วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

The 1st Koi Keeper.net Charity Koi Show

กลอนดีๆ จากคุณ Leo(พัฒน์)
หนึ่งพฤศจิกาส่งปลามาประกวด

มิใช่อวดแต่อยากช่วยด้วยกุศล
บ้านครูน้อยดูแลเด็กยากจน
ให้หลุดพ้นความทุกข์ได้สุขสบาย
งานเริ่มต้นคนส่งปลามากันหมด

หลายคันรถหลั่งล้นมาไม่ขาดสาย
งานเดินได้ไปด้วยดีมิวุ่นวา

เกินบรรยายหาคำใดมาพรรณา
เก้าสิบกว่าส่งปลามากันเหลือล้น

ขนกันจนแน่นเวทีดีหนักหนา
ไหนบอกว่าส่งเล่นเล่นสบายตา

แต่ทว่าปลาเหลือร้ายคล้ายเอาจริง
รับค่าสมัคร ตักอาหาร ทานอร่อย

ได้พี่น้อยช่วยจัดหามาหลายสิ่ง
ของบริจาค ปลาประมูลมากจริงจริง

ยอดเงินวิ่งถึงแสนสี่มีเข้ามา
อยากบอกว่างานแบบนี้มีไม่บ่อย

คนกลุ่มน้อยร้อยใจช่วยด้วยอาสา
ทำด้วยจิต คิดกุศล ล้นเมตตา

งานออกมาจึงสำเร็จเสร็จสมบูรณ์
อยากบอกว่างานแบบนี้มีคุณค่า

สิ่งที่ร่วมทำกันมามิสาบสูญ
เป็นสังคมอุดมด้วยการเกื้อกูล

จักเพิ่มพูนจิตไมตรีดีต่อกัน
อยากบอกว่างานนี้ดีที่มีเพื่อน

ดั่งเสมือนฟ้าส่งให้ได้ของขวัญ
เพื่อนมนู พี่น้อย คอยแบ่งปัน

น๊อตขยัน ทั้งน้อยหน่าน่าชื่นใจ
คุณเต่าช่วยปรึกษามาตลอด

ไม่เคยทอด-ทิ้งร้างห่างไปไหน
เฮียซ้งช่วยหนุนสร้างไม่ห่างไกล

พี่คองก็เต็มใจที่จะมา
อีกทุกท่านที่ช่วยเหลือสนับสนุน

ขอขอบคุณที่การุณเป็นหนักหนา
ยากจะหาคำมาเปรียบ-เทียบออกมา

คงตรึงตราอยู่ในใจไม่รู้ลืม
สิ่งสำคัญคือ
เราจะดูแลรักษาสังคม koi-keeper แห่งนี้
เพื่อให้เป็นสังคมแห่งการให้ ช่วยเหลือเกื้อกูล
ทำเพื่อคนเลี้ยงปลาจริงๆ

และเผื่อแพร่ไปยังส่วนรวม กันอย่างไร
....
ขอบคุณทุกท่านที่ร่วมแรงร่วมใจกัน

จนทำให้งานประกวดปลาครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีครับ
สรุปยอดเงินที่ทางชมรม Thai Koi Keeper Group
สามารถรวบรวมได้เพื่อมอบให้แก่ มูลนิธิบ้านครูน้อย
เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น140,000 บาท

อ่านเพิ่มเติมได้ใน

ฤดูปลาเข้า

สวัสดีครับเพื่อนๆ
ช่วงนี้เริ่มมีข่าวดี จากฟาร์มต่างๆ กันบ้างแล้ว
ข่าวดีที่ว่านั้นคือ ข่าวปลาเข้านั่นเองครับ
....
เท่าที่ทราบตอนนี้ก็มี 2 ฟาร์ม
ที่ปลาจะเข้าครับ
ฟาร์มแรกคือ ไทยนิปปอน ฟิชฟาร์ม
ดูรายละเอียดตัวอย่างปลาเข้าได้ที่
ปลาน่าจะเข้าช่วงวันที่ 20 พย. 2552 นี้ครับ
....
ฟาร์มที่สองคือ วีคาร์ฟ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
ปลาเข้าวันที่ 14 พย. 2552 นี้ครับ
ขอฝากเตื่อนกันไว้หน่อยครับสำหรับคนที่จะซื้อปลา
เป็นไปได้ลองติดต่อสอบถามทางฟาร์มได้เลยโดยตรง
หรือไปดูปลาพร้อมเพื่อน(เพื่อนจริงๆไม่ใช่พ่อค้า นายหน้า)
อ่านนี่อีกครั้งนะครับ
ผมก็ช่วยพวกเราได้เท่านี้แหละครับ
สวัสดีครับ

วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เก้าแต้ม

"เก้าแต้ม" คือชื่อของซาไกซันเก้ตัวนี้
ผมได้รับความอนุเคาระห์จากพี่โจ้ยุกยิก
ในการไปคัดเลือกปลาโทไซซาไกที่เข้ามาเมื่อช่วงต้นปี52
ชุดนี้ผมซื้อมาด้วยกัน 10 ตัว
ในใจผมคิดว่าเอามาเลี้ยงเล่นๆครับ
จากนั้นค่อยๆคัดออกไปเรื่อยๆ
มีปลาพิการ 1 ตัว โดดออกมาตาย 2 ตัว ปลาสีหลุด 2 ตัว
ยกให้อั๋นไปเลี้ยง 1 ตัวในโอกาสที่เพื่อนแต่งงาน หายสาบสูญ 1 ตัว
แบ่งให้แจ๊ค และพี่น้อยไปเลี้ยงคนละตัว (2 ตัว)
เหลือเจ้าเก้าแต้มเพียงตัวเดียวที่ผมยังเก็บไว้ดูพัฒนาการมันต่อไป
....
ที่มาของชื่อ "เก้าแต้ม" เพราะเจ้าตัวนี้มันมีเม็ดดำขึ้นเป็นจุด
ทั่วตัวประมาณ 9 ตำแหน่ง (ต่อไปอาจมากกว่านี้)
ผมจึงให้มันชื่อว่าเก้าแต้มน่ารักดีครับ
....
ปลาตัวนี้มีผืนแดง(Hi ฮิ) ที่ค่อนข้างใหญ่
จนดูทึบเกินไป จัดอยู่ในกลุ่มอะกาซันเก้
แต่ผมก็ยังชอบในความสม่ำเสมอของผืนแดง
ความคมชัดของ คิว่า ซาชิ
โดยเฉพาะคิว่าที่บริเวณหัว
....
คุณภาพของดำ(Sumi ซูมิ)
เท่าที่เห็นบ้างแล้วบางเม็ดที่ขึ้นมา
เป็นดำมีความมันเคลือบอยู่
ช่วยทำให้ปลาน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
....
พัฒนาการของปลาตัวนี้นั้น
ในตอนแรกดูเหมือนดำจะเยอะ
แต่เมื่อปลาโตขึ้นดำกลับดูหดเล็กลง
ที่น่าสังเกตคือ โมโตกุโร่(ดำที่ครีบอก)
เป็นก้อนดำ ไม่เป็นเส้นเหมือนซันเก้ทั่วไป
ซึ่งผมเองก็ไม่ทราบว่าต่อไป
ลัษณะดำจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
นอกจากนั้นหากเราพิจารณาด้านโครงสร้างของเจ้าเก้าแต้ม
จะเห็นว่ามีความสมส่วนดี ซึ่งผมเองพอใจมาก สุดท้ายแล้วเจ้าเก้าแต้มจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรต่อไปนั้น
ผมจะมาอัพเดทให้พวกเราได้ดูกันต่อไปครับ
สวัสดีครับ

"Sansumi"

"Sansumi" คือ ชื่อของเจ้าชิโร่จากคาเนโกะตัวนี้เองครับพี่น้อง
เป็นโทไซนำเข้าเมื่อตอนต้นปี 52 นี้เองครับ
โดยสมายโค่ย ฟาร์ม คนคัดปลาให้ผมก็คือน้องการญ์ครับ
ข้างล่างนี้คือภาพตอนที่ "เจ้าซานซูมิ" อยู่ที่ฟาร์ม
ขนาดตอนนั้นน่าจะประมาณ 20 cm ครับ
ชอบที่ลักษณะดำ และผิวขาวใสๆ ของมันครับ
....
นี่เป็นพัฒนาการในช่วงระยะเวลา 6 เดือนครับ
โตเพิ่มขึ้นมา 24 cm โดยประมาณ
สำหรับเจ้าตัวนี้ผมชอบที่ลักษณะดำ
แบบ Asagi sumi สืบค้นข้อมูลได้ที่
มาพิจารณาลักษณะดำของเจ้าซานซูมิกันใกล้ๆครับ
จะเห็นว่าดำบางส่วนที่ขึ้นมาให้เราเห็นแล้วนั้น
เป็นตัวอย่างของดำที่จะมาในอนาคต
มีความมันเงาที่ดี โทนสีเข้ม ทำให้เจ้าชิโร่ตัวนี้
มีอะไรให้พวกเราติดตามกันต่อไป
นอกจากนั้นดำของเจ้าซานซูมิยังรวมกันเป็นกลุ่ม
ไม่มีดำลักษณะที่เรียกว่าดำฝุ่นให้เห็นอีกด้วย
ผมพอใจกับโครงสร้างโดยรวมของมัน
ตอนนี้เท่าที่สังเกตเห็นเพิ่มขึ้นมา
คือ แนวสันหลัง หรือเรียกว่าบรีดแบล็ค
ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่าปลามีการพัฒนาด้านโครงสร้าง
ในด้านกว้างเพิ่มมากขึ้น
สำหรับคุณภาพผิวขาวนั้นกลางๆ
แต่ผมก็ไม่ค่อยห่วงสักเท่าไรกับผิวขาว
เพราะถ้ามันเป็นตัวเมีย
ก็คงจะไม่เหลืองมากไปกว่านี้หรอกครับ
สำหรับวันนี้พอเท่านี้ก่อนครับพี่น้อง
สวัสดีครับ

