วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เลือกโอกอน

เจ้าปลาน้อยสีเหลืองทองตัวนี้ ก็คือ โอกอน
อันที่จริงแล้วโอกอนเป็นชื่อเรียกปลากลุ่ม Hikari-mujimono
ซึ่งเป็นกลุ่มปลาสีเดียวที่มีผิวมันวาว
ใกล้เคียงกับปลากลุ่ม Hikari-moyomono
ซึ่งเเป็นกลุ่มปลาที่มีมากกว่า 1 สีและมีผิวมันวาว
เรามาดูและรู้จักโอกอนกันนะครับโอกอน มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า
ยามาบูกิ โอกอน
แปลว่ากุหลาบเหลือง
ในบ่อเลี้ยงของพวกเรา
นอกจากจะมีสีแดง สีขาว และสีดำ
สีเหลืองทอง หรือสีทองคำขาว
เป็นอีกสีที่น่าสนใจ
แพททินัม เป็นชื่อเรียกโอกอนสีขาว
เหมือนทองคำขาว สำหรับท่านที่สนใจเรื่องฮวงจุ้ย
คงชอบที่จะมี โอนกอน เหล่านี้แน่ๆครับ
ตัวนี้ไม่ใช่แพททินัมนะครับ
เราเรียกตัวนี้ว่า "กินมัจจึบะ" กิน แปลว่าเงิน
เราแยกปลาพวกที่ลักษณะเกล็ดของมันครับ
มัจจึบะ คือ ปลาที่มีเกล็ดลักษณะเหมือนตาข่าย
สีแดงเรียกว่า "อะกา มัจจึบะ"
อะกา แปลว่า สีแดง ครับ
คราวนี้มาเราดูเรื่องการเลือกโอกอนกันครับ
ผู้ที่ให้ความรู้ใหม่กับผมสำหรับการเลือกโอกอนครั้งนี้
คือ อาจารย์ชัย แต้วณิชเจริญ
มารู้อาจารย์ชัยมากยิ่งขึ้นได้ที่ลิ้งก์นี้ครับ
สำหรับการเลือก โอกอน ครั้งนี้ เรามาพิจารณาจาก
เมื่อครั้งที่ อาจารย์แกะ อาจารย์หนึ่ง
พี่บอย พี่เอส และเฮียคิงคอง
ไปเลือกโอกอน ของซาไก ที่เพิ่งเข้ามาใหม่
จากจำนวนร้อยกว่าตัว
เบื้องต้นอาจารย์ชัย
ลองให้พี่ๆเลือกโอกอนที่ตัวเองชอบขึ้นมาก่อน
จากนั้น อาจารย์ชัยจึงเลือกโอกอนที่อาจารย์คิดว่าดีขึ้นมา 1 ตัว
พร้อมทั้งชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของโอกอนตัวนั้น
นี่คือ โอกอน ตัวที่อาจารย์ชัย
เลือกขึ้นมาให้ดูครับ
เพื่อนๆ มองออกไหมครับว่า
โอกอนตัวนี้มีอะไรแตกต่างจากตัวอื่นๆ
อาจารย์ชัย ได้กล่าวตอนหนึ่งในระหว่าง
การสัมมนาของชาว Koi-Keeper เกี่ยวกับการเลือกโอกอน
และการเลือกปลากลุ่ม ฮิคาริ (ผิวมันวาว)
"นอกจากหัวเนียร ครีบมันสมบูรณ์แล้ว"
"นอกจากโครงสร้างที่ดีแล้ว"
"เราจะพิจารณากันลึกไปกว่านั้น
แล้วอะไรหละที่เราต้องพิจารณากันต่อไป?"
"อะไรกันนะ"
"?????"
" นั้นก็คือ...เราจะพิจารณากันที่ผิวของปลา
ว่ามีความมันวาวไหม ยิ่งมันวาวยิ่งดี" อาจารย์ชัยกล่าวต่อไปว่า
เพราะเมื่อโอกอนที่มีผิวมันวาวโตขึ้น
เนื้อมันจะเป่งออก
โอกอนที่มีผิวมันวาว
จะโชว์ความสวยงามได้ดีกว่าโอกอนที่ผิวไม่มันวาว
เกณฑ์ในการเลือกความมันวาวนี้
สามารถใช้กับปลาประเภทฮิคาริกลุ่มอื่นด้วย
มาพิจารณากันใกล้ๆ
มองเห็นความมันวาวไหมครับเพื่อนๆ
นอกจากความมันวาวของผิวปลาแล้ว
การเลือกโอกอนควรเลือกโอกอนที่มีสีสม่ำเสมอ
ต้องไม่ติดกิริน...พอมองเห็นไหมครับ
เกร็ดกินรินใกล้ครีบหลัง
นี่ก็เป็นตัวอย่างของโอกอนอีกตัว
ที่มีสีไม่สม่ำเสมอ
โอกอนตัวนี้ถึงแม้จะมีผิวมันวาว
แต่โทนสีไม่สม่ำเสมอจะทำให้สวยน้อยลง
เพื่อนๆคงได้รับความรู้จากที่อาจารย์ชัย
ได้เผยแพร่ให้กับพวกเราบ้างแล้ว
ซึ่งผมประทับใจในน้ำใจของอาจารย์ชัย
ที่เสียสละเวลามาให้ความรู้แก่พวกเราครับ
เพื่อนๆสามารถสืบค้นความรู้จากอาจารย์ชัย ได้ที่
สุดท้ายนี้ เจ้าโอกอนน้อยๆที่เราเลือกมาเลี้ยง
อาจจะไม่ได้สวยสมบูรณ์แบบตามที่กล่าวมา
หากเรามีความสุขกับมัน นี่คือโอกอนที่สวยที่สุดสำหรับเราครับ
ปล.โอกอนตัวนี้เคยเป็นของผมเอง
ทั้งสีไม่สม่ำเสมอ ไม่มีความมันวาว และติดแดง
แต่ผมก็ชอบมันครับ

