วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ปลาตาปูดโปน Glubschaugen

สวัสดีครับเพื่อนๆผู้รักปลาคาร์ฟทุกท่าน


เพื่อนๆเคยลองสังเกตปลาคาร์ฟของเรากันบ้างไหมครับ


ว่ามีอาการผิดปกติอะไรหรือไม่


ที่ผมถามแบบนี้เพื่อให้เพื่อนๆลองสังเกตปลาของเรา
ดูว่ามีอาการของโรคบ้างไหม



และอาการที่เราพบบ่อย นอกจากพวกปรสิต


หรือแบคทีเลียแล้ว อีกอาการผิดปกติ


ที่เราพบบ่อยๆ คือ ตาปู นั่นเองครับ


สาเหตุของปลาตาปูดโปน


เรามาลองดูสาเหตุของโรคนี้กันดีไหมครับ


โรคนี้แบ่งเป็น 2 สาเหตุใหญ่ๆครับ


คือเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม


และเกิดจากการที่ปลาได้รับอาหารที่มีโปรตีนสูงเป็นเวลานาน


ผมแนะนำให้เพื่อนๆให้อาหารโปรตีนสูง


ในช่วงอุณภูมิที่เหมาะสม คือ 20-30 องศาเซลเซียส


ประกอบกับมีการสลับ


อาหารโปรตีนต่ำบ้าง เช่น พวกวีทเจิม


เอ...แล้วทำไม


อาหารโปรตีนสูงจึงทำให้ปลาตาโปนได้


เพื่อนๆหลายท่านคงสงสัยกันอยู่ใช่ไหมหละครับ


ผมของเล่าให้ฟังง่ายๆครับ


การที่ปลาได้รับอาหารที่มีโปรตีนสูงเป็นเวลานาน


จะทำให้ไตทำงานหนัก และความดันโลหิตสูง


เบื้องต้นปลาจะมีอาการบวมน้ำ


แต่ช่วงนี้เราจะสังเกตค่อนข้างยากเพราะบางครั้ง


มันแยกไม่ออกระหว่างปลาอ้วนล้ำ กับปลาบวมน้ำ


แต่เมื่ออาการหนักขึ้น


เราจะพบว่าตาของปลาจะข้างเดียว หรือสองข้าง


มันจะเริ่มปูดขึ้นมา แต่อาจไม่มาก


เรามักมองตาของมันเหมือนตากบ


แต่เมื่อตาของปลาถูกปรสิตโจมตีน


หรือมีอาการติดเชื้อจากแบคที่เลียร่วมด้วย


ตาของมันจะโปนขึ้นมาเหมือนปลาทองรักเล่


ดูภาพประกอบนะครับ


แบบนี้ถือว่ารุนแรง แค่ยังไม่ที่สุด


เพราะอาการที่รุ่นแรงกว่านี้ปลาจะเกล็ดพอง


ท้องปวมร่วมด้วย ถ้ามาถึงตรงนี้คง


จะรักษายากแล้ว โอกาสสูญเสียสูงครับ


เป็นไงครับน่ากลัวไหมโรคนี้


วีธีป้องกัน


เรามาเรียนรู้วีธีป้องกันดีไหมครับ


ง่ายที่สุดคือการสลับสูตรอาหารของปลาบ้าง


เท่านั้นเองครับ


หรือถ้าอยากเลี้ยงแบบสะดวกสบาย


ก็ใช้สูตรพื้นฐาน โปรตีนไม่เกิน 38% ก็พอ


อย่างไรก็ดีไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ


เพราะถึงแม้ว่าเราจะปรับสูตรอาหารแล้ว


โอกาสของก็ยังคงมีอยู่เพราะว่า


โรคนี้ส่วนหนึ่งได้รับการถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม


แล้วเราจะรักษาได้อย่างไร


แช่เกลือครับ มีดังนี้ครับ


20 กรัมต่อลิตร แช่นาน 10 นาที


5 กรัมต่อลิตร แช่นาน 1 สัปดาห์


เพื่อนๆสามารถเลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่งนะครับ


ข้อมูลอ้างอิง