วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553

Astaxanthin กับการสร้างภูมิต้านทานโรค

เกี่ยวกับสารแอสตาแซนทิน ( astaxanthin) หรือ คลอโรฟิวพิงค์
เป็นผลงานวิจัยของ คุณ ทิพย์วรรณ ปริพัฒนานนท์
ที่ชื่อ อิทธิพลของสาร astaxanthin ต่อการสร้างภูมิต้านทานโรค
Astaxanthin คืออะไร
astaxanthin เป็นสารสีจำพวกแคโรทีนอยด์ (carotenoid) ที่สกัดมาจากแหล่งธรรมชาติ ใช้กันแพร่หลายใน การผลิตปลาแซลมอน เพื่อกระตุ้นให้เนื้อปลาที่เลี้ยง มีสีชมพูเหมือนปลาแซลมอน ที่พบในธรรมชาติ และยังมีการใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เพื่อกระตุ้นการผสมพันธุ์ การวางไข่ เพิ่มคุณภาพ ของไข่ ตลอดจนเพิ่มอัตรารอดในสัตว์น้ำ
ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม สารแคโรทีนอยด์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง
ในเชิงการแพทย์ และถูกจัดว่าเป็นสารที่ช่วยต่อต้าน การเกิด หรือยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง (Matthews-Roth, 1991; Krinski, 1991) Miki (1991) รายงานว่า สารแคโรทีนอยด์มีคุณสมบัติ เป็นตัวกำจัดอนุมูลอิสระ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกาย ซึ่งอนุมูลอิสระนี้ เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็ง และตั้งสมญานามของสารแคโรทีนอยด์นี้ว่า เป็นสารที่มี "Supervitamin E activity"
ในด้านสัตว์น้ำก็ควรมีการศึกษาถึงบทบาทของสาร astaxanthin ต่อการสร้างภูมิต้านทานโรค
เพื่อนำผลประโยชน์ไปใช้ในการป้องกันโรค ลดอัตราการตาย และเพิ่มผลผลิตในการผลิตสัตว์น้ำทุกชนิด บทความนี้จึงเขียน เพื่อรวบรวมผลการทดลองในสัตว์น้ำ
ชนิดของสารแคโรทีนอยด์ที่เหมาะสมกับสัตว์น้ำ
สารแคโรคทีนอยด์มีหลายชนิด เช่น สาร zeaxanthin, lutein, canthaxanthin และสารจำพวก astaxanthinปลาเป็นสัตว์ที่ไม่สามารถสังเคราะห์สารสีเองได้ สารสีในตัวปลาต้องมาจากการบริโภค การทดลองของ Nakazoe et al. (1984) และ Choubert and Storebakken (1989) สรุปว่า เนื่องจากสารที่ทำให้เกิดสีในผิวหนังของปลาเป็นสารจำพวก astaxanthin
การใส่สารชนิดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ astaxanthin นั้น ต้องผ่านกระบวนการแปรสภาพในร่างกายสัตว์ให้เป็น astaxanthin ก่อน ในปลา rainbow trout นั้น Foss et al. (1984) และ Torrisen (1986) รายงานว่า สามารถใช้ astaxanthin ได้ดีกว่า canthaxanthin อีกทั้งการดูดซึมในเนื้อปลาก็มากกว่า canthaxanthin 1.3 เท่า ดังนั้น การกระตุ้นการเกิดสีของผิวหนังปลา และการดูดซึมสีในเนื้อปลา ควรใช้แคโรทีนอยด์จำนพวก astaxanthin
การใช้สาร astaxanthin เพื่อเพิ่มภูมิต้านทาน
Verlhac และคณะ ทำการทดลองในปลา rainbow trout โดยการให้อาหารที่มี astaxanthin ตั้งแต่ 0, 50 และ 400 มก. ต่ออาหาร 1 กก. เป็นเวลา 5 เดือน พบว่าหลังจากให้อาหารดังกล่าวไป 2 เดือน
ผลทางภูมิต้านทานเริ่มแสดงให้เห็น ในปลาที่กินอาหารที่เสริมด้วย astaxanthin 400 มก. ต่ออาหาร 1 กก. กล่าวคือมี phagocytotic cells สูงกว่าอีกสองกลุ่มที่เหลือ อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อครบ 5 เดือน non-specific immune response อื่น ๆ เช่น lymphocyte proliferation และ natural killer activity รวมทั้ง phagocytotic cells ก็สูงกว่าในปลาที่ได้รับ astaxanthin
ทั้งนี้โดยที่ระดับของ astaxanthin 50 มก. ต่ออาหาร 1 กก. ก็สามารถกระตุ้นการสร้างภูมิต้านทานได้แล้ว เนื่องจากการทดลองนี้ เริ่มต้นใส่ astaxanthin ที่ระดับ 50 มก. ต่ออาหาร 1 กก.
จึงเป็นไปได้ ที่ astaxanthin ในระดับต่ำกว่านี้ อาจสามารถกระตุ้นการสร้างภูมิต้านทานของปลาได้ ปลาที่ได้รับสาร astaxanthin เพื่อเพิ่มสีสรรนั้น ได้ผลพลอยได้อย่างหนึ่งคือ อัตราการตายลดลง ทิพย์วรรณ และคณะ (2541) ทำการทดลอง เพื่อหาอัตราที่เหมาะสมของ astaxanthin ต่อการเร่งสีในปลาเงินปลาทอง อัตราที่ใช้คือ 0, 25, 50, 75 และ 100 มก. ต่ออาหาร 1 กก. นอกจากจะพบว่า astaxanthin ในปริมาณ 37-40 มก. ต่ออาหาร 1 กก. (breakpoint ของกราฟการตอบสนองโดยวัดสีของปลาเท่ากับ 37 มก. ต่ออาหาร 1 กก. และโดยนับ chromatophore cell ที่ผิวหนังเท่ากับ 40 มก. ต่ออาหาร 1 กก.7 จะสามารถกระตุ้นการเกิดสีได้ดีที่สุดแล้ว
ยังพบว่าอัตราการตายของปลาตลอดการทดลอง ยังลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อในอาหารมี astaxanthin ตั้งแต่ 25 มก. ต่ออาหาร 1 กก. ขึ้นไป ดังตารางที่ 1
Astaxanthin (มก./กก.) 0 อัตราการตาย (%) 13.51
Astaxanthin (มก./กก.) 25 อัตราการตาย (%) 1.67
Astaxanthin (มก./กก.) 50 อัตราการตาย (%) 1.67
Astaxanthin (มก./กก.) 100 อัตราการตาย (%) 0.00

บทสรุป

สารเสริมในอาหารที่ให้กับสัตว์เพื่อให้สัตว์มีภูมิต้านทานโรคนั้นมีอยู่หลายชนิด สารบางอย่างไม่ได้มีคุณค่าทางโภชนะ สารบางอย่างมีคุณค่าทางโภชนะอยู่ด้วย ดังนั้น การเลือกใช้สารเหล่านี้ เพื่อให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรงนั้น อาจต้องใช้หลักเกณฑ์นี้มาประกอบการพิจารณาด้วย

Astaxanthin เป็นสาร provitamin A มีคุณสมบัติที่สัตว์สามารถนำไปใช้เหมือนวิตามินเอได้ สามารถเพิ่มสีสรรให้ปลาสวยงาม เพื่อดึงดูดลูกค้าได้ และยังมีคุณสมบัติช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรคได้ด้วย กลไกของการเพิ่มภูมิต้านทานโรคในปลายังไม่ชัดเจน การศึกษาด้านนี้ยังควรกระทำต่อไป เพื่อนำไปพิจารณาดูว่าสามารถให้สารชนิดอื่นที่มีราคาถูกกว่าได้หรือไม่

เอกสารอ้างอิง

ทิพย์วรรณ ปริพัฒนานนท์, จิรศักดิ์ ตั้งตรงไพโรจน์, อัจฉริยา ไศละสูต และ นันทริกา ซันซื่อ. 2541. Effect of astaxanthin on pigmentation of goldfish. รายงานผลงานวิจัยเสนอต่อมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประจำปี 2541. 16 หน้า.

Choubert, G. and Storebakken, T. 1989. Dose response to astaxanthin and canthaxanthin pigmentation of rainbow trout fed various dietary carotenoid concentrations. Aquaculture, 81:69-77.

Foss, P., Storebakken, T., Schiedt, K., Liaaen-Jensen, S., Austreng, E. and Streiff, K. 1984. Carotenoids in diets for salmonids. I. Pigmentation of rainbow trout with the individual optical isomers of astaxanthin in comparison with canthaxanthin. Aquaculture, 41:213- 226.

