ไคติน-ไคโตซาน
เมื่อหลายปีก่อนคงเคยได้ยินและรู้จัก "ไคติน-ไคโตซาน" ในรูปของอาหารเสริมลดความอ้วนโดยเมื่อ รับประทานก่อนมื้ออาหารจะสามารถช่วยดักจับไขมันจากอาหารที่รับประทาน เพื่อไม่ให้สะสมในร่างกาย นอกจากนั้นยังสามารถช่วยดักจับโลหะหนักอีกด้วย
เรามารู้จัก "ไคติน" กันเถอะ
ไคติน เป็นพอลิเมอร์ชีวภาพที่มีมากเป็นอันดับสองของโลก ซึ่งพบได้จากธรรมชาติ คือจะพบในรูปของสารประกอบเชิงซ้อนไคติน-โปรตีน (ในเปลือกของแมลง) ซึ่งนอกจากจะพบได้ในเปลือกกุ้งและปูแล้วนั้นยังมีมากในเปลือกหุ้มของแพลงก์ตอน ผนังเซลล์ของสาหร่าย ยีสต์ และเห็ดรา เปลือกแมลง แกนของปลาหมึก แมงกระพรุน หรือดาวทะเล
ข้อมูลทั่วไป: ไคโตซาน เป็นสารอนุพันธ์ที่ไม่ละลายน้ำของไคติน ซึ่งสามารถสกัดได้จากเปลือกของกุ้งขนาดกลางและเล็ก กุ้งกร้ามกราม หรือปู (1, 2, 3, 6, 7, 10, 13, 20, 24) มีการวิจัยทางคลินิกวิทยามากว่า 17 ปี ีถึงการใช้ไคโตซานเป็นสารลดน้ำหนักธรรมชาติโดยใช้เป็นใยอาหาร (ไฟเบอร์) เพื่อทำให้อืดอิ่ม และใช้ในการทำความสะอาดสำไส้ เรื่อยจนมาถึงปัจจุบัน (21) ไคโตซานมีคุณสมบัติในสมบัติในการดูดซับน้ำมัน คราบไขมันและสารพิษบางชนิด เพื่อทำให้กำจัดได้ง่ายขึ้น ไคโตซานถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องสำอาง รวมทั้งผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร การทดลองของฮาน (Han L. K.) และเพื่อนร่วมงานของเขา (1999) ที่โรงเรียนการแพทย์ในประเทศญี่ปุ่นชี้ให้เห็นว่า ไคโตซานป้องกันการเพิ่มของน้ำหนักตัว ป้องกันภาวะไขมันในเลือดสูง และการมีไขมันสะสมในตับมากอันเนื่องมาจากการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง มีการทดลองที่ทำการเปรียบเทียบการขับไขมันออกจากร่างกาย และคุณสมบัติในการลดน้ำหนักของใยอาหารจากพืชผักหลากหลายชนิดกับไคโตซาน ผลปรากฎว่าไคโตซานให้ผลดีเหนือกว่าใยอาหารอื่นทั้งหมด (19) ไม่เพียงใช้ในอุตสาหกกรมอาหารไคโตซานยังใช้เป็นไหมเย็บบาดแผลและเส้นเลือดที่ขาด นักวิทยาศาสตร์บางท่านได้จัดให้ไคโตซานเป็นหนึ่งในกลุ่มอาหารเพื่อหน้าที่ หรือที่รู้จักกันว่า ฟังก์ชันนอล ฟูด (functional food) (6)
ไคติน-ไคโตซาน มีประโยชน์อะไรบ้าง
ในทางการแพทย์
ไคตินสุดไม่ก่อให้เกิดการต่อต้านจากร่างกาย ไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายทั้งยังช่วยส่งเสริมการเจริญของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อคนอีก ไคติน-ไคโตซานก็เลยได้รับความสนใจเป็นอย่างมากที่จะได้รับการพัฒนาไปใช้ในทางการแพทย์อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้ส่งเสริมการเจริญของแบคทีเรียในลำไส้ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ ต่อต้านมะเร็ง ช่วยลดสารพิษและยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียที่เป็นอันตรายอย่างเชื้อซัลโมเนลลา เนื่องจาก ไคติน-ไคโตซานเป็นสารที่ได้จากธรรมชาติ สามารถเข้าได้กับร่างกายมนุษย์ จากการศึกษาในต่างประเทศ พบว่าสามารถย่อยสลายได้ภายในสัตว์ เนื่องจากมีเอนไซม์หลายชนิดสามารถย่อยสลายได้ นอกจากนี้ ตัวไคติน-ไคโตซานยังสามารถยับยั้งการเจริญของจุลชีพบางชนิดด้วย จากข้อดีต่างๆ นี้เอง ไคติน-ไคโตซาน จึงถูกนำมาใช้งานทางการแพทย์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
-Wound-healing ointments
-Surgical sutures
-Orthopaedics
-Drug delivery vehicles
-Anticholesterol and fat bindings
-Skin treatments
-Wound dressings
-Dentistry
-Tranportation of cells
-Ophthalmology
โครงการวิจัยพัฒนาแผ่นไคติน-ไคโตซานสำหรับรักษาแผลของศูนย์ ฯ กำลังดำเนินการอยู่ และได้เริ่มทดลองใช้ ในผู้ป่วยจากอุบัติเหตุน้ำร้อนลวกในรายที่บาดแผลไม่รุนแรงมากนักเนื่องจากเป็นการทดลองใช้ในขั้นต้น จากการทดลองพบว่าไม่มีการแพ้ หรืออักเสบของบาดแผล คาดว่าแผ่นไคติน-ไคโตซานจะสามารถใช้เป็นวัสดุ สำหรับปิดรักษาแผลที่ดี สามารถลดอาการเจ็บปวดของผู้ป่วยลงได้ ใช้ทำผิวหนังเทียมที่จะช่วยบรรเทาความทุกข์ทรมานให้กับผู้ถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือพวกประสบอุบัติเหตุที่มีแผลลึกๆ ด้านการแพทย์และเภสัชวิทยา ใช้ไคติน และไคโตซาน ในการรักษาบาดแผล เพื่อใช้ในการรักษา แผลผ่าตัดและไฟไหม้ ซึ่งจะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ทำผลิตภัณฑ์แผ่นปิดตกแต่งแผล ด้ายเย็บแผล ซึ่งข้อดีของมันก็คือ จะสลายตัวอย่างช้า ๆ และถูกดูดซับเข้าร่างกาย อย่างไม่มีปฏิกิริยาต่อต้านจากร่างกาย ใช้เป็นเลนส์สายตา เนื่องจากมีคุณสมบัติยอมให้ออกซิเจนผ่านเข้าออกได้ และไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ใช้เป็นแคปซูลบรรจุยา ใช้เป็นสารป้องกันการตกตะกอนของเลือด ใช้เป็นตัวจับและตกตะกอนเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว ใช้ผลิตผนังเทียม เช่นผนังไต ใช้เป็นสารลดโคลเลสเตอรอล และใช้เป็นสารเชื่อมหรืออุดฟันในด้านทันตกรรม
ช่วยในการเสริมสร้างกระดูก และฟัน
จากการค้นคว้าของนักวิทยาศาสตร์พบว่าไคโตซานสามารถกระตุ้นให้เกิดการสร้างกระดูกใหม่โดยทดลองจากกระต่ายและสุนัข
ช่วยบำบัดน้ำเสีย
มีประโยชน์ช่วยตรึงเอนไซม์ในการทำผลิตภัณฑ์ให้บริสุทธิ์ รวมทั้งสามารถจับของแข็งแขวนลอยได้ดี และจับกับอะตอมของโลหะหนัก
วิธีการรักษาโรคตา
คือมีคุณสมบัติที่จะเป็นคอนแท็กต์เลนส์ และวัสดุทดแทนกระจกตา เพื่อรักษาโรคต้อได้เป็นอย่างดีอีกทั้งไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ระคายเคือง
