู่ในบ่อแล้วสีไม่โดดเด่นไปกว่าตัวอื่นเลย

ปีที่แล้ว 2009 ปลาตัวเดียวกันนี้ ได้รับรางวัล Grand Champion ในรายการ

เป็นตัวอย่างว่า ปลา 3 ปี หรือแม้แต่ 4 ปี ที่มาจากบ่อดินนั้น สียังไม่เหมือนกับปลาที่ฟินนิชสมบูรณ์อยู่ดี ทั้งนี้ ปลาเหล่านี้ก็อาศัยอยู่ในบ่อปูน อยู่ครึ่งหนึ่งของชีวิต (แต่เป็นช่วงฤดูหนาว ที่ไม่มีการให้อาหาร) และสภาพน้ำในบ่อปูนก็มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสีไปพอควรในช่วงฤดูหนาวนั้นๆ แต่พอกลับไปลงบ่อดินใหม่อีก 5 เดือน ผลจากน้ำบ่อดินก็ค่อยๆเปลี่ยนสภาพสีให้เป็นอีกแบบหนึ่งได้เหมือนกัน

ปลาอีกส่วนหนึ่งถูกนำลงบ่อดินต่อเนื่องจนถึงปีที่ 4-5-6 หรืออาจนานกว่านั้น โดยเฉพาะแถบนิกาตะ นั่นเพราะสาเหตุหลักก็คือ ไม่มีบ่อปูนที่ดีพอ ที่จะ Condition ปลานั่นเอง หากเทียบกันแล้ว Breeder ในนิกาตะ รายไหนๆก็ไม่มีศักยภาพในการ Condition ปลาเทียบเท่าพวกดีลเลอร์ใหญ่ๆในแถบโตเกียว ชิบะ นาโกย่า โอดาวาร่า หรือ โอกายามา ปลาอายุมากขนาดใหญ่ มีความเสี่ยงสูงในทุกๆเรื่อง ตั้งแต่ภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะวันสุดท้ายก่อนตีอวนขึ้นจากบ่อดินนั้น เป็นวันที่อันตรายที่สุด เพราะบรีดเดอร์จะเริ่มทำการลดระดบน้ำในบ่อดินลง 1 วันก่อนการตีอวน เพราะมีปริมาณน้ำมากต้องใช้เวลาปล่อยน้ำนาน คืนนั้น บรรดาแรคคูนหรือหมีขนาดเล็กจะลงมาจับปลาไปกินได้ง่ายที่สุด เพราะน้ำตื้น ทำให้ปลาใหญ่หนียาก ปลาในบ่อแพงๆ อาจต้องใช้คนเฝ้าระวังทั้งคืน

นอกจากนั้น ความไม่แน่นอนของสภาพน้ำในบ่อดิน ยังอาจสร้างความประหลาดใจสารพัดให้กับบรีดเดอร์ได้อีก เช่นสีหลุด สีดำหาย สีดำมามากเกินไป เป็นแผล หรือหายสาบสูญ

การคอนดิชั่นปลาใหญ่ให้ฟินนิช จึงทำในบ่อปูนมากกว่า ปลาแชมป์ระดับพระกาฬส่วนใหญ่ ฟินนิชในบ่อปูน ที่สามารถควบคุมสภาพน้ำ และป้องกันอันตรายได้ดีกว่า ในอดึต ยุครุ่งเรืองของ ดีลเลอร์ดัง Miyoshiike ของปรมาจารย์ Mamoru Kodama ใช้บ่อปูนขนาด 800 ตันที่ชิบะ เป็นที่คอนดิชั่นปา ได้ Grand Champion 3 ตัว ถัดมายุค ดีลเลอร์ใหม่ (ขณะนั้น) Momotaro แห่งเมือง Okayama เอาปลาจากหลายแหล่ง มาคว้า GC ถึง 3 ครั้ง 3 ครา (แต่ไม่ใช่ปลาของ Momotaro เอง) ถัดมาเป็นยุค Odawara แห่งเมือง โอดาวาร่า ชื่อเดียวกับฟาร์ม แม้บ่อไม่ใหญ่เท่า 2 ดีลเลอร์แรก แต่ก็มีเทคนิคสมัยใหม่ ที่ทำให้ปลาฟืนนิชสวย จนถึงปัจจุบัน ที่เป็นยุคของ Ryuki Narita แห่ง Narita Koi Farm แห่ง Nagoya ที่ขึ้นชื่อเรื่องเทคนิคการฟินนิช โดยเพาะเรื่องอาหาร และสารบางอย่างที่ใช้ปรับสภาพน้ำ จนคว้าแชมป์มามากมาย

ในบ่อดิน ไม่มีอาหารอื่นครับ ไม่มีกุ้งฝอย ปู หอย แบบบ้านเรา เพราะนั่นคือศัตรูทั้งนั้น มีแต่กบที่หลุดเข้ามาแต่ถัาถามว่าเป็นพวกแร่ธาตุต่างๆในดินนั้น เป็นไปได้ครับ