วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

บ่อ mio (บ่อกรอง)

สวัสดีครับเพื่อนๆ มาตามสัญญาครับ
วันนี้เราจะมาคุยเจาะลึกถึงเรื่องบ่อกรองของบ่อ mio
ก่อนอื่นเรามาดูระบบของบ่อ mio
ระบบกรองของบ่อผมเป็น แบบ Up down forward
หรือ ระบบน้ำมุดน้ำรอด แบ่งการทำงานของกรองเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ
.....
กรองกายภาพ Mechanical filter
เป็นการกรองเศษอาหาร และขี้ปลา
เพื่อให้ตะกอนหนัก ตกตะกอนอยู่ในช่วงนี้ให้มากที่สุด
......
กรองชีวภาพ Bio filter
เป็นการกรองโดยอาศัยแบคทีเลียที่อาศัยอยู่ในมีเดีย
ทำหน้าที่เปลี่ยนแอมโมเนียให้เป็น ไนไตร และสุดท้ายเป็นไนเตรท
จากแบบจะเห็นว่าบ่อกรองของผม
มีกรองชีวภาพ Bio filter เป็นส่วนใหญ่
หรือประมาณ 80% ของระบบกรอง
ทั้งนี้ เพราะผมอยากให้น้ำในระบบได้รับการบำบัดให้มากที่สุด
เพื่อสุขภาพของปลาที่รักครับ
ช่องแรกผมใช้พู่กรองเรียง 4 แถว
แถวละ 10 อันตะกอนหนักส่วนใหญ่จะอยู่ในช่องนี้ครับ
ช่องที่ 2 ของผมทำเป็น Moving bed ผมใช้ KK-1 เป็นมีเดีย
ดูรายละเอียดการทำงานของระบบนี้ได้ที่
http://www.koi-keeper.net/index.php?topic=1634.0

ช่องที่ 3 Fix bed ผมใช้ JFM และ Bio ball เป็นมีเดีย
จากนั้นที่กรองช่องสุดท้ายน้ำจะถูกแยก 2 ส่วน
ส่วนนึ่งกลับเข้าบ่อเลี้ยง และอีกส่วนจะถูกสูบขึ้น Bakki shower

หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.makc.com/bakki.pdf
ดูคลิบวีดีโอ Bakki shower
http://www.youtube.com/watch?v=LLArP0p8V_Q
ที่ บักกิชั้นสุดท้ายผมใส่ REFRESH SOLID
ซึ่งเป็นโคลนธรรมชาติ Montmorillonite
มีคุณสมบัติดูดซับของเสียและกลิ่นเสียในระบบ
ในขณะเดียวกันก็ปลดปล่อยแร่ธาตุธรรมชาติ
ในดินจากแหล่งภูเขาไฟในประเทศญี่ปุ่น
ช่วยคืนแร่ธาตุความเป็นธรรมชาติให้บ่อปูนในระบบปิด
เมื่อเราวางแผนเรื่องระบบกรอง และเลือกชนิดมีเดียที่จะใช้เสร็จแล้ว
เรามาดูขั้นตอนในการก่อสร้างบ่อกรองของผมบ้างดีกว่าครับ
เริ่มจากหาตำแหน่งวางท่อสะดือบ่อกันก่อนครับ

ใช้อิฐมอลก่อแนวบ่อกรองตามรูปเลยครับ
จำได้ว่าวันที่ถ่ายรูปนี้ผมกลับจากไปเยี่ยมพี่โฟล์คที่บ้านครับ
นานแค่ไหนก็ยังประทับใจครับ
ที่กรองช่องแรกเป็นจุดรวมของท่อสะดือบ่อทั้ง 3 อัน
และท่อสะดือบ่อกรองทุกๆช่องครับ
น้ำที่จะผ่านไปช่องกรองอื่นต้องผ่านท่อ PVC
ขนาด 4 นิ้ว จำนวน 6 อัน ตามภาพครับ
เนื่องจากตอนที่ผมทำบ่อยังไม่ค่อยเข้าใจ
ว่าบ่อเกอะมันคืออะไร มีไว้ทำไม ตอนนั้นไม่กล้าถามพี่หนึ่ง 2P
ก็เลยวางท่อสะดือบ่อกรองแบบที่เห็นนี่แหละครับ
ไม่ค่อยสะดวกเวลาล้างกรองครับ
ถ้าจะให้ดีกว่านี้...เพื่อนๆควรมีบ่อเกอะ
และว่างท่อสะดือบ่อช่องละ 1 อัน แยกอิสระ
เพื่อที่ว่าเมื่อเราต้องการล้างกรองช่องใด
ก็ดึงท่อช่องกรองช่องนั้น วิธีนี้จะช่วยให้การล้างกรองง่ายขึ้นครับ
ที่ผนังของบ่อเลี้ยงช่างได้เสียบเหล็ก
สำหรับยึดผนังบ่อกรองตามรูปครับ
จากนั้นเมื่อเราก่อผนังบ่อกรองก็จะผูกเหล็ก
เพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับบ่อกรอง
ค่อนข้างสำคัญนะครับ ห้ามลืมนะครับ
ที่ผนังบ่อกรองในช่วงบน ช่างเค้าเอาเหล็กเส้นมาวาง
และยึดติดกับผนังของบ่อเลี้ยง
เพื่อช่วยเสริมความแข็งแรงให้โครงสร้างของบ่อกรอง
ดูอีกกันทีครับ
เริ่มเป็นรูปเป็นร่างแล้วครับเพื่อนๆ
จับเซี่ยมจับฉากแต่งให้เรียบร้อยครับ
จากนั้นก็ฉาบผนังให้เรียบร้อยครับ
อย่าลืมทำบ่ารองรับมีเดียด้วยนะครับ
กรองช่องแรกครับ
จากนั้นก็ทาสีเคลือบบ่อ แนะนำให้ใช้สีขาว หรือสีฟ้า
เพื่อเราจะดูว่าล้างกรองสะอาดหรือป่าวนะครับ
เสร็จแล้วครับ...รอให้สีแห้งดีๆซะก่อนนะครับ
กรองช่องแรก
เมื่อเราประกอบท่อต่างๆลงไปดูแปลกตาขึ้นมาทันทีครับ
กรองช่องอื่นๆครับ ในภาพจะเห็น Protin skimmer
ซึ่งเดี๋ยวผมจะมาเล่าให้ฟังกันอีกทีนะครับ
ไม้ฝากรองเวอร์ชั่นแรก
ซึ่งเป็นไม้บางๆน้ำหนักเบาเพราะตอนนั้นผมทำเป็นชุด
เพื่อให้ง่ายเวลาที่เราเปิดฝาบ่อกรองครับ
แต่ปัจจุบันผมเปลี่ยนเป็นไม้เนื้อแข็ง
ยกเป็นแผ่นๆแบบนี้แข็งแรง และง่าย
กว่าแบบตอนแรกเยอะเลยครับ เหอะๆ
วันนี้พอเท่านี้นะครับง่วงนอนแล้วครับ
เดี๋ยวสัปดาห์หน้าเรามาคุยกันเรื่อง Protin skimmer นะครับ