อาหารเสริมของสัตว์เลี้ยง
ใช้ผสมรวมกับอาหารให้แก่สัตว์บก มีประโยชน์ในการเพิ่มแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร ลดอาการท้องเสีย
ทางด้านการเกษตร
นำมาเคลือบผิวผลผลิตทางการเกษตรเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา และป้องกันแมลงกัดกินไคโตซานสามารถก่อตัวเป็นฟิล์มบาง ใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น เคลือบผิวเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลผลิตทางการเกษตรและเมล็ดพันธุ์ และยังมีการนำเอาอนุพันธ์ของไคตินและไคโตซานไปเป็นสารต่อต้านเชื้อรา ไวรัสและแบคทีเรียบางชนิด ซึ่งมันสามารถทำงานได้อย่างกว้างขวาง เช่น ยับยั้งโรคโคนเน่าจากเชื้อรา โรคแอนแทรกโนส และโรคอื่นๆ
ไคติน-ไคโตซานสามารถใช้เป็นสารเสริมผสมลงในอาหารสัตว์บก เช่น สุกร วัว ควาย เป็ด ไก่ ช่วยเพิ่มปริมาณแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ในทางเดินอาหาร ช่วยลดอาการท้องเสียของสัตว์ได้ และลดอัตราการตายของสัตว์วัยอ่อนอันเนื่องมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดในทางเดินอาหาร
ช่วยลดน้ำหนัก
ประจุบวกของไคโตซานจะดักจับกรดไขมันอิสระ และคอเลสเตอรอลที่มีประจุลบและจะถูก ขับถ่ายออกมาพร้อมกับไขมันส่วนเกินด้วย
ทางด้านความงาม
ด้วยคุณสมบัติที่ไม่ละลายน้ำ และอุ้มความชื้นได้ดีจึงพัฒนานำมาทำผลิตภัณฑ์บำรุงผิว และดูแลเส้นผม ยาสีฟัน เครื่องสำอาง โดยเฉพาะนำไปใส่ในเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของกรดผลไม้ธรรมชาติ หรือ AHA ช่วยกระตุ้นให้ผิวหนังเก่าหลุดลอก เพื่อสร้างผิวใหม่ดูอ่อนเยาว์ยิ่งขึ้น
ไคติน-ไคโตซานสามารถลดความอ้วน ได้ดีสุดยอดอย่างที่เราไม่อยากจะเชื่อ เมื่อไคตินนั้นได้กลายเป็นไคโตซานแล้ว ประจุบวกอันมหาศาลของไคโตซาน จะเป็นที่ดึงดูดใจมากของเหล่ากรดไขมันอิสระ และคอเลสเทอรอลที่มีประจุลบ ดังนั้นเจ้าตัวต้นเหตุของความอ้วน ทั้ง 2 ตัว ก็จะเกาะติดแจกับไคโตซาน และคนไม่สามารถย่อยไคติน-ไคโตซานได้ทั้งหมดจึงถูกขับออกมาพร้อม กับอุจจาระโดยที่มีคอเลสเทอรอลและไขมันส่วนเกินตามออกมาด้วย
ไคโตซานมีประจุบวกอย่างล้นเหลือทำให้มันสามารถเกาะกับประจุลบของผิวหนังและเส้นผมได้เป็นอย่างดี จึงถูกนำไปใส่ในเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของกรดผลไม้ธรรม ชาติที่เราคงคุ้นชื่อกันดีว่ากรดแอลฟาไฮดรอกซี หรือ AHA ไงครับ กรดพวกนี้จะกระตุ้นให้ผิวหนังเก่าหลุดลอก เพื่อสร้างผิวใหม่ ทำให้ผิวคุณดูอ่อนเยาว์ขึ้น ส่วนในการบำรุงเส้นผม ไคโตซานจะก่อตัวเป็นฟิล์มเคลือบเส้นผมไว้ ทำให้เส้นผมคงสภาพนุ่มสลวยไม่เสียง่าย
ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ไคโตซานได้ถูกนำมาใช้เพื่อจุดประสงค์หลายอย่าง เช่น เป็นสารเพิ่มความข้นเหนียวในครีม เป็นส่วนผสมในโลชั่น เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นและความเนียนนุ่ม เป็นส่วนผสมในแชมพูสระผม ครีมนวดผมและครีมปรับสภาพผม เนื่องจากมีคุณสมบัติ ความหนืด และการเคลือบ เพื่อช่วยเก็บความชุ่มชื้นไว้ ทำให้เส้นผมนุ่มได้ บริษัทในประเทศเยอรมนี และบริษัทญี่ปุ่นได้ใช้สารไคโตซานเป็นส่วนประกอบในแป้งแต่งหน้า เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น ความเรียบ รวมทั้งได้มีการนำสารไคโตซานมาใช้ในโฟมล้างหน้า เพื่อการรักษาความสะอาดและลดความมันบนใบหน้า
พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
โดยนำมาผสมกับพลาสติก เพื่อช่วยให้สามารถย่อยสลายได้ง่าย นอกจากนี้ยังนำมาทำเป็นฟิล์มถนอมอาหารที่สามารถรับประทานได้โดยไม่เป็นอันตราย
ไคโตซานคือสุดยอดนวัตกรรมที่เกิด มาจากเทคโนโลยีการใช้กากของเสียให้เป็นประโยชน์ เป็นทางออกที่ดีทั้งต่อมนุษย์และต่อสิ่งแวดล้อม ในการจัดการเปลือกกุ้งมากมาย ที่ถูกทิ้งจากอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ บทบาทที่สำคัญทางด้านสิ่งแวดล้อมของไคโตซานที่เรารู้ๆ กันก็คือการบำบัดน้ำทิ้ง น้ำเสีย
นอกจากการบำบัดน้ำเสียแล้ว ไคโตซานยังมีความสามารถในการจับกับของแข็งแขวนลอยได้ดี และจับกับอะตอมของ โลหะหนัก รวมทั้งมีการนำไปจับกับสารกัมมันตรังสีอย่างพลูโตเนียมและยูเรเนียมด้วย ส่วนการจับกับคราบไขมันนั้น กลไกการจับก็คล้ายๆ กับการจับกับไขมันในทางเดินอาหาร
ทางด้านสิ่งทอ
นำมาเคลือบเส้นใยผ้าเพื่อลดกลิ่นเหงื่อและกลิ่นอับชื้น และต้านทานเชื้อรา แบคทีเรียอีก ด้วยอุตสาหกรรมเส้นใย กระดาษ สิ่งทอ ก็มีการใช้ไคโตซาน เช่น ใช้ทำภาชนะบรรจุที่ย่อยสลายได้ในธรรมชาติ ทำฟิล์มถนอมอาหารที่สามารถรับประทานได้ ใช้ในการผลิตผ้าที่ย้อมสีติดทนนาน ใช้ในกระบวนการผลิตกระดาษ ที่มีคุณสมบัติทางกายภาพสูง ทนทานต่อการฉีกขาด หรือผลิตกระดาษที่ซับหมึกได้ดีเพื่อการพิมพ์ที่ต้องการคุณภาพสูง
ทางด้านสิ่งพิมพ์
ช่วยยืดอายุการเก็บเอกสารสำคัญ โดยทำให้กระดาษมีคุณสมบัติเหนียว แข็งแรง ทนต่อการฉีกขาด และซับหมึกได้ดี
ไคติน-ไคโตซาน เป็นสารที่มีมนุษย์เราสามารถนำมาประยุกต์เพื่อใช้ประโยชน์หลากหลาย แต่ในส่วนของ การนำมารับประทานเพื่อเป็นอาหารเสริมลดความอ้วนนั้น มีข้อควรระวังในกรณีที่รับประทานเข้าไปแล้วอาจ เกิดอาการอาหารไม่ย่อย ควรดื่มน้ำตามเข้าไปมาก ๆ อาการจะดีขึ้น และไม่เหมาะสำหรับผู้ที่แพ้พวกอาหารทะเล หญิงมีครรภ์ หรือหญิงที่ให้นมบุตรไม่ควรจะบริโภค