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

"อาวากิ"

สวัสดีครับเพื่อนๆ ว่างเว้นไปนานพอสมควร
เกี่ยวกับการอัพเดทปลาที่บ้านผม
มัวแต่ไปเป็นเด็กกิจกรรมอยู่พักนึง
เอาหละครับ วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับ
เจ้าอาซากิของผม ชื่อ "อาวากิ"
เป็นปลาจากฟาร์มโอสึกะ
ซึ่งเป็นบรีดเดอร์ที่สามารถบรีดอาซากิได้คุณภาพดี
และมีขนาดที่ใหญ่โตถึงไซด์8 เชียวนะ
....
"เจ้าอาวากิ" ตัวนี้เป็นเพศเมีย
ผมและพี่เอกธนาช่วยกันเลือก
มาจากบ่อที่บ้านโจ้ โค่ยคิชิ เพื่อนของผม
ด้วยความที่ผมกังวลเรื่องแดงลาม
ซึ่งเราท่านพบกันบ่อยๆในปลาประเภทนี้
ผมจึงตั้งใจเลือกปลาตัวที่ไม่มีแดงเลย
โดยในวันเลือกปลานั้น
เราพิจารณากันที่โครงสร้างของปลาเป็นหลัก
จากนั้นเราก็มาพิจารณากันที่ความเป็นระเบียบของตาข่าย
ความสะอาดของหัวปลา และเพศของปลา
หลังจากต่อรองราคากับโจ้เป็นที่เรียบร้อย
ผมก็ได้เจ้าอาวากิกลับมา
ตอนนั้นขนาดประมาณ 33 cm
....
ตอนที่เลือกมาก็คิดว่าเลือกปลาที่มีโครงสร้างดีมาแล้วนะ
แต่พอผมเลี้ยงไปสักพัก
ก็มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้างอย่างเห็นได้ชัด
ในขณะที่แดงยังคงไม่มา ผมรู้สึกสะบายใจที่แดงยังไม่มา
แต่ตาข่ายก็ยังไม่เห็นมีอะไรเปลี่ยนอะไร
ขนาดตอนนั้น 35 cm
....
เมื่อไม่นานมานี้ผมก็ตักเจ้าอาวากิขึ้นมาถ่ายภาพ
พร้อมสังเกตความเปลี่ยนแปลง
พบว่าปลามีขนาดโตขึ้นเป็น 44 cm
หุ่นไม่ประทับใจเลย ป่องกลางยังไงก็ไม่รู้เหอะๆ
ที่หัวของเจ้าอาวากิ เริ่มมีจุดสีแดงขึ้น 2 จุด แก้ม ซ้าย ขวา
ผมก็คิดในใจว่า "ค่อยๆมานะลูกนะ
อย่ามามากจนแดงลามเน้อ สาธุ"
นอกจากเรื่องสีแดงที่เริ่มมีวี่แววว่ากำลังจะมาแล้ว
ผมสังเกตว่าเกร็ดของมันแปลกๆ เหมือนเป็นกินริน ด้วยความบังเอิญ
ผมไปพบข้อมูลในบล็อกๆหนึ่งว่า
โอสึกะเค้าพยายามบรีดอาซากิที่มีลักษณะพิเศษของเกล็ด
ซึ่งเราอาจถือว่าเป็นเกร็ดกินอีกชนิดนึงก็ได้
โดยโอสึกะเค้าเรียกอาซากิที่มีเกร็ดแบบนี้ว่า
Gyakume Asagi
เรามาพิจารณากันใกล้ครับ
ว่าเจ้า Gyakume Asagi
จะมีลักษณะของกินรินที่บริเวณขอบเกร็ด
ซึ่งช่วยทำให้เกิดความสวยงานให้กับตาข่ายมากยิ่งขึ้น
และนี่คือ Standard Asagi
เพื่อนๆพอสังเกตเห็นความแตกต่าง
ของอาซากิทั้ง 2 แบบได้บางนะครับ
มาดูกันใกล้ๆครับว่าเกร็ดของอาซากิธรรมดา
จะไม่มีกินรินที่ขอบเกร็ด จากลักษณะของเกร็ดของเจ้าอาวากิของผม
ทำให้ปลาตัวนี้มีอะไรให้ผมศึกษามันเพิ่มอีก 1 เรื่อง
คือความสวยงามของตาข่ายนั่นนับว่าเป็น
ความสุขที่ผมได้รับจากเจ้าอาวากิ
เอาหละครับเพื่อนๆ
วันหน้าผมจะมาอัพเดทให้พวกเราดูกันใหม่นะครับ
สำหรับวันนี้จบเพียงเท่านี้ครับ สวัสดีครับ