Krinski, N. I. 1991. Effects of carotenoids in cellular and animal systems. American Journal of Clinical Nutrition, 53:238-246.

Matthews-Roth, M.N. 1991. Recent progress in the medical applications of carotenoids. Pure Appl. Chem. 63:147-156.

Miki, W. 1991. Biological functions and activities of animal carotenoids. Pure Appl. Chem. 63:141-146.

Nakazoe, J., Ishi, S., Kamimoto, H., and Takeuchi, M. 1984. Effect of supplemental carotenoid pigments on the carotenoid accumulation in young red sea bream. Bull. Tokai Reg. Fish. Res. Lab. 113:29-41.

Storebakken, T. and No, H.K. 1992. Pigmentation of rainbow trout. Aquaculture 100: 209-229.

Torrissen, O.J. 1986. Pigmentation of salmonids: A comparison of astaxanthin and canthaxanthin As pigment sources for rainbow trout. Aquaculture, 53:271-278.

Verthac, V., Gabaudan, J. and Schierle, J. no date. Vitamins and Fine Chemical Research and Technology Department, F. Hoffmann-La Roche Ltd., Switzerland.

ที่มา http://www.fishroom.org/webboard/reply_show.php?bt_id=16789&br_id=1

โปรไบโอติกส์

โปรไบโอติกส์
มีความหมายว่า “เพื่อชีวิต” เป็นจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะแบคทีเรียที่ดี ยกตัวอย่างเช่น แลตโตบาซิลลัส (Lactabacillus) และไบฟิโดแบคทีเรีย (Bifidobacterium)
หน้าที่ของโปรไบโอติกส์
จะเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะบริเวณปลายลำไส้ใหญ่ โดยจะช่วยรักษาความสมดุลระหว่างแบคทีเรียดีและแบคทีเรียไม่ดี และยังช่วยขับของเสียออกจากลำไส้ ถ้าเรามีแบคทีเรียไม่ดีจำนวนมาก ร่างกายของเราจะเริ่มมีกรดและของเสียในลำไส้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นบ่อเกิดของโรคต่างๆ ได้ โดยเฉพาะในกรณีที่เราต้องกินยาปฏิชีวนะ ยาจะเข้าไปฆ่าแบคทีเรียที่ดี รวมทั้งโรคต่างๆ ด้วย ฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องเลือกรับประทานอาหารโปรไบโอติกส์ เพื่อช่วยรักษาความสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้หลังจากกินยาปฏิชีวนะเข้าไป
อาหารโปรไบโอติกส์
เป็นอาหารที่ผ่านกระบวนการหมักดอง ซึ่งกระบวนการนี้จะทำให้เกิดแบคทีเรียสายพันธุ์ดี ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายโดยเฉพาะเมื่อเรารับประทานเป็นประจำในปริมาณที่ มากพอ ในยุโรป และเอเชีย ล้วนต่างมีอาหารโปรไบโอติกส์ ซึ่งเป็นอาหารประจำชาติมาเป็นเวลานานแล้ว เช่น คนยุโรปมักนิยมบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของโปรไบโอติกส์ เช่น ชีส โยเกิร์ต และผักดอง (เช่น เซาเออร์เคราท์ของเยอรมนี) อาหารโปรไบโอติกส์ในอเมริกาก็คล้ายกันกับยุโรป ผู้คนบางส่วนจึงนิยมเลือกทานโปรไบโอติกส์ที่ทำเป็นแคปซูลสำเร็จ เพราะสะดวกต่อการบริโภคและพกพา สามารถหาซื้อได้ตามร้านขสยของเพื่อสุขภาพในเอเชียของเรา อย่างเกาหลีจะมีกิมจิเป็นอาหารประจำชาติมานานหลายร้อยปี ส่วนญี่ปุ่นกับจีนจะมีอาหารหมักหลายสไตล์ เช่น ผักเกี้ยมไฉ่ เต้าเจี้ยว สำหรับในบ้านเรา อาหารโปรไบโอติกส์ที่เป็นที่นิยมกันมานานแล้ว เช่น ข้าวหมัก ผักดอง เต้าเจี้ยว แหนม ฯลฯ
สรุปประโยชน์ของโปรไบโอติกส์ มีดังนี้
1. ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ โดยการแย่งที่เกาะหรือแย่งอาหารหรือทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม อันเป็นการช่วยลดสารพิษที่เชื้อจุลินทรีย์เหล่านั้นผลิตขึ้น
2. ผลิตสารต้านการเจริญเติบโตและตั้งถิ่นฐานของจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ
3. ผลิตเอนไซม์ที่มีผลในการทำลายสารพิษในอาหาร หรือที่เชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นโทษผลิตขึ้น
4. กระตุ้นในเกิดภูมิต้านทานต่อโรคของสัตว์
5. ผลิตเอนไซม์ช่วยย่อยอาหารเพิ่มเติมให้แก่สัตว์
ที่มา http://vitaminworld.exteen.com/20091024/probiotic-acidophilus