ไคติน-ไคโตซาน สารมหัศจรรย์จากธรรมชาติ
เมื่อพูดถึงไคติน สิ่งที่คุณผู้อ่านนึกถึงเป็นอันดับแรกๆ ก็คือความอ้วน และเชื่อว่าคุณผู้หญิงและคุณผู้ชายที่มีหุ่นตุ้ยนุ้ยจนละม้ายคล้ายโอ่งมังกรหลายๆ คนคงเคยลองใช้ผลิตภัณฑ์ไคติน-ไคโตซานมาแล้ว นอกจากจะช่วยควบคุมน้ำหนักแล้ว ไคตินยังมีสรรพคุณอีกสารพัดสารเพที่เรียกได้ว่าแทบจะบรรยายไม่หมดเลยทีเดียว ทั้งดักจับคราบไขมันและโลหะหนัก เป็นอาหารเสริมสุขภาพ และเป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอาง
ไคตินคืออะไร
ไคตินเป็นพอลิเมอร์ชีวภาพชนิดหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อ เป็นองค์ประกอบในโครงสร้างต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตมากมายหลายชนิด ไคตินเป็นพอลิเมอร์ชีวภาพที่มีมากเป็นอันดับสองของโลก และเนื่องจากไคตินเป็นพอลิเมอร์ที่พบในธรรมชาติ เราจึงมักพบไคตินในรูป สารประกอบเชิงซ้อนที่อยู่รวมกับสารอื่นๆ
ไคตินเป็นสารประกอบพวกคาร์โบไฮเดรตเช่นเดียวกับเซลลูโลสและแป้ง รูปร่างของไคตินจะเป็นเส้นสายยาวๆ มีลักษณะคล้ายลูกประคำที่ประกอบขึ้นมาจาก น้ำตาลโมเลกุลเล็กๆ ที่มีชื่อว่า เอ็น-อะซิทิลกลูโคซามีน(N-acetylglucosamine)
ไคติน-ไคโตซาน ดาวรุ่งพุ่งแรง
เมื่อพูดถึงไคติน อีกคำที่มักจะพ่วงมาด้วยคือ ไคโตซาน ไคโตซานคืออนุพันธ์ตัวหนึ่งของไคติน รูปร่างหน้าตาของมันก็จะละม้ายคล้ายกับไคติน ไคโตซานจะได้จากปฏิกิริยาการดึงส่วนที่เรียกว่า หมู่อะซิทิล (acetyl group) ของไคตินออกไป เรียกว่า ปฏิกิริยาดีอะซิทิเลชัน (deacetylation) ทำให้จากเดิมโมเลกุลเดี่ยวของไคตินที่เคยเป็นเอ็น-อะซิทิลกลูโคซามีน ถูกแปลงโฉมใหม่เหลือแค่ กลูโคซามีน (glucosamine) เท่านั้น จากที่เคยเรียกว่าไคตินก็เลยเปลี่ยนชื่อเป็นไคโตซาน การหายไปของหมู่อะซิทิล ทำให้ไคโตซานมีส่วนของโมเลกุลที่แอคทีฟ และพร้อมที่จะทำ ปฏิกิริยาอย่างว่องไวอยู่หลายหมู่ หมู่ที่เด่นๆ เลยก็คือ หมู่อะมิโน (-NH2) ตรงคาร์บอนตัวที่ 2 หมู่แอลกอฮอล์ (CH2OH) ตรงคาร์บอนตัวที่ 6 และหมู่แอลกอฮอล์ที่คาร์บอนตัวที่ 3 และเพราะหมู่ที่อยากทำปฏิกิริยานี้เองที่ทำให้ไคโตซานมีโอกาสได้ฉายแววรุ่งโรจน์ในหลายๆ วงการ
ไคติน-ไคโตซานทำงานได้อย่างไร
ไคติน-ไคโตซานจะทำงานเป็นตัวสร้างตะกอนและตัวตกตะกอน ตัวสร้างตะกอนจะกระตุ้นให้เศษของเสียที่แขวนลอยๆ ในน้ำเกิดการรวมกันเป็นกลุ่มก้อน ใหญ่ขึ้นๆ และพอใหญ่มากเกินก็ตกเป็นตะกอนลงมา ส่วนตัวตกตะกอน ก็จะทำงานคล้ายๆ กันคือจะไปจับกับสารแขวนลอยในน้ำแล้วตกตะกอนลงมา โดย-ไคโตซานจะทำหน้าที่ทั้งสองแบบ ซึ่งทำได้ดีเนื่องจากมีหมู่อะมิโนที่สามารถแตกตัวให้ประจุบวกมาก จึงทำให้พวกประจุลบอย่างโปรตีน สีย้อม กรดไขมันอิสระ คอเลสเทอรอล (ในร่างกาย) ต้องเข้ามาเกาะกับประจุบวกของไคโตซาน ส่วนโลหะหนักซึ่งเป็นประจุบวกอยู่แล้ว จะจับกับอิเล็กตรอนจากไนโตรเจนในหมู่อะมิโนของไคโตซานทำให้เกิดพันธะเคมีที่เรียกว่า พันธะเชิงซ้อนขึ้นมา และจากการทดลองพบว่าหมู่อะมิโนในไคโตซานจะสามารถจับกับโลหะหนักในน้ำ ได้ดีกว่าหมู่อะซิทิลของไคติน
