วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2554

Motoguro

Motoguro คือ สีดำบริเวณครีบอกของปลาคารฟ
มีในโชว่า และชิโร่ พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปตาม
ระยะเวลาที่แตกต่างกัน





Motoguro เรามักใช้ในการดูพัฒนาการของสีดำ
เมื่อโมโตกุโร่วิ่งถึงปลายครีบแสดงว่า
ดำในปลาตัวนั้นพัฒนาเสร็จสมบูรณ์แล้ว
อย่างไรก็ดี โมโตกุโร่ไม่จำเป็นต้องมีทั้ง 2 ข้างก็ได้
หรือไม่มีก็ไม่เป็นไร เพราะการดูคุณภาพสีดำ
สามารถดูได้จากลักษณะดำบนตัวปลาก็ได้ครับ

ปลาหัวครอก 3

วันที่ 11 พฤษภาคม 2552
ภาพลูกปลาหัวครอก ตอนนี้เหลือ 9 ตัว
แต่ดูได้แค่ 1 ตัวเท่านั้นเองครับ
ขนาดลูกปลาประมาณ 8-10cm ครับ
เจ้า mio






โปรดติดตามตอนต่อไปนะครับ

ปลาหัวครอก 2

วันที่ 26 เมษายน 2552
ผมถ่ายภาพลูกปลากลุ่มเติบโตดี
หรือที่เรามักเรากันว่าเป็นปลาหัวครอก
มาให้ดู ตอนนี้รู้สึกว่าส่วนใหญ่จะเป็นพวก
เบ๊กโกะกันนะครับ ทั้งเบนิเบ๊กโกะ และชิโร่เบ๊กโกะ

ตัวนี้ให้ชื่อว่า mio ครับ







โปรดติดตามตอนต่อไปนะครับ

วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

พัฒนาการ

เอาหละครับเพื่อน
อุบัติเหตรักได้มาถึงตอนสุดท้ายแล้วนะครับ หลังจากคัดลูกปลาหลายรอบ
จนเหลือลูกปลาเพียง 1 ตัว ที่เก็บไว้ศึกษา
เพื่อดูพัฒนาการของมัน ผมให้มันชื่อว่า Mio 2ครับ

จากภาพเอนๆ คงพอเห็นความเปลี่ยนแปลงของมันได้ดี
ดดยเฉพาะซูมิ และเบนิ ที่เปลี่ยนแปลงอบ่างมาก
ขนาดลำตัวที่ผมวัดครั้งสุดท้าย คือ 25 cm
มีแนวโน้มว่าเป็นเพศผู้ครับ
จากนั้นผมได้มอบมันให้กับพี่หนึ่ง

ซึ่งผมเคบเขียนบล็อกเรื่องแวะเยี่ยมเพื่อนเก่าไปแล้วตามลิ้งก์นี้

http://koi-mio.blogspot.com/2008/12/blog-post_30.html

เนื่องในโอกาสพิเศษอีกครั้งหวังว่าปัจจุบันมันคงอยู่กับพี่หนึ่งนะครับ
ผ่านมาถึงวันนี้ก็จะครบ 2 ปีแล้ว ไม่รู้จะเป็นอย่างไรบ้าง
ถ้าผมมีโอกาสแวะไปบ้านพี่หนึ่งจะถ่ายภาพมาอัพเดทกันครับ
สวัสดี

แตกต่าง

วันที่ 2 เมษายน 2552
ลูกปลามีความแตกต่างกันอย่างมากครับ
ในภาพเป็นลูกปลากลุ่มเติบโตดี
มีความแข็งแรง ว่ายน้ำได้ดี
เริ่มมองลวดลายบนตัวปลาได้บ้างแล้ว
น่ารักครับ
เรามาดูกลุ่มที่เติบโตปานกลาง
ลักษณะจะเกือบๆเมือนกลุ่มแรก
เพียงแต่ลูกปลามีขนาที่เล็กกว่า

ซูมมาดูใกล้ๆครับ

กลุ่มสุดท้าย...เป็นกลุ่มที่เติบโตช้า
อันที่จริงมีพวกที่ช้ากว่านี้อีกนะครับ
เพียงแต่ ผมโล๊ะพวกมัน
ไปอยู่กับปลาหางนกยูงหน้าบ้านแล้วเท่านั้น
ดูแลไม่ไหวครับแฮะๆ
โปรดติดตามตอนต่อไปนะครับ

ปลาหัวครอก 1

วันที่ 25 มีนาคม 2552
เรามาดูกลุ่มลูกปลาที่มีอัตราการเติบโตดี
ซึ่งมีจำนวนประมาณ 10 ตัว ตอนนี้ลูกปลามีขนาดลำตัวยาวประมาณ 1.5-2 cm
ลักษณะดูเหมือนปลาคารฟขึ้นมาบางแล้วครับ
จากภาพจะเห็นว่าลูกปลากำลัง
หากินเศษอาหารตามก้นบ่อยางกันอยู่
โฉมหน้าลูกปลาที่มีอัตราการเติบโตดี








จากภาพจะเห็นว่ามีปลาพิการ(หางคด)
รวมอยู่ด้วย เป็นอาการพิการที่พบบ่อย
และอีกอาการหนึ่งคือเหงือกผิดรูป
ส่งผลให้หัวของลูกปลาดูแปลกๆ
โปรดติดตามตอนต่อไปนะครับ