ไคติน ไคโตซาน


ไคติน-ไคโตซาน
เมื่อหลายปีก่อนคงเคยได้ยินและรู้จัก "ไคติน-ไคโตซาน" ในรูปของอาหารเสริมลดความอ้วนโดยเมื่อ รับประทานก่อนมื้ออาหารจะสามารถช่วยดักจับไขมันจากอาหารที่รับประทาน เพื่อไม่ให้สะสมในร่างกาย นอกจากนั้นยังสามารถช่วยดักจับโลหะหนักอีกด้วย
เรามารู้จัก "ไคติน" กันเถอะ
ไคติน เป็นพอลิเมอร์ชีวภาพที่มีมากเป็นอันดับสองของโลก ซึ่งพบได้จากธรรมชาติ คือจะพบในรูปของสารประกอบเชิงซ้อนไคติน-โปรตีน (ในเปลือกของแมลง) ซึ่งนอกจากจะพบได้ในเปลือกกุ้งและปูแล้วนั้นยังมีมากในเปลือกหุ้มของแพลงก์ตอน ผนังเซลล์ของสาหร่าย ยีสต์ และเห็ดรา เปลือกแมลง แกนของปลาหมึก แมงกระพรุน หรือดาวทะเล
ข้อมูลทั่วไป: ไคโตซาน เป็นสารอนุพันธ์ที่ไม่ละลายน้ำของไคติน ซึ่งสามารถสกัดได้จากเปลือกของกุ้งขนาดกลางและเล็ก กุ้งกร้ามกราม หรือปู (1, 2, 3, 6, 7, 10, 13, 20, 24) มีการวิจัยทางคลินิกวิทยามากว่า 17 ปี ีถึงการใช้ไคโตซานเป็นสารลดน้ำหนักธรรมชาติโดยใช้เป็นใยอาหาร (ไฟเบอร์) เพื่อทำให้อืดอิ่ม และใช้ในการทำความสะอาดสำไส้ เรื่อยจนมาถึงปัจจุบัน (21) ไคโตซานมีคุณสมบัติในสมบัติในการดูดซับน้ำมัน คราบไขมันและสารพิษบางชนิด เพื่อทำให้กำจัดได้ง่ายขึ้น ไคโตซานถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องสำอาง รวมทั้งผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร การทดลองของฮาน (Han L. K.) และเพื่อนร่วมงานของเขา (1999) ที่โรงเรียนการแพทย์ในประเทศญี่ปุ่นชี้ให้เห็นว่า ไคโตซานป้องกันการเพิ่มของน้ำหนักตัว ป้องกันภาวะไขมันในเลือดสูง และการมีไขมันสะสมในตับมากอันเนื่องมาจากการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง มีการทดลองที่ทำการเปรียบเทียบการขับไขมันออกจากร่างกาย และคุณสมบัติในการลดน้ำหนักของใยอาหารจากพืชผักหลากหลายชนิดกับไคโตซาน ผลปรากฎว่าไคโตซานให้ผลดีเหนือกว่าใยอาหารอื่นทั้งหมด (19) ไม่เพียงใช้ในอุตสาหกกรมอาหารไคโตซานยังใช้เป็นไหมเย็บบาดแผลและเส้นเลือดที่ขาด นักวิทยาศาสตร์บางท่านได้จัดให้ไคโตซานเป็นหนึ่งในกลุ่มอาหารเพื่อหน้าที่ หรือที่รู้จักกันว่า ฟังก์ชันนอล ฟูด (functional food) (6)
ไคติน-ไคโตซาน มีประโยชน์อะไรบ้าง
ในทางการแพทย์
ไคตินสุดไม่ก่อให้เกิดการต่อต้านจากร่างกาย ไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายทั้งยังช่วยส่งเสริมการเจริญของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อคนอีก ไคติน-ไคโตซานก็เลยได้รับความสนใจเป็นอย่างมากที่จะได้รับการพัฒนาไปใช้ในทางการแพทย์อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้ส่งเสริมการเจริญของแบคทีเรียในลำไส้ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ ต่อต้านมะเร็ง ช่วยลดสารพิษและยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียที่เป็นอันตรายอย่างเชื้อซัลโมเนลลา เนื่องจาก ไคติน-ไคโตซานเป็นสารที่ได้จากธรรมชาติ สามารถเข้าได้กับร่างกายมนุษย์ จากการศึกษาในต่างประเทศ พบว่าสามารถย่อยสลายได้ภายในสัตว์ เนื่องจากมีเอนไซม์หลายชนิดสามารถย่อยสลายได้ นอกจากนี้ ตัวไคติน-ไคโตซานยังสามารถยับยั้งการเจริญของจุลชีพบางชนิดด้วย จากข้อดีต่างๆ นี้เอง ไคติน-ไคโตซาน จึงถูกนำมาใช้งานทางการแพทย์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
-Wound-healing ointments
-Surgical sutures
-Orthopaedics
-Drug delivery vehicles
-Anticholesterol and fat bindings
-Skin treatments
-Wound dressings
-Dentistry
-Tranportation of cells
-Ophthalmology
โครงการวิจัยพัฒนาแผ่นไคติน-ไคโตซานสำหรับรักษาแผลของศูนย์ ฯ กำลังดำเนินการอยู่ และได้เริ่มทดลองใช้ ในผู้ป่วยจากอุบัติเหตุน้ำร้อนลวกในรายที่บาดแผลไม่รุนแรงมากนักเนื่องจากเป็นการทดลองใช้ในขั้นต้น จากการทดลองพบว่าไม่มีการแพ้ หรืออักเสบของบาดแผล คาดว่าแผ่นไคติน-ไคโตซานจะสามารถใช้เป็นวัสดุ สำหรับปิดรักษาแผลที่ดี สามารถลดอาการเจ็บปวดของผู้ป่วยลงได้ ใช้ทำผิวหนังเทียมที่จะช่วยบรรเทาความทุกข์ทรมานให้กับผู้ถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือพวกประสบอุบัติเหตุที่มีแผลลึกๆ ด้านการแพทย์และเภสัชวิทยา ใช้ไคติน และไคโตซาน ในการรักษาบาดแผล เพื่อใช้ในการรักษา แผลผ่าตัดและไฟไหม้ ซึ่งจะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ทำผลิตภัณฑ์แผ่นปิดตกแต่งแผล ด้ายเย็บแผล ซึ่งข้อดีของมันก็คือ จะสลายตัวอย่างช้า ๆ และถูกดูดซับเข้าร่างกาย อย่างไม่มีปฏิกิริยาต่อต้านจากร่างกาย ใช้เป็นเลนส์สายตา เนื่องจากมีคุณสมบัติยอมให้ออกซิเจนผ่านเข้าออกได้ และไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ใช้เป็นแคปซูลบรรจุยา ใช้เป็นสารป้องกันการตกตะกอนของเลือด ใช้เป็นตัวจับและตกตะกอนเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว ใช้ผลิตผนังเทียม เช่นผนังไต ใช้เป็นสารลดโคลเลสเตอรอล และใช้เป็นสารเชื่อมหรืออุดฟันในด้านทันตกรรม
ช่วยในการเสริมสร้างกระดูก และฟัน
จากการค้นคว้าของนักวิทยาศาสตร์พบว่าไคโตซานสามารถกระตุ้นให้เกิดการสร้างกระดูกใหม่โดยทดลองจากกระต่ายและสุนัข
ช่วยบำบัดน้ำเสีย
มีประโยชน์ช่วยตรึงเอนไซม์ในการทำผลิตภัณฑ์ให้บริสุทธิ์ รวมทั้งสามารถจับของแข็งแขวนลอยได้ดี และจับกับอะตอมของโลหะหนัก
วิธีการรักษาโรคตา
คือมีคุณสมบัติที่จะเป็นคอนแท็กต์เลนส์ และวัสดุทดแทนกระจกตา เพื่อรักษาโรคต้อได้เป็นอย่างดีอีกทั้งไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ระคายเคือง
อาหารเสริมของสัตว์เลี้ยง
ใช้ผสมรวมกับอาหารให้แก่สัตว์บก มีประโยชน์ในการเพิ่มแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร ลดอาการท้องเสีย
ทางด้านการเกษตร
นำมาเคลือบผิวผลผลิตทางการเกษตรเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา และป้องกันแมลงกัดกินไคโตซานสามารถก่อตัวเป็นฟิล์มบาง ใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น เคลือบผิวเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลผลิตทางการเกษตรและเมล็ดพันธุ์ และยังมีการนำเอาอนุพันธ์ของไคตินและไคโตซานไปเป็นสารต่อต้านเชื้อรา ไวรัสและแบคทีเรียบางชนิด ซึ่งมันสามารถทำงานได้อย่างกว้างขวาง เช่น ยับยั้งโรคโคนเน่าจากเชื้อรา โรคแอนแทรกโนส และโรคอื่นๆ
ไคติน-ไคโตซานสามารถใช้เป็นสารเสริมผสมลงในอาหารสัตว์บก เช่น สุกร วัว ควาย เป็ด ไก่ ช่วยเพิ่มปริมาณแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ในทางเดินอาหาร ช่วยลดอาการท้องเสียของสัตว์ได้ และลดอัตราการตายของสัตว์วัยอ่อนอันเนื่องมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดในทางเดินอาหาร
ช่วยลดน้ำหนัก
ประจุบวกของไคโตซานจะดักจับกรดไขมันอิสระ และคอเลสเตอรอลที่มีประจุลบและจะถูก ขับถ่ายออกมาพร้อมกับไขมันส่วนเกินด้วย