อาการเมื่อขาด:
ไคโตซานไม่ใช่สารอาหารจำเป็นต่อร่างกาย หรือจะพูดกันให้ถูกไคโตซานไม่นับว่าเป็นสารอาหารที่ร่างกายมนุษย์ต้องการเลย เราใช้ไคโตซานเป็นตัวเสริมในโปรแกรมการลดน้ำหนักและใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารฟังค์ชันนอลฟูด รวมทั้งใช้ในอุตสาหกรรมยาและเครื่องสำอาง แต่ไม่มีข้อมูลใดๆที่ยืนยันถึงการขาดไคโตซานเลย
ขนาดรับประทาน:
ในขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดขนาดรับประทาน หรือปริมาณที่แนะนำต่อวัน (RDA) ของไคโตซานอย่างแน่นอน แต่จากการศึกษาหลายกรณีชี้ให้เห็นว่าไคโตซาน 8 กรัม (ไคโตซานแคปซูลขนาด 250 มิลลิกรัมจำนวน 8 เม็ดต่อวัน หรือขนาดแคปซูลละ 500 มิลลิกรัมจำนวน 4 เม็ดต่อวัน) จะสามารถดูดซับไขมันได้ 10 กรัม และกำจัดออกจากร่างกายไปกับของเสีย (21)
ผลข้างเคียง:
จนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังไม่ปรากฎรายงานถึงปัญหาร้ายแรงของการใช้ไคโตซานแต่อย่างใด นอกจากนี้การศึกษาด้านพิษวิทยาของไคโตซานยังพบว่าไคโตซานมีความเป็นพิษต่ำอีกด้วย (11, 23)
ปฎิกริยากับสารอื่น:
ฤทธิ์ในการขับไขมันออกจากร่างกายของไคโตซานจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อใช้ร่วมกับวิตามินซี (2, 4) แต่การกินในปริมาณมากเกิดขนาดจะเป็นการลดการดูดกลับของเกลือแร่และลดระดับวิตามินอีในน้ำเลือด (5)
เอกสารอ้างอิง:
1. Deuchi K., Kanauchi O., Imasato Y., and Kobayashi E. Decreasing Effect of Chitosan on the Apparent Fat Digestibility by Rats Fed on a High-fat Diet. Biosci. Biotech. Biochem., 58(9), 1994: 1613-1616.
2. Kanauchi O., Deuchi K., Imasato Y., and Kobayashi E. Increasing Effect of a Chitosan and Ascorbic Acid Mixture on Fecal Dietary Fat Excretion. Biosci. Biotech. Biochem., 58(9), 1994: 1617-1620.
3. Deuchi K., Kanauchi O., Imasato Y., and Kobayashi E. Effect of the Viscosity or Deacetylation Degree of Chitosan on Fecal Fat Excreted from Rats Fed on High-fat Diet. Biosci. Biotech. Biochem., 59(5), 1995: 781-785.
4. Kanauchi O., et.al. Mechanism for the Inhibition of Fat Digestion by Chitosan and for the Synergistic Effect of Ascorbate. Biosci. Biotech. Biochem., 59(5), 1995: 786-790.
