วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Protein skimmer

สวัสดีครับเพื่อน
วันนี้ ผมจะเล่าให้พวกเราฟังเกี่ยวกับเจ้า Protein skimmer
ซึ่งเป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับพวกเราคนรักปลาคาร์ฟ
Protein skimmer ทำหน้าที่ในการแยกโมเลกุลโปรตีนที่ละลายอยู่ในน้ำ
การแยกโมเลกุลโปรตีนออกจากน้ำมีประโยชน์อย่างไรกับปลา??
เพื่อนหลายท่านคงสงสัยกันอยู่ใช่ไหมหละครับ
ผมขอตอบสั้นๆว่า โมเลกุลโปรตีนที่ละลายอยูในน้ำ
ที่ไหลผ่านเข้ามาในระบบกรองซึ่งมีแบคทีเลียอาศัยอยู่
เจ้าแบคทีเลียพวกนี้ก็จะทำหน้าที่ในการย่อยโมเลกุลโปรตีน
เปลี่ยนมันให้เป็นแอมโมเนีย....
เป็นไงครับพอผมพูดถึงแอมโมเนีย
ที่มีในน้ำเพื่อนหลายท่านคงพอทราบประโยชน์กันบ้างแล้ว
แต่ถ้าเพื่อนๆ ยัง งง อยู่
ผมก็จะขยายความต่อไปอีกหน่อย
เจ้าแอมโมเนียก็จะถูกแบคทีเลียเปลี่ยนมันให้เป็น
ไนไตรท์ และไนเตรท ตามวัฎจักรไนโตรเจน
ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัฎจักรไนโตรเจนได้ที่
สรุปสั้นๆว่า Protein skimmer แยกโปรตีน
ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในวัฎจักรไนโตรเจน
การที่มีโปรตีนในน้ำน้อยลงส่งผลให้
แอมโมเนีย ไนไตรท์ ไนเตรทก็จะน้อยลงตามไปด้วย
หลักการทำงานของ Protein skimmer มีดังนี้(ดูภาพแรกประกอบ)
น้ำไหลตามทิศทางที่ลูกศรสีน้ำเงินชี้
ซึ่งเราจำกัดทิศทางการไหลของน้ำให้ไหลลง
ตำแหน่งนี้เราติดตั้งหัวทราย(แบบละเอียด)
จากนั้นให้เราปรับแรงลมที่ออกมาจากหัวทรายไม่แรงเกินไป ไปเบาเกินไป
ตรงนี้ต้องปรับแก้ที่หน้างานตามความเหมาะสมครับ
กระบอก Skimmer ควรมีความยาว(ดูภาพที่ 2 )
เพื่อให้ฟองอากาศได้สัมผัสกับน้ำได้นานพอ
ที่ปลายด้านบนควรมีความสูงจากระดับน้ำประมาณ 30 cm
เพื่อให้ได้ฟองโฟมที่แห้งสนิท
การทำงานของ Protein skimmer ที่ได้ผลขึ้นอยู่กับปัจจัยเหล่านี้
1.ระยะเวลาที่ฟองอากาศได้สัมผัสกับน้ำ ยิ่งนานยิ่งดี
2.ขนาดของฟองอากาศ ยิ่งเล็กยิ่งมีผิวสัมผัสมาก
3.ลักษณะของฟองโฟม ที่ไหลออกมายิ่งแห้งยิ่งแสดงถึงประสิทธิภาพในการแยกโปรตีนออกจากน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เรามาดูกระบอกสกิมเมอร์กันชัดๆอีกทีครับ
จะเห็นว่าผมเจาะรูเพื่อใส่หัวทรายเข้าไปดูรูปที่ 3-4

การติดตั้งสกิมเมอร์สำหรับบ่อผมเป็นแบบในภาพนะครับ
ถ้าเพื่อนๆ สนใจอยากจะทำ
ผมแนะนำให้ทำชุด Protein skimmer
ที่ท่อน้ำล้นเข้าบ่อกรองจะได้ประโยชน์สูงสุด
เพราะเราต้องการแยกโมเลกุลโปรตีนก่อนที่จะถึงกรองชีวภาพ
เพื่อลดแอมโมเนีย ไนไตรท์ ไนเตรท ให้มากที่สุด
หลักการนี้ผมได้รับคำแนะนำมาจาก ดร.บรรเจิด อีกทีครับ
ขอขอบคุณอาจารญ์มา ณ โอกาสนี้ครับ

รูปสุดท้าย คือ ปลายสำหรับทิ้งฟองโฟมครับ

เอาหละครับสำหรับวันนี้
ผมหวังว่าเพื่อนๆ คงได้รับข้อมูลเกี่ยวกับ
Protein skimmer พอสมควรนะครับ
ท่านใดสงสัยสามารถสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://en.wikipedia.org/wiki/Protein_skimmer
สำหรับวันนี้ขอจบเพียงเท่านี้ "สวัสดีครับ"

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อาวากิ 3

สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้ผมมาอัพเดท
"เจ้าอาวากิ"
ให้พวกเราดูกันตามคำเรียกร้องของพี่ปิ๊ก
พี่ชายใจดีจากออสเตเรียที่พูดคุยกันเป็นประจำ
ผ่านเว็ปบรอดของ Thai koikeeper
ขนาดไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรมากครับ
ยังอยู่ที่ 68 cm สำหรับปลาที่เข้าสู่ปีที่ 3 แล้ว
ถือว่าอัตราเติบโตดีที่เดียวครับ
อาจจะเป็นเพราะเจ้าอาซากิพวกนี้เป็นปลาสายเลือดเก่าแก่
เรียกว่าเป็นปลาคาร์ฟยุคแรกๆ
ก่อนที่จะมีโคฮากุเกิดขึ้นมาซะอีก
เพื่อนๆเคยสังเกตธงปลาคาร์ฟ(Koinobori โค่ยโนโบริ)ไหมครับ
ถ้าอยากรู้จัก โค่ยโนโบริ เพิ่มคลิกตามลิ้งก์นี้นะครับ
จะมีปลาคารฟ์ 4 สี คือ สีแดง คือพวกเบนิกอย สีดำ คือมากอย
สีเขียว คือ ??? ผมจำไม่ได้ครับ และสุดท้าย
สีน้ำเงิน ก็คือ เจ้าพวกอาซากินี่แหละครับ
เพื่อนๆคงพอจำได้ว่าเจ้าอาวากิเมื่อคราวก่อนนี้
มันเป็นแผลที่ไหล่มัน ตอนนี้หายดีแล้วครับ

ดูคลิปวีดีโอ เจ้าอาวิกิ ได้ที่
http://www.youtube.com/watch?v=vaJRScabkbI
http://www.youtube.com/watch?v=5J4zYZ3MRBE
เอาหละครับสำหรับวันนี้ผมมาอัพเดท
ตามสัญญาแล้วนะครับพี่ปิ๊ก