ทางด้านความงาม
ด้วยคุณสมบัติที่ไม่ละลายน้ำ และอุ้มความชื้นได้ดีจึงพัฒนานำมาทำผลิตภัณฑ์บำรุงผิว และดูแลเส้นผม ยาสีฟัน เครื่องสำอาง โดยเฉพาะนำไปใส่ในเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของกรดผลไม้ธรรมชาติ หรือ AHA ช่วยกระตุ้นให้ผิวหนังเก่าหลุดลอก เพื่อสร้างผิวใหม่ดูอ่อนเยาว์ยิ่งขึ้น
ไคติน-ไคโตซานสามารถลดความอ้วน ได้ดีสุดยอดอย่างที่เราไม่อยากจะเชื่อ เมื่อไคตินนั้นได้กลายเป็นไคโตซานแล้ว ประจุบวกอันมหาศาลของไคโตซาน จะเป็นที่ดึงดูดใจมากของเหล่ากรดไขมันอิสระ และคอเลสเทอรอลที่มีประจุลบ ดังนั้นเจ้าตัวต้นเหตุของความอ้วน ทั้ง 2 ตัว ก็จะเกาะติดแจกับไคโตซาน และคนไม่สามารถย่อยไคติน-ไคโตซานได้ทั้งหมดจึงถูกขับออกมาพร้อม กับอุจจาระโดยที่มีคอเลสเทอรอลและไขมันส่วนเกินตามออกมาด้วย
ไคโตซานมีประจุบวกอย่างล้นเหลือทำให้มันสามารถเกาะกับประจุลบของผิวหนังและเส้นผมได้เป็นอย่างดี จึงถูกนำไปใส่ในเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของกรดผลไม้ธรรม ชาติที่เราคงคุ้นชื่อกันดีว่ากรดแอลฟาไฮดรอกซี หรือ AHA ไงครับ กรดพวกนี้จะกระตุ้นให้ผิวหนังเก่าหลุดลอก เพื่อสร้างผิวใหม่ ทำให้ผิวคุณดูอ่อนเยาว์ขึ้น ส่วนในการบำรุงเส้นผม ไคโตซานจะก่อตัวเป็นฟิล์มเคลือบเส้นผมไว้ ทำให้เส้นผมคงสภาพนุ่มสลวยไม่เสียง่าย
ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ไคโตซานได้ถูกนำมาใช้เพื่อจุดประสงค์หลายอย่าง เช่น เป็นสารเพิ่มความข้นเหนียวในครีม เป็นส่วนผสมในโลชั่น เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นและความเนียนนุ่ม เป็นส่วนผสมในแชมพูสระผม ครีมนวดผมและครีมปรับสภาพผม เนื่องจากมีคุณสมบัติ ความหนืด และการเคลือบ เพื่อช่วยเก็บความชุ่มชื้นไว้ ทำให้เส้นผมนุ่มได้ บริษัทในประเทศเยอรมนี และบริษัทญี่ปุ่นได้ใช้สารไคโตซานเป็นส่วนประกอบในแป้งแต่งหน้า เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น ความเรียบ รวมทั้งได้มีการนำสารไคโตซานมาใช้ในโฟมล้างหน้า เพื่อการรักษาความสะอาดและลดความมันบนใบหน้า
พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
โดยนำมาผสมกับพลาสติก เพื่อช่วยให้สามารถย่อยสลายได้ง่าย นอกจากนี้ยังนำมาทำเป็นฟิล์มถนอมอาหารที่สามารถรับประทานได้โดยไม่เป็นอันตราย
ไคโตซานคือสุดยอดนวัตกรรมที่เกิด มาจากเทคโนโลยีการใช้กากของเสียให้เป็นประโยชน์ เป็นทางออกที่ดีทั้งต่อมนุษย์และต่อสิ่งแวดล้อม ในการจัดการเปลือกกุ้งมากมาย ที่ถูกทิ้งจากอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ บทบาทที่สำคัญทางด้านสิ่งแวดล้อมของไคโตซานที่เรารู้ๆ กันก็คือการบำบัดน้ำทิ้ง น้ำเสีย
นอกจากการบำบัดน้ำเสียแล้ว ไคโตซานยังมีความสามารถในการจับกับของแข็งแขวนลอยได้ดี และจับกับอะตอมของ โลหะหนัก รวมทั้งมีการนำไปจับกับสารกัมมันตรังสีอย่างพลูโตเนียมและยูเรเนียมด้วย ส่วนการจับกับคราบไขมันนั้น กลไกการจับก็คล้ายๆ กับการจับกับไขมันในทางเดินอาหาร
ทางด้านสิ่งทอ
นำมาเคลือบเส้นใยผ้าเพื่อลดกลิ่นเหงื่อและกลิ่นอับชื้น และต้านทานเชื้อรา แบคทีเรียอีก ด้วยอุตสาหกรรมเส้นใย กระดาษ สิ่งทอ ก็มีการใช้ไคโตซาน เช่น ใช้ทำภาชนะบรรจุที่ย่อยสลายได้ในธรรมชาติ ทำฟิล์มถนอมอาหารที่สามารถรับประทานได้ ใช้ในการผลิตผ้าที่ย้อมสีติดทนนาน ใช้ในกระบวนการผลิตกระดาษ ที่มีคุณสมบัติทางกายภาพสูง ทนทานต่อการฉีกขาด หรือผลิตกระดาษที่ซับหมึกได้ดีเพื่อการพิมพ์ที่ต้องการคุณภาพสูง
ทางด้านสิ่งพิมพ์
ช่วยยืดอายุการเก็บเอกสารสำคัญ โดยทำให้กระดาษมีคุณสมบัติเหนียว แข็งแรง ทนต่อการฉีกขาด และซับหมึกได้ดี
ไคติน-ไคโตซาน เป็นสารที่มีมนุษย์เราสามารถนำมาประยุกต์เพื่อใช้ประโยชน์หลากหลาย แต่ในส่วนของ การนำมารับประทานเพื่อเป็นอาหารเสริมลดความอ้วนนั้น มีข้อควรระวังในกรณีที่รับประทานเข้าไปแล้วอาจ เกิดอาการอาหารไม่ย่อย ควรดื่มน้ำตามเข้าไปมาก ๆ อาการจะดีขึ้น และไม่เหมาะสำหรับผู้ที่แพ้พวกอาหารทะเล หญิงมีครรภ์ หรือหญิงที่ให้นมบุตรไม่ควรจะบริโภค
ไคติน-ไคโตซาน สารมหัศจรรย์จากธรรมชาติ
เมื่อพูดถึงไคติน สิ่งที่คุณผู้อ่านนึกถึงเป็นอันดับแรกๆ ก็คือความอ้วน และเชื่อว่าคุณผู้หญิงและคุณผู้ชายที่มีหุ่นตุ้ยนุ้ยจนละม้ายคล้ายโอ่งมังกรหลายๆ คนคงเคยลองใช้ผลิตภัณฑ์ไคติน-ไคโตซานมาแล้ว นอกจากจะช่วยควบคุมน้ำหนักแล้ว ไคตินยังมีสรรพคุณอีกสารพัดสารเพที่เรียกได้ว่าแทบจะบรรยายไม่หมดเลยทีเดียว ทั้งดักจับคราบไขมันและโลหะหนัก เป็นอาหารเสริมสุขภาพ และเป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอาง
ไคตินคืออะไร
ไคตินเป็นพอลิเมอร์ชีวภาพชนิดหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อ เป็นองค์ประกอบในโครงสร้างต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตมากมายหลายชนิด ไคตินเป็นพอลิเมอร์ชีวภาพที่มีมากเป็นอันดับสองของโลก และเนื่องจากไคตินเป็นพอลิเมอร์ที่พบในธรรมชาติ เราจึงมักพบไคตินในรูป สารประกอบเชิงซ้อนที่อยู่รวมกับสารอื่นๆ
ไคตินเป็นสารประกอบพวกคาร์โบไฮเดรตเช่นเดียวกับเซลลูโลสและแป้ง รูปร่างของไคตินจะเป็นเส้นสายยาวๆ มีลักษณะคล้ายลูกประคำที่ประกอบขึ้นมาจาก น้ำตาลโมเลกุลเล็กๆ ที่มีชื่อว่า เอ็น-อะซิทิลกลูโคซามีน(N-acetylglucosamine)
ไคติน-ไคโตซาน ดาวรุ่งพุ่งแรง
เมื่อพูดถึงไคติน อีกคำที่มักจะพ่วงมาด้วยคือ ไคโตซาน ไคโตซานคืออนุพันธ์ตัวหนึ่งของไคติน รูปร่างหน้าตาของมันก็จะละม้ายคล้ายกับไคติน ไคโตซานจะได้จากปฏิกิริยาการดึงส่วนที่เรียกว่า หมู่อะซิทิล (acetyl group) ของไคตินออกไป เรียกว่า ปฏิกิริยาดีอะซิทิเลชัน (deacetylation) ทำให้จากเดิมโมเลกุลเดี่ยวของไคตินที่เคยเป็นเอ็น-อะซิทิลกลูโคซามีน ถูกแปลงโฉมใหม่เหลือแค่ กลูโคซามีน (glucosamine) เท่านั้น จากที่เคยเรียกว่าไคตินก็เลยเปลี่ยนชื่อเป็นไคโตซาน การหายไปของหมู่อะซิทิล ทำให้ไคโตซานมีส่วนของโมเลกุลที่แอคทีฟ และพร้อมที่จะทำ ปฏิกิริยาอย่างว่องไวอยู่หลายหมู่ หมู่ที่เด่นๆ เลยก็คือ หมู่อะมิโน (-NH2) ตรงคาร์บอนตัวที่ 2 หมู่แอลกอฮอล์ (CH2OH) ตรงคาร์บอนตัวที่ 6 และหมู่แอลกอฮอล์ที่คาร์บอนตัวที่ 3 และเพราะหมู่ที่อยากทำปฏิกิริยานี้เองที่ทำให้ไคโตซานมีโอกาสได้ฉายแววรุ่งโรจน์ในหลายๆ วงการ
ไคติน-ไคโตซานทำงานได้อย่างไร
ไคติน-ไคโตซานจะทำงานเป็นตัวสร้างตะกอนและตัวตกตะกอน ตัวสร้างตะกอนจะกระตุ้นให้เศษของเสียที่แขวนลอยๆ ในน้ำเกิดการรวมกันเป็นกลุ่มก้อน ใหญ่ขึ้นๆ และพอใหญ่มากเกินก็ตกเป็นตะกอนลงมา ส่วนตัวตกตะกอน ก็จะทำงานคล้ายๆ กันคือจะไปจับกับสารแขวนลอยในน้ำแล้วตกตะกอนลงมา โดย-ไคโตซานจะทำหน้าที่ทั้งสองแบบ ซึ่งทำได้ดีเนื่องจากมีหมู่อะมิโนที่สามารถแตกตัวให้ประจุบวกมาก จึงทำให้พวกประจุลบอย่างโปรตีน สีย้อม กรดไขมันอิสระ คอเลสเทอรอล (ในร่างกาย) ต้องเข้ามาเกาะกับประจุบวกของไคโตซาน ส่วนโลหะหนักซึ่งเป็นประจุบวกอยู่แล้ว จะจับกับอิเล็กตรอนจากไนโตรเจนในหมู่อะมิโนของไคโตซานทำให้เกิดพันธะเคมีที่เรียกว่า พันธะเชิงซ้อนขึ้นมา และจากการทดลองพบว่าหมู่อะมิโนในไคโตซานจะสามารถจับกับโลหะหนักในน้ำ ได้ดีกว่าหมู่อะซิทิลของไคติน