5. Deuchi K., Kanauchi O., Shizukuishi M., Kobayashi E. Continuous and Massive Intake of Chitosan Affects Mineral and Fat-soluble Vitamin Status in Rats Fed on a High-fat Diet. Biosci. Biotech. Biochem., 59(7), 1995: 1211-1216.
6. Knorr D. Functional Properties of Chitin and Chitosan. J. Food. Sci., Vol.47, 1982: 593-595.
7. LEHOUX J. and Gordin F. Some Effects of Chitosan on Liver Function in the Rat. Endocrinology., Vol.132 No.3, 1993: 1078-1084.
8. Okuyama K., Noguchi K. and Miyazawa T. Molecular and Crystal Structure of Hydrated Chitosan. Macromolecules, 30; 1997: 5849-5855.
9. Ikeda I, Tomari Y., and Sugano M. Interrelated Effects of Dietary Fiber and Fat on Lymphatic Cholesterol and Triglyceride Absorption in Rat. J. Nutr. 119; 1989: 1383-1387.
10. Knorr D. Dye Binding Properties of Chitin and Chitosan. J. Food Sci., Vol.48, 1983: 36, 37, 41.
11. Knorr D. Functional Properties of Chitin and Chitosan. J. Food Sci., Vol. 47, 1982: 593-595.
12. Ebihara K. and Schneeman B. O. Interaction of Bile Acids, Phospholipids, Cholesterol and Triglyceride with Dietary Fiber in the Small Intestine of Rate. J. Nutr., Vol.119, 1989: 1100-1106.
13. Vahouny G. V. et.al. Comparative effects of chitosan and cholestyramine on lymphatic absorption of lipids in the rat. J. Clin. Nutr., Vol. 38, 1983: 278-284.
14. Vahouny G. V. et.al. Dietary Fiber and intestinal adaptation: effects on lipid absorption and lymphatic transport in the rat. J. Clin. Nutr., Vol. 47, 1988: 201-6.
15. Razdan A. and Pettersson D. Effect of chitin and chitosan on nutrient digestibility and plasma lipid concentration in broiler chickens. J. Nutrition, Vol.72, 1994: 277-288.
16. Razdan A. and Pettersson D. Hypolipidaemic, gastrointestinal and related responses of broiler chickens to chitosans of different viscosity. J. Nutrition, Vol. 76, 1996: 387-397.
17. Razdan A., Pettersson D. and Pettersson J. Broiler chicken body weights, feed intakes, plasma lipid and small-intestinal bile acid concentrations in response to feeding of chitosan and pectin. J. Nutrition., Vol. 78, 1997: 283-291.
18. Sugano M. et.al. Anovel use of chitosan as a hypocholesterolemic agent in rats. Am J. Clin. Nutr., Vol. 33, 1980: 787-793.
19. Stasse-Wolthuis M. et.al. Influence of dietary fiber from vegetables and fruits, bran or citrus pectin on serum lipids, fecal lipids, and colonic function. Am J. Clin. Nutr., Vol. 33, 1980: 1745-1756.
20. Kay R. M. and Truswell A. S. Effect of citrus pectin on blood lipids and fecal steroid excretion in man. J. Clin. Nutr., Vol. 30, 1977:171-175.
21. Chitosan. In: Clinical Studies Compendium.
22. Fabulous Fiber In: In The Kitchen, Energy Times. June 1998: 20.
23. Arai K., Kinumaki T., and Fugita T. On the toxicity of chitosan. Bull. Toka Regional Fisheries Res. Lab.No.56, 1968: 89.
24. Shepherd R., Reader S. and Falshaw A. Chitosan functional properties. Glycoconj J. Jun 1997; 14(4): 535-42.
25. Han L.K., Kimura Y. and Okuda H. Reduction of fat storage during chitin-chitosan treatment in mice fed a high-fat diet. Biosci Biotechnol Biochem. Feb 1999; 23(2): 174-9.
26. Lee J.K., Kim Su and Kim J.H. Modification of chitosan to improve its hypocholesterolemic capacity. Biosci Biotechnol Biochem. May 1999; 63(5): 833-9.
ที่มาโดย
1. ป๋วย อุ่นใจ
2. ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