คุณค่าทางโภชนาการของ สาหร่ายสไปรูลิน่า
(ข) สาหร่ายสไปรูลินาที่กรองได้
(ค) การอบสาหร่ายสไปรูลินาในตู้อบลมร้อนอุณหภูมิ 50 °C
(ง) สาหร่ายสไปรูลินาแบบเกล็ด
ผลการศึกษา
เมื่อนำปลาทองมาเลี้ยงด้วยอาหารที่เสริมสไปรูลินา ที่ระดับต่าง ๆ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่าการเสริมสไปรูลินาที่ระดับความเข้มข้น 3% มีผลให้อัตราการเจริญเติบโตของปลาทองมีค่าสูงสุดและแตกต่างกับชุดการทดลองอื่น ๆ ขณะที่การเสริมสไปรูลินาในอาหาร 5% มีผลให้อัตราการเติบโตของปลาลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากระดับความเข้มข้นของสไปรูลินาในอาหารที่เพิ่มขึ้นมีผลต่อสมดุลของกรดอะมิโนรวมในอาหาร การได้รับอาหารที่มีกรดอะมิโนไม่สมดุล มีผลทำให้การเจริญเติบโตของปลาทองลดลงได้ (Halver et al.,2002) ซึ่งสอดคล้องกับการทดลองในกุ้งกุลาดำของ Liao และคณะ(1993) ซึ่งพบว่ากุ้งกุลาดำที่ได้รับอาหารเสริมสไปรูลินา 5% มีการเจริญเติบโตต่ำกว่าชุดการทดลองที่ได้รับอาหารไม่เสริมสไปรูลินา นอกจากนี้ในการทดลองใช้โปรตีนเซลล์เดียว (single cells protein, SCP) เสริมในอาหารในปริมาณมากเกินจะมีผลเสียต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ ซึ่งอาจเกิดจากสมดุลของกรดอะมิโนรวมในอาหาร ตลอดจนอาจมีสารยับยั้งการเผาผลาญอาหาร (antimetabolites) อยู่ในเซลล์ที่นำมาใช้เป็นแหล่งของโปรตีนเซลล์เดียว (Kiessling and Askbrandt, 1993) ทั้งนี้การเสริมสไปรูลินาในอาหารไม่มีผลต่อการแลกเนื้อ และการรอดตายของปลาทอง เช่นเดียวกันกับการทดลองของมะลิและคณะ (2543) ซึ่งศึกษาผลของแอสตาแซนทีนสังเคราะห์ต่อการเจริญเติบโตในกุ้งกุลาดำ โดยทำการทดลอง 8 สัปดาห์ พบว่าน้ำหนักเฉลี่ย อัตรารอดตายและเปอร์เซ็นต์น้ำหนักที่เพิ่มของกุ้งที่ได้รับอาหารทดลองทุกสูตรไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ และสอดคล้องกับรายงานของ Yamada และคณะ (1990) ซึ่งทดลองเสริมแอสตาแซนทีนสังเคราะห์บีต้า-แคโรทีนสังเคราะห์ และแคนตาแซนทีนสังเคราะห์ในอาหารกุ้งที่ได้รับอาหารเสริมสารสีสังเคราะห์ดังกล่าวทุกสูตร มีการเจริญเติบโตและประสิทธิภาพการใช้อาหารไม่แตกต่างกับชุดควบคุม
อย่างไรก็ตาม การเสริมสไปรูลินาในอาหารมีผลทำให้สีเหลือง และแดงของตัวปลาทองเพิ่มมากขึ้น โดยที่สีขาวจะลดลง โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของค่าระดับสีแดง-เขียว (a) และเหลือง-น้ำเงิน (b) ซึ่งจะสัมพันธ์กับสีแดงและเหลืองของตัวปลาที่เพิ่มขึ้น โดยระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมของสาหร่ายที่มีประสิทธิภาพต่อการเร่งสีในปลาทองคือระดับความเข้มข้นของสไปรูลินาแห้งในอาหาร 3-5% ซึ่งสอดคล้องกับการทดลองของ Liao และคณะ(1993) ซึ่งพบว่าระดับความเข้มข้นของสาหร่ายสไปรูลินาแห้งในอาหารกุ้งกุลาดำ 3-5% มีประสิทธิภาพสูงสุดในการเพิ่มปริมาณแคโรทีนอยด์ในเปลือกกุ้ง ทั้งนี้ Ohkubo และคณะ(1999) รายงานว่า ปลาทองจะเปลี่ยนแปลงแคโรทีนอยด์จากอาหารและสะสมในรูปแอสตาแซนทีน และบีต้า-แคโรทีนเป็นหลัก จึงทำให้เกิดสีส้ม-เหลืองในตัวปลาทอง สไปรูลินา ซึ่งมีบีต้า-แคโรทีน เป็นแคโรทีนอยด์ หลักจึงสามารถเร่งสีเหลืองในตัวปลาทองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังเห็นได้จากค่าระดับสีเหลือง-น้ำเงิน (b value) ซึ่งเพิ่มมากขึ้น จากการทดลองครั้งนี้การเสริมสไปรูลินาในอาหารในระดับความเข้มข้น 5% ส่งผลให้การเจริญเติบโตของปลาทองลดต่ำลงกว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารเสริมสไปรูลินา 1-3% โดยที่มีค่าระดับสีเหลืองและแดงไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่ได้รับอาหารเสริมสไปรูลินา 3% และ 5% ดังนั้นการเสริมสไปรูลินาในอาหารปลาทอง 3% จึงเป็นระดับที่มีความเหมาะสมในการเร่งสี โดยไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของปลา ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://www.klickaquatech.com/
เป็นไงกันบ้างครับเพื่อนๆ
สไปรูลิน่า มีผลต่อการเติบโต และสีของปลา
เยอะใช่ว่าจะดีเสมอไป จริงๆนะครับ