อาการเมื่อขาด:
ไคโตซานไม่ใช่สารอาหารจำเป็นต่อร่างกาย หรือจะพูดกันให้ถูกไคโตซานไม่นับว่าเป็นสารอาหารที่ร่างกายมนุษย์ต้องการเลย เราใช้ไคโตซานเป็นตัวเสริมในโปรแกรมการลดน้ำหนักและใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารฟังค์ชันนอลฟูด รวมทั้งใช้ในอุตสาหกรรมยาและเครื่องสำอาง แต่ไม่มีข้อมูลใดๆที่ยืนยันถึงการขาดไคโตซานเลย
ขนาดรับประทาน:
ในขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดขนาดรับประทาน หรือปริมาณที่แนะนำต่อวัน (RDA) ของไคโตซานอย่างแน่นอน แต่จากการศึกษาหลายกรณีชี้ให้เห็นว่าไคโตซาน 8 กรัม (ไคโตซานแคปซูลขนาด 250 มิลลิกรัมจำนวน 8 เม็ดต่อวัน หรือขนาดแคปซูลละ 500 มิลลิกรัมจำนวน 4 เม็ดต่อวัน) จะสามารถดูดซับไขมันได้ 10 กรัม และกำจัดออกจากร่างกายไปกับของเสีย (21)
ผลข้างเคียง:
จนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังไม่ปรากฎรายงานถึงปัญหาร้ายแรงของการใช้ไคโตซานแต่อย่างใด นอกจากนี้การศึกษาด้านพิษวิทยาของไคโตซานยังพบว่าไคโตซานมีความเป็นพิษต่ำอีกด้วย (11, 23)
ปฎิกริยากับสารอื่น:
ฤทธิ์ในการขับไขมันออกจากร่างกายของไคโตซานจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อใช้ร่วมกับวิตามินซี (2, 4) แต่การกินในปริมาณมากเกิดขนาดจะเป็นการลดการดูดกลับของเกลือแร่และลดระดับวิตามินอีในน้ำเลือด (5)
เอกสารอ้างอิง:
1. Deuchi K., Kanauchi O., Imasato Y., and Kobayashi E. Decreasing Effect of Chitosan on the Apparent Fat Digestibility by Rats Fed on a High-fat Diet. Biosci. Biotech. Biochem., 58(9), 1994: 1613-1616.
2. Kanauchi O., Deuchi K., Imasato Y., and Kobayashi E. Increasing Effect of a Chitosan and Ascorbic Acid Mixture on Fecal Dietary Fat Excretion. Biosci. Biotech. Biochem., 58(9), 1994: 1617-1620.
3. Deuchi K., Kanauchi O., Imasato Y., and Kobayashi E. Effect of the Viscosity or Deacetylation Degree of Chitosan on Fecal Fat Excreted from Rats Fed on High-fat Diet. Biosci. Biotech. Biochem., 59(5), 1995: 781-785.
4. Kanauchi O., et.al. Mechanism for the Inhibition of Fat Digestion by Chitosan and for the Synergistic Effect of Ascorbate. Biosci. Biotech. Biochem., 59(5), 1995: 786-790.
5. Deuchi K., Kanauchi O., Shizukuishi M., Kobayashi E. Continuous and Massive Intake of Chitosan Affects Mineral and Fat-soluble Vitamin Status in Rats Fed on a High-fat Diet. Biosci. Biotech. Biochem., 59(7), 1995: 1211-1216.
6. Knorr D. Functional Properties of Chitin and Chitosan. J. Food. Sci., Vol.47, 1982: 593-595.
7. LEHOUX J. and Gordin F. Some Effects of Chitosan on Liver Function in the Rat. Endocrinology., Vol.132 No.3, 1993: 1078-1084.
8. Okuyama K., Noguchi K. and Miyazawa T. Molecular and Crystal Structure of Hydrated Chitosan. Macromolecules, 30; 1997: 5849-5855.
9. Ikeda I, Tomari Y., and Sugano M. Interrelated Effects of Dietary Fiber and Fat on Lymphatic Cholesterol and Triglyceride Absorption in Rat. J. Nutr. 119; 1989: 1383-1387.
10. Knorr D. Dye Binding Properties of Chitin and Chitosan. J. Food Sci., Vol.48, 1983: 36, 37, 41.
11. Knorr D. Functional Properties of Chitin and Chitosan. J. Food Sci., Vol. 47, 1982: 593-595.
12. Ebihara K. and Schneeman B. O. Interaction of Bile Acids, Phospholipids, Cholesterol and Triglyceride with Dietary Fiber in the Small Intestine of Rate. J. Nutr., Vol.119, 1989: 1100-1106.
13. Vahouny G. V. et.al. Comparative effects of chitosan and cholestyramine on lymphatic absorption of lipids in the rat. J. Clin. Nutr., Vol. 38, 1983: 278-284.
14. Vahouny G. V. et.al. Dietary Fiber and intestinal adaptation: effects on lipid absorption and lymphatic transport in the rat. J. Clin. Nutr., Vol. 47, 1988: 201-6.
15. Razdan A. and Pettersson D. Effect of chitin and chitosan on nutrient digestibility and plasma lipid concentration in broiler chickens. J. Nutrition, Vol.72, 1994: 277-288.
16. Razdan A. and Pettersson D. Hypolipidaemic, gastrointestinal and related responses of broiler chickens to chitosans of different viscosity. J. Nutrition, Vol. 76, 1996: 387-397.
17. Razdan A., Pettersson D. and Pettersson J. Broiler chicken body weights, feed intakes, plasma lipid and small-intestinal bile acid concentrations in response to feeding of chitosan and pectin. J. Nutrition., Vol. 78, 1997: 283-291.
18. Sugano M. et.al. Anovel use of chitosan as a hypocholesterolemic agent in rats. Am J. Clin. Nutr., Vol. 33, 1980: 787-793.
19. Stasse-Wolthuis M. et.al. Influence of dietary fiber from vegetables and fruits, bran or citrus pectin on serum lipids, fecal lipids, and colonic function. Am J. Clin. Nutr., Vol. 33, 1980: 1745-1756.
20. Kay R. M. and Truswell A. S. Effect of citrus pectin on blood lipids and fecal steroid excretion in man. J. Clin. Nutr., Vol. 30, 1977:171-175.
21. Chitosan. In: Clinical Studies Compendium.
22. Fabulous Fiber In: In The Kitchen, Energy Times. June 1998: 20.
23. Arai K., Kinumaki T., and Fugita T. On the toxicity of chitosan. Bull. Toka Regional Fisheries Res. Lab.No.56, 1968: 89.
24. Shepherd R., Reader S. and Falshaw A. Chitosan functional properties. Glycoconj J. Jun 1997; 14(4): 535-42.
25. Han L.K., Kimura Y. and Okuda H. Reduction of fat storage during chitin-chitosan treatment in mice fed a high-fat diet. Biosci Biotechnol Biochem. Feb 1999; 23(2): 174-9.
26. Lee J.K., Kim Su and Kim J.H. Modification of chitosan to improve its hypocholesterolemic capacity. Biosci Biotechnol Biochem. May 1999; 63(5): 833-9.
ที่มาโดย
1. ป๋วย อุ่นใจ
2. ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553