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Bekki Shower

สวัสดีครับเพื่อนๆ ตามที่เคยบอกไว้เมื่อคราวก่อน
ว่าเรื่องต่อไปเราจะมาคุยกันเรื่อง Bekki Shower เรียกสั้นๆว่า "บักกิ"
เจ้าบักกินี้ถูกคิดค้นขึ้นโดย Michio Maeda
เจ้าของฟาร์ม โมโมทาโร่ ผู้ผลิตปลาไซด์จัมโบ้
อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับโมโมทาโร่เพิ่มเติมได้ที่ลิ้งก์นี้
หลักการทำงานของเจ้า"บักกิ"
คือการให้น้ำไหลผ่านอากาศและมีเดี่ย
ด้วยสมมุติฐานที่ว่าน้ำไหลผ่านอากาศ
จะช่วยเพิ่มอ๊อกซิเจนให้กับระบบ
พร้อมกันกับการลดอุณหภูมิของน้ำให้ต่ำลง
ขณะเดียวกันที่น้ำไหลผ่านอากาศ
อากาศจะช่วยระบายกาสไขเน่าออกไปด้วย
ภายในชั้นของเจ้าบักกิ
จะมีการใส่มีเดี่ย ประเภทไบโอมีเดี่ย
เพื่อให้เป็นที่อาศัยของแบคทีเรีย
ซึ่งทำหน้าที่ในการเปลี่ยนแอมโมเนี่ยให้เป็นไนไตร
โดยแบคทีเลียที่ชื่อว่า Nitrosomanas
และแบคทีเรียอีกประเภทคือ Nitrobactor
เปลี่ยนไนไตรให้เป็นไนเตรท
ซึ่งไนเตรทนี้เองที่พืชสามารถดูดซึมไปใช้
อยู่ในรูปโปรตีนของพืช
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวัฎจักรไนโตรเจนได้ที่
บักกิจะ 3 ชั้น 4 ชั้น
ก็มีหลักการทำงานเดียวกันตามที่ได้กล่าวมา
แต่ประสิทธิภาพของบักกิ 4 ชั้นย่อมดีกว่า 3 ชั้นแน่นอน
เพราะมีผิวสัมผัมสำหรับเป็นที่อยู่ของแบคที่เรียมากกว่า
มีเวลาที่น้ำได้สัมผัสอากาศมากกว่า
ชมภาพการทำงานของบักกิได้ที่ลิ้งก์นี้
สิ่งที่คาดหวังว่าจะได้รับจากเจ้าบักกิ
ก็คือการเพิ่มคุณภาพให้แก่น้ำ
เนื่องจากเราเลี้ยงปลาในระบบปิด
มลพิษในน้ำจึงสะสมได้ง่าย
การใส่ใจในเรื่องคุณภาพน้ำจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
ดังคำกล่าวของพี่อ้วน สย่ามโค่ย ที่ว่า
"จะเลี้ยงปลาต้องเลี้ยงน้ำให้เป็นเสียก่อน"
เป็นยังไงกันบ้างครับเพื่อน
ผมหวังว่าพวกเราคงมีความเข้าใจเกี่ยวกับเจ้าบักกิเพิ่มขึ้นนะครับ
ภาพเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากพี่โฟร์ค
โดยการส่ง CD มาให้ ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ครับ

