โปรไบโอติกส์
มีความหมายว่า “เพื่อชีวิต” เป็นจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะแบคทีเรียที่ดี ยกตัวอย่างเช่น แลตโตบาซิลลัส (Lactabacillus) และไบฟิโดแบคทีเรีย (Bifidobacterium)
หน้าที่ของโปรไบโอติกส์
จะเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะบริเวณปลายลำไส้ใหญ่ โดยจะช่วยรักษาความสมดุลระหว่างแบคทีเรียดีและแบคทีเรียไม่ดี และยังช่วยขับของเสียออกจากลำไส้ ถ้าเรามีแบคทีเรียไม่ดีจำนวนมาก ร่างกายของเราจะเริ่มมีกรดและของเสียในลำไส้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นบ่อเกิดของโรคต่างๆ ได้ โดยเฉพาะในกรณีที่เราต้องกินยาปฏิชีวนะ ยาจะเข้าไปฆ่าแบคทีเรียที่ดี รวมทั้งโรคต่างๆ ด้วย ฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องเลือกรับประทานอาหารโปรไบโอติกส์ เพื่อช่วยรักษาความสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้หลังจากกินยาปฏิชีวนะเข้าไป
อาหารโปรไบโอติกส์
เป็นอาหารที่ผ่านกระบวนการหมักดอง ซึ่งกระบวนการนี้จะทำให้เกิดแบคทีเรียสายพันธุ์ดี ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายโดยเฉพาะเมื่อเรารับประทานเป็นประจำในปริมาณที่ มากพอ ในยุโรป และเอเชีย ล้วนต่างมีอาหารโปรไบโอติกส์ ซึ่งเป็นอาหารประจำชาติมาเป็นเวลานานแล้ว เช่น คนยุโรปมักนิยมบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของโปรไบโอติกส์ เช่น ชีส โยเกิร์ต และผักดอง (เช่น เซาเออร์เคราท์ของเยอรมนี) อาหารโปรไบโอติกส์ในอเมริกาก็คล้ายกันกับยุโรป ผู้คนบางส่วนจึงนิยมเลือกทานโปรไบโอติกส์ที่ทำเป็นแคปซูลสำเร็จ เพราะสะดวกต่อการบริโภคและพกพา สามารถหาซื้อได้ตามร้านขสยของเพื่อสุขภาพในเอเชียของเรา อย่างเกาหลีจะมีกิมจิเป็นอาหารประจำชาติมานานหลายร้อยปี ส่วนญี่ปุ่นกับจีนจะมีอาหารหมักหลายสไตล์ เช่น ผักเกี้ยมไฉ่ เต้าเจี้ยว สำหรับในบ้านเรา อาหารโปรไบโอติกส์ที่เป็นที่นิยมกันมานานแล้ว เช่น ข้าวหมัก ผักดอง เต้าเจี้ยว แหนม ฯลฯ
สรุปประโยชน์ของโปรไบโอติกส์ มีดังนี้
1. ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ โดยการแย่งที่เกาะหรือแย่งอาหารหรือทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม อันเป็นการช่วยลดสารพิษที่เชื้อจุลินทรีย์เหล่านั้นผลิตขึ้น
2. ผลิตสารต้านการเจริญเติบโตและตั้งถิ่นฐานของจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ
3. ผลิตเอนไซม์ที่มีผลในการทำลายสารพิษในอาหาร หรือที่เชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นโทษผลิตขึ้น
4. กระตุ้นในเกิดภูมิต้านทานต่อโรคของสัตว์
5. ผลิตเอนไซม์ช่วยย่อยอาหารเพิ่มเติมให้แก่สัตว์
ที่มา http://vitaminworld.exteen.com/20091024/probiotic-acidophilus