Momotaro Auction 2010

On March 30th we will have our first koi auction of the spring. This auctionwill feature gauranteed female tosai Kohaku, Sanke and Showa. These mainfish will come with a certificate and will be 150 pieces in total.
In addition, other tosai will be auctioned individually and in groups. Thisauction is a dealer auction, so please contact you dealer for bidding information. Please check back often for auction koi pictures and future auction news.

Study Development of Koi

From Nisai to Koi Show: A Look at 4 Momotaro Koi

The koi show is both an exhibition and a classroom. Hobbyists, dealers, and breeders prepare their koi for months, even years, to bring out the best of their kois’ potential, then haul these koi, sometimes long distances, to be evaluated and compared with the competing koi. Koi students on all levels, professional or amateur, can use the koi show to learn about the characteristics of koi varieties, characteristics of different breeders, and even koi keeping skills. One limitation of the koi show, however, is time. Both the koi and the viewer are what they are for that time only. Every koi at a koi show takes a path to get there, as does every koi viewer. A 50cm two year old koi soon becomes a 60cm three year old, sumi comes and goes, kiwa changes, koi peak. The viewer, or student, also changes. One year the difference between Sanke and Showa are mastered, the next year sashi and kiwa start to make sense, and later quality and growth potential are the main interests when observing and choosing koi. At a koi show, both the koi and viewers are points in a change.As koi enthusiasts, a deeper understanding of how a great show koi becomes a great show koi should be of interest. How did this koi look as a nisai? What did the sumi on this Sanke look like last year? Questions like these go unanswered as we stand at the koi show vats on Saturday afternoons. With a look at the records of a koi’s evolution, we can see that the best koi at the best koi shows around the world start with quality.
Almost anyone at the 2007 All Japan ZNA Koi Show in Ojiya, saw this stunning Sanke (A1). But how did it get to this point? Was the sumi always so bold? Was there more sumi that has condensed and went away? This Sanke was born in 2004 and raised in concrete ponds from nisai until present. As a 50cm nisai(A3) this koi showed signs of heavy sumi, but the overall quality of all three colors was outstanding. From nisai to sansai this koi grew 13cm to become 63cm as seen in A2. By sansai the sumi has collected into bigger blocks that frame the first step of the hi-plate and add interest to the back half of the fish. Finally, in the autumn of 2007 at the ZNA show we can see the full maturation of the sumi as it contrasts with the white and red ground. Now a 70cm yonsai(4 year old), this fish is a standout even at Japanese National Koi Shows.
Not all koi change so drastically in pattern. A Momotaro 80cm gosai(5 year old) Showa won second in 80cm Showa Class at the 2007 ZNA National Show. As a 58cm nisai(B3) the koi looks like a lighter, smaller version of the same koi. The fish has even light colored beni with an attractive, undeveloped sumi pattern. All the potential for a great fish is present at nisai, yet few koi advance predictably from here. If every nisai kept the same quality and pattern until it become 80cm, there would be many of these fish at koi shows around the world. For a koi to maintain its assent in quality and beauty from nisai to sansai and then sansai to yonsai is rare. As a 68cm sansai(B2) we can see the pattern and colors of this fish remain unchanged. The body has matured and shows hints of what is to come. In the autumn of 2007 we can see the sumi on the right side of the koi has emerged to add balance and interest to the right side of the fish(B1). With a full body, an attractive pattern, and high quality, this koi can compete for top awards in the future.
Another interesting Momotaro koi seen at this year’s ZNA All Japan Show gives us a look at the slow changes of jumbo Sanke. As a 98cm nanasai(7 year old) Sanke, this Ryu-bloodline Sanke is at the top of the top class of Show koi in Japan(C1). Few koi reach this size and even fewer do so while retaining the beauty of this koi. As a 59cm nisai this koi was of high quality, average size, and unique undeveloped pattern. The hints of tsubo sumi on the left shoulder and right side base of the dorsal are just apparent in this picture taken soon after the fall harvest(C3). Three years later, after spending one season in the 1500 ton pond, the underlying sumi has come up to make this koi dynamic(C2). We can see much of the tsubo sumi has surfaced making this simple two-step Sanke a very interesting fish. By the autumn of 2007, after spending two more years in concrete ponds, the sumi has stabilized while the body added volume to the lengthy frame. Notice that in the nisai and nanasai pictures there is small sumi behind the head, yet at 5 years old there was none. Even though this koi’s pattern was not a standout as a nisai, it had the right bloodline and was of the highest quality. When kept well, these koi have great potential.
Lastly, a look at the progression of Momotaro’s 105 cm Sanke. This koi was an offspring of Mako, Momotaro Koi Farm’s main Sanke oya, that was only 55cm as a nisai(D3). As a nisai this koi’s shiroji and hiban are top class as it is the slender but strong body. At that stage, the sumi was a gamble. After 3 years in mudponds and a few years in the 1500 ton pond this koi had reached 97cm while maintaining one of the best bodies(D2). The sumi has surfaced in many of the white areas while receeding in the red areas. At this point, the beni and body are still the the best of the best. Finally, this autumn, at 105cm, this Sanke won Reserve Grand Champion at the ZNA All Japan Koi Show(D1). While not the best-patterned fish, this koi has come a long way from its days as a 55cm nisai.

Not all jumbo koi start as jumbo, and few show koi start their journey to their peak beauty as attractive as they look on show day in the show pools years later. Koi change, koi grow; this is why they will continue to interest koi keepers, dealers, and breeders around the world. Koi change, koi grow; this is why they should be studied. Highest quality koi from good bloodlines, kept in the best conditions can surprise even the most experienced koi students.

วันเสาร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2553

การสะสมของ ไนไตรท์

ไนโตรเจน และสารประกอบไนโตรเจน (N)
ไนโตรเจนมีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์วิทยาของแหล่งน้ำมาก เพราะเป็นส่วนประกอบของอินทรีย์สารหลายชนิด ที่มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของพืชและสัตว์ เช่น เป็นส่วนประกอบของ โปรตีน และไขมันบางชนิด ไนโตรเจนเมื่อเข้าสู่แหล่งน้ำแล้ว จะถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปสารประกอบหลายรูป ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับพืช, สัตว์ และ สภาพแวดล้อมภายในแหล่งน้ำนั้นอย่างมาก

เมื่อสารประกอบไนโตรเจนเข้ามาอยู่ในระบบนิเวศน์ของแหล่งน้ำแล้ว จะเกิดขบวนการเปลี่ยนแปลงสภาพจากสารอินทรีย์ไนโตรเจน (Organic nitrogen) ที่พบมากในโปรตีน ซึ่งพืช และสัตว์สามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิต และการเจริญเติบโต ไปเป็นสารอนินทรีย์ไนโตรเจน (Inorganic nitrogen) ได้แก่ ไนเตรท (NO3-), ไนไตรท์ (NO2-), แอมโมเนีย (NH3+) และ ก๊าซไนโตรเจน (N2) และจากสารอนินทรีย์ ไปเป็นสารอินทรีย์ กระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นได้ทั้งปฏิกริยาทางเคมี ที่ไม่มีหรือมีสิ่งมีชีวิตเป็นผู้ดำเนินการก็ได้ ปฏิกริยเคมีที่มีสิ่งมีชีวิตเป็นผู้ดำเนินการ ได้แก่ การรับเข้าทางชีวภาพ (Biological assimilation) การย่อยสลาย (Decomposition) ซึ่งเกิดเป็นวงจร จากนั้นไนโตรเจน จะถูกออกไปจากระบบโดยการ เปลี่ยนสารประกอบไนโตรเจน ให้เป็นก๊าซไนโตรเจน (Denitrification)

สารประกอบไนโตรเจนที่ถูกสังเคราะห์แล้ว และถูกใช้ไปโดยพืชหรือสัตว์ ซึ่งอยู่ในรูปสารประกอบอินทรีย์ สารประกอบอินทรีย์ไนโตรเจนที่ถูกปล่อยออกมาในน้ำ เช่น ขี้กุ้ง เศษอาหาร ซากแพลงค์ตอน จะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ และเชื้อราบางชนิด เป็นการย่อยสลายแบบใช้ออกซิเจน (aerobic condition) สารประกอบอินทรีย์ไนโตรเจน จะถูกย่อย ได้เป็นแอมโมเนีย (NH3) ด้วยกระบวนการที่เรียกว่า Ammonification

จากนั้น แอมโมเนียจะถูก oxidized อีกขั้นหนึ่งโดย Nitrifying bacteria ซึ่งได้แก่แบคทีเรียในสกุล Nitrosomonas แบคทีเรียชนิดนี้ สามารถใช้ แอมโมเนีย (NH3) แล้วเปลี่ยนให้เป็น ไนไตรท์ (NO2-) อย่างไรก็ตาม ไนไตรท์ (NO2-) อาจเกิดจากปฏิกริยา reduction ของ ไนเตรท (NO3-) โดยสาหร่ายเซลล์เดียวในสกุล Chlorella ซึ่งสามารถลดออกซิเจนในไนเตรทได้ ไนไตรท์ (NO2-) จะถูกเปลี่ยนให้เป็น ไนเตรท (NO3-) โดยการเติมออกซิเจน ซึ่งแบคทีเรียที่สามารถใช้ไนไตรท์ ได้แก่แบคทีเรียในสกุล Nitrobacter พืชสามารถใช้ ไนเตรทในการเจริญเติบโต และใช้ในการสังเคราะห์โปรตีน ในแหล่งน้ำที่มีไนเตรทสูง อาจทำให้มีการเพิ่มปริมาณของพืชน้ำ อย่างรวดเร็ว (Eutrophication) และเป็นสาเหตุทำให้สัตว์น้ำได้รับผลกระทบ จากการที่ปริมาณออกซิเจนลดลง ในเวลากลางคืน มีแบคทีเรียที่สามารถเปลี่ยน ไนเตรทให้อยู่ในรูปของ ก๊าซไนโตรเจน (N2) คือ Dinitrifying bacteria ภายใต้ภาวะที่ไม่มีออกซิเจน จากนั้นจึงปลดปล่อย N2 สู่แหล่งน้ำ และระเหยออกไปสู่บรรยากาศ