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สวนรอบบ่อสไตร์ญี่ปุ่น

หัวข้อนี้จัดให้ตามคำขอของพี่โจ๊ก
พี่ชายผู้รักครอบครัวจากโคราชครับ
เพื่อเป็นทางเลือกในการสร้างบ่อใหม่บ่อสไตร์ญี่ปุ่นเป็นการผสมผสาน
ระหว่างศิลปแบบญี่ปุ่นกับธรรมชาติ
ดูกลมกลืน เข้ากับบ่อปลาคารฟ
จะเห็นว่าต้นไม้สไตรญี่ปุ่นจะหนักไปทาง บอนไซ ไม้ดัด
ซึ่งไม่ต้องห่วงเรื่องใบไม้ตกลงบ่อ
เข้ากับบุคลิกคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่
กล่าวคือ เรียบง่าย สงบ สะอาดเป็นระเบียบ
บ่อเล็กใหญ่ไม่ใช่เรื่องสำคัญเท่ากับคุณค่าที่เราได้รับจากมัน
และสำคัญไปกว่านั้นบ่อปลา เป็นสิ่งที่มีไว้พักผ่อน
จึงไม่ควรใหญ่โตจนดูแลลำบาก
ขนาดที่เหมาะสมน่าจะอยู่ในช่วง 30-60 ตัน
เพื่อให้ง่ายในการดูแลบ่อ และดูแลคุณภาพน้ำ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า
ความปรารถนาดีจากผมนี้
จะมีประโยชน์สำหรับเพื่อนๆทุกท่านที่
กำลังสนใจอยากมีบ่อ มีสวนรอบบ่อนะครับ
อีกอย่างที่อยากฝากไว้สำหรับการสร้างบ่อ
คือต้องละเอียดรอบคอบ และใจเย็น
ไม่ต้องเร่งรีบที่จะให้บ่อเสร็จภายในไม่กี่วัน
ที่ผมจะบอกคือเรื่องของการบ่มปูน
มีประโยชน์อย่างไรลองแวะไปอ่านตามลิ้งก์ที่ให้นี้นะครับ
http://www.koi-keeper.net/index.php?action=felblog;sa=view;cont=247;uid=50
เพราะบ่อเป็นการก่อสร้างที่ไม่ควรมีรอยร้าวใดๆเลย
เนื่องบ่อต้องรองรับน้ำซึงรอยร้าวเพียงเล็กน้อย
ก็สามารถสร้างปัญหาใหญ่ให้เราได้
น้ำตกสไตร์ธรรมชาติแบบญี่ปุ่น
เป็นเหมือน Bakki shower ดูข้อมูลเพิ่มได้ที่ลิ้งก์นี้
http://www.youtube.com/watch?v=Q1BG_4r7ahc
แต่ในที่นี้เป็นสไตร์ธรรมชาติ
ตอนต่อไปผมจะเล่าให้ฟังถึง Bakki Shower ครับ
รอชมตอนต่อไปนะครับ

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

หนังสือ Parent Koi 2008-2009

หนังสือเล่นนี้ได้รับการสนับสนุนจาก
Joekoikishi
ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ครับ