ในกรณีที่ไม่มีออกซิเจน และมีสารอินทรีย์คาร์บอนไม่เพียงพอ แทนที่แบคทีเรียในกลุ่ม Denitrifier เช่น Pseudomonas, Alkaligenes และ Vibrio จะทำให้เกิดไนโตรเจน ซึ่งเป็นผลผลิตสุดท้าย แต่จะทำให้เกิดไนไตรท์แทน ซึ่งหมายความว่าปฏิกริยาที่เกิดขึ้นนั้นไม่สมบูรณ์

ไนไตรท์ เกิดขึ้น ได้อย่างไร ?
ไนไตรท์ เกิดจากการเปลี่ยนรูปทางเคมี ของสารประกอบไนโตรเจน โดยกิจกรรมของจุลินทรีย์กลุ่ม คีโมออโต้โทรป (Chemoautotroph) ที่สามารถดึงออกซิเจนออกจากสารประกอบไนโตรเจน (ไนเตรท) มาใช้เพื่อการดำรงชีพ ในกรณีที่ขาดออกซิเจน หรือออกซิเจนไม่เพียงพอ จนทำให้เกิดการสะสมของไนไตรท์

การสะสมของของเสีย เช่น ขี้สัตว์น้ำ เศษอาหารเหลือ เนื่องจากการให้อาหารมากเกินไป, ซากสิ่งมีชีวิตเล็กๆเหล่านี้ เป็นแหล่งของสารประกอบไนโตรเจน ที่ทำให้เกิดไนไตรท์ขึ้นภายในบ่อเลี้ยงได้

เรียนรู้วัฎจักรไนโตรเจน
http://courseware.rmutl.ac.th/courses/58/data3/13_1_1.htm

การสะสมของ ไนไตรท์ เกิดขึ้น เนื่องจาก
1. ขบวนการ ไนตริฟิเคฃั่น (Nitrification) ที่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจาก ขาดออกซิเจน และความไม่สมดุลย์ของสัดส่วนระหว่าง คาร์บอน กับ ไนโตรเจน (C : N ratio)
2. ขบวนการ ดีไนตริฟิเคชั่น (Denitrification) ที่ไม่สมบูรณ์ เพราะขบวนการ Denitrification ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ในสภาวะตามธรรมชาติเป็นไปได้ยาก เนื่องจากจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยประกอบหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบ ต้องใช้พลังงานเป็นจำนวนมาก เพื่อดึงอิเลคตรอนออก (Electron Transfer System; ETS) จึงเกิดการสะสมของไนไตรท์ขึ้นNO3- ----> NO2- ----> NO ----> N2O ----> N2
3. ขบวนการ ไนเตรท รีดักชั่น (Nitrate reduction) ในสภาวะการขาดออกซิเจนที่พื้นบ่อ จะมีจุลินทรีย์บางชนิด สามารถดึงออกซิเจน จากไนเตรท มาใฃ้ จนเกิดเป็น ไนไตรท์ และมีการสะสมเกิดขึ้นNO3- + 2e- + 2H+ -----> NO2- + H2O

ผลกระทบเนื่องจาก ไนไตรท์ (NO2-)
สารประกอบไนโตรเจน เช่น โปรตีน เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์น้ำ การให้อาหารในปริมาณที่มากเกินไป จะทำให้เกิดการสะสมของของเสีย ซึ่งของเสียที่สะสมอยู่บริเวณพื้นบ่อ จะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ ในภาวะที่ ออกซิเจนไม่เพียงพอ หรือขาดออกซิเจน การย่อยสลายนั้น จะทำให้เกิดการสะสมของ แอมโมเนีย และ ไนไตรท์ จากการตรวจวิเคราะห์น้ำ ในบ่อเลี้ยง พบว่าเกิดการสะสมของไนไตรท์ในปริมาณมาก จนเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ และสิ่งแวดล้อมภายในแหล่งน้ำ

ไนไตรท์ มีคุณสมบัติในการจับกับเม็ดเลือดได้เร็วกว่า ออกซิเจน จึงทำให้สัตว์น้ำ ใช้ออกซิเจนที่ละลายน้ำได้น้อยลง ซึ่งสัตว์น้ำต้องใช้ออกซิเจน ในขบวนการเผาผลาญอาหาร (metabolism) เพื่อการดำรงชีวิต และการเจริญเติบโต แต่เนื่องจาก ไนไตรท์ ทำให้น้ำนั้นไม่เหมาะสม ต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ

ปัญหาจากพิษของ ไนไตรท์ ที่พบในบ่อ
1. ประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลดลง
2. ทำให้การขนถ่ายออกซิเจน ในเลือดลดลง
3. พิษของไนไตรท์ เป็นอันตรายต่อเหงือก ทำให้เกิดความระคายเคืองบริเวณซี่เหงือก เป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
4. พิษของไนไตรท์ ทำให้ระบบการหายใจผิดปกติ ต้องหายใจถี่ขึ้น
5. ทำให้สูญเสียระบบการขับถ่ายน้ำ และเกลือแร่จากร่างกาย ทำให้ร่างกายอ่อนแอ
6. การเจริญเติบโตลดลง เนื่องจากขบวนการเผาผลาญอาหาร ภายในร่างกายมีประสิทธิภาพลดลง
7. ปัญหาเนื่องจาก พิษของไนไตรท์ มีผล ทำให้ไม่โต
8. ความเป็นพิษของไนไตรท์ ขึ้นอยู่กับค่าของ คลอไรด์ (Cl) ไนไตรท์จะอยู่ในระดับที่ปลอดภัยเมื่ออัตราส่วนของ ไนไตรท์ : คลอไรด์ เท่ากับ 1: 6
9. ในน้ำที่มี ไนไตรท์สูง ทำให้ขาดออกซิเจน เนื่องจากไนไตรท์ เข้าไปทำปฏิกริยาแทนที่ออกซิเจนในกระแสเลือด ทำให้ความสามารถของเซลล์เม็ดเลือดแดง ในการขนส่งออกซิเจนถูกทำลาย
10. ในน้ำที่มี ไนไตรท์สูงกว่า 0.15 ppm พบว่า สัตว์น้ำป่วย และติดเชื้อโรคต่างๆ ได้ง่าย
11. สัตว์น้ำที่ได้รับพิษจาก ไนไตรท์ ในระยะแรกๆ จะมีความเสียงต่อการเกิดโรค
12. น้ำในบ่อเลี้ยงที่มีระดับของ ไนไตรท์ สูงกว่า 1.0 มิลลิกรัม/ลิตร (> 1 ppm) ไม่ควรนำมาเลี้ยงสัตว์น้ำ

การป้องกัน และแก้ไขปัญหาที่เกิดจาก ไนไตรท์
1. การถ่ายน้ำ เป็นการแก้ปัญหาเบื้องต้นที่ดี แต่ในระบบการเลี้ยงที่มีการถ่ายน้ำน้อย จะทำให้มีของเสียสะสมอยู่ในปริมาณมาก จนเป็นอันตราย
2. การจัดการพื้นบ่อที่เหมาะสม ควรทำความสะอาดพื้นบ่อให้สะอาด เพื่อกำจัดของเสียออกจากพื้นบ่อให้มากที่สุด
3. ไม่ควรปล่อยสัตว์น้ำหนาแน่นมากเกินไป
4. ควรควบคุมปริมาณการให้อาหาร โดยไม่ควรให้มีอาหารเหลือตกค้าง
5. ควรมีออกซิเจนในบ่อ ในปริมาณที่มากพอ การให้อากาศ และการหมุนเวียนของน้ำ จะเป็นตัวช่วยให้ก๊าซพิษต่างๆ ถูกกำจัดออกไปจากบ่อได้ง่ายขึ้น
6. การใช้สารให้ออกซิเจน เพื่อป้องกันการสะสมของไนไตรท์ และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ในการย่อยสลายของเสีย
7. ในกรณีที่มีการสะสมของไนไตรท์ ภายในบ่อจนถึงระดับที่เป็นอันตราย ควรใช้สารเคมีที่มีคุณสมบัติลดปริมาณไนไตรท์ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งต้องเป็นสารเคมีที่มีความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม และไม่มีสารตกค้าง หลังจากนั้นควรมีการจัดการ เพื่อป้องกันการสะสมของไนไตรท์ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีก โดยการรักษาระดับของออกซิเจนที่พื้นบ่อ

ที่มา : http://www2.se-ed.net/shrimpzone/research/article/research_nitrogen_effect.htm

Sakai Auction 2010

สวัสดีครับเพื่อนๆ ผมมาส่งข่าว
ซาไกกำลังจะเปิดประมูลปลาประจำปี 2010
นี่คือภาพปลาเพียงบางส่วนเท่านั้น
Lsat Update 15 Mar PM 5:00 ลองแวะเข้าไปดูกันนะครับ
สนใจตัวไหนสามารถติดต่อที่ http://www.tnff.co.th/
สวยครบเครื่องน่าสนใจดีครับ


วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553

พัฒนาการของ Gigantic Champion

สวัสดีอีกครั้งครับ เพื่อนๆ
วันนี้ผมเอาภาพพัฒนาการของ โชว่า จากโอโมซาโกะ
ซึ่งเพิ่งได้รางวัล
Gigantic Champion และ Showa Best in Variety
จากงาน All Japan Combined Koi Show ครั้งที่ 41
นับเป็นมิติใหม่ของโอโมซาโกะจริงๆครับ
เพราะเมื่อพูดถึงโอโมซาโกะ เพื่อนๆส่วนใหญ่จะคิดถึง
ชิโร่มากกว่าปลาประเภทอื่นๆ
แต่ด้วยความพยายามของบรีดเดอร์เอง
จึงได้โชว่าคุณภาพเยี่ยมตัวนี้ออกมาสู่สายตายเรา
สังเกตดำ(ซูมิ Sumi)
จะมีฐานลึก แบบซูมิ อาซากิลิ้งก์
ซึ่งเป็นดำที่พัฒนาจากส่วนที่เป็นชั้นผิวของปลา
จากนั้นพัฒนาขึ้นมาที่เกล็ดของปลา
นอกจากความเปลี่ยนแปลงของสีดำแล้ว
จะสังเกตโครงสร้างแบบนี้ซึ่งอาขารย์ชัย
เรียกว่าหุ่นปลาช่อน ออกยาวๆ
ทำให้ปลาตัวนี้มีขนาดใหญ่โต่ได้ถึง 91cm
ในปีที่ 8 ใหญ่มากๆครับ
อาจารย์ชัย ได้แนะนำให้เราเลือกปลาขาขึ้น
เพราะมันจะดีวันดีคืน
เห็นแบบนี้แล้วมีความสุขครับ

ขนาดล่าสุดของเจ้าโชว่าตัวนี้ครับ

การเลือกและเลี้ยงปลา
เมื่อได้เห็นพัฒนาการที่ดีของมัน
ทำให้เราท่านมีความหวังที่จะอดทนรอวันที่ปลาพร้อม
ถึงแม้ว่าต้องรอนานถึง 8 ปี

แบบบ่อพี่ฤทธิ์

สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้ผมเอาแบบพี่ฤทธิ์ หรือ คุนหมูขุน
มาให้ดูกันตามคำเรียกร้องของคุณเติ๊ด
โฉมหน้าท่านเจ้าของบ่อครับ อิอิ
แบบบ่อขนาด 50 กว่าตัน
มีการปรับปรุงบ่อกรองจากทีแรกผมออกแบบให้เป็น ฟูวอล์เทค
แต่ด้วยความกังวลเรื่องรอบน้ำ และระยะเวลาน้ำในบ่อกรอง
ผมจึงทกการปรับเปลี่มมาเป็นแบบ เซมิ วอล์เทค
ระบบกรอง
ในช่วงแรกเป็นกรองกายภาพ
และช่วงกลางและท้ายเป็นกรองชีวภาพ
ภาพไซด์วิวของบ่อกรอง


ถังวอล์เทค
Moving bed และ Fix bed
การวางท่อสะดือบ่อสำหรับบ่อกรอง
จะใช้ท่อขนาด 2 นิ้ว เป๋นท่อสะดือบ่อ
ของแต่ละช่องกรอง เพื่อให้ง่ายในการชัดน้ำ
สะดือบ่อของบ่อพี่ฤทธิ์มีด้วยกัน 2 สะดือ
ประกอบด้วยสะดือบ่อแบบไม่ติดจานอ๊อกซิเจน

สะดือบ่อแบบติดจานอ๊อกซิเจน
แนะนำให้ใช้คู่กับปั้มลม ไฮโบว์ นะครับ
เนื่องจากที่ผ่านมาหลายท่านอาจมีปัญหาใช้ปั้มผลิตจากจีน
ใช้แล้วปั้มลมเสียเร็ว เนื่องแจกปั้มจีนไม่ทนต่อแรงดันน้ำ
ที่มีระดับความลึกมากๆครับ
การเรียง JFM ให้สลับแผนเต็มกับแผนกริด
เพื่อเปิดช่องว่างให้น้ำผ่านได้ดี

มีเดี่ยสำหรับ Moving Bed ใช้ KK-1
ปัจจุบัน KK-1ได้อัพเกรดเป็น KK-2 แล้ว
ให้พื้นที่ผิวสัมผัสมากยิ่งขึ้น
ถังพักลม เพื่อให้ได้แรงลมที่สม่ำเสมอ
ลมที่ออกมาไม่ร้อน

เป็นไงกันบ้างครับเพื่อนๆ
สำหรับแบบบ่อพี่ฤทธิ์นี้ น่าจะพอเป็นไอเดียให้กับเพื่อนๆ
ในการทำบ่อ หรือปรับปรุงบ่อได้บ้างนะครับ

วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553

The Sales season

Mid-October - November

Nisai (two year old), Sansai (three year old) and bigger koi Sales start at mid-October, when Nisai and bigger koi come up from mud ponds.If you are looking for top quality koi, this is the best time to make a visit to us. You get to sellect from numbers of newly harvested top Go-sanke. We have lots of people visit in the last week of October, when we have Niigata Nougyousai (aguriculture festival) show. Herhaps this is the high time of the year.December - January

Nisai (two year old), Sansai (three year old) and bigger koi Of course we have lots of koi to sell during winter time. This is the least busy season of the year. If you have time and want to enjoy visiting around, this may be the best season for you - breeders have lots of time to spare, they'd like your company very much.Late January - April

Tosai (1/2 year old) We harvest Tosai koi late September-early October. We usually don't sell these untill late January. Tosai are weak when they come right up from mud ponds.It takes us a month or longer to get them in feeding condition. They are not yet ready for sale then. We have to let them grow a little more in greenhouse ponds and cull a couple of more times during winter.Nisai (two year old), Sansai (three year old) and bigger koi Things start to get busier after All-Japan Shikokai Show in Tokyo at the end of January. We have many people visiting around this time. We still have many more to sell toward the end of April.May - June

Tosai, Nisai, Sansai and up - Tateshita sales There are high quality Tateshita = under Tategoi grade available after we put our Tategoi in mud pond. Limited numbers of offer - first come, first serve basis.Dealers, check out our special discount on wholesale deals. Please contact Tsuyoshi for details.

ข้อมูลอ้างอิงจาก http://www.torazokoi.com

วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

แบบบ่อพี่โจ๊ก ตอนที่ 2 แบบบ่อปรับปรุงใหม่

สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้
ผมทำการบ้านมาส่งพี่โจ๊ก อีกรอบ
เนื่องจากพื้นที่ว่างของบ้านพี่โจ๊ก
ในการทำบ่อกรองมีอยู่อย่างจำกัด
กล่าว คือ มีพื้นที่ขอบนอกของกรองไม่เกิน
กว้าง 220 cm ยาว 450 cm
ลึกไม่รวมฐานราก 220 cm
สะดือบ่อ
ถ้าใช้ 1 ตำแหน่ง แนะนำให้ใช้ท่อ 6 นิ้ว
ถ้ามี 2 ตำแหน่ง แนะนำให้ใช้ 3 นิ้ว หรือ 4 นิ้วก็ได้ครับ
การทำผนังบ่อกรอง มี 2 แบบ ดังนี้
แบบที่ 1 ผนังบ่อกรองรอบนอก(สีน้ำเงิน)
เป็นผนังแบบเท หนา 15 cm
แบบที่ 2 ผนังกั้นแบ่งช่องกรอง(สีแดง)
เป็นผนังแบบก่อ หนา 10 cm
จากภาพผมบอกขนาดของช่องกรองแต่ละช่อง
พร้อมทั้งแบ่งผนังกรองทั้ง 2 แบบด้วยแถบสี
ชนิด และระบบการกรอง
ช่องที่ 1 เป็นการกรองกายภาพ
โดยใช้ "ฮันนี่คอม" เป็นมีเดี่ยเรียงทับกัน 3 ชั้น
เพื่อให้ขี้ปลาส่วนใหญ่ตกตะกอนในโซนนี้
ช่องที่ 2 , 4 , 6 , 8 เป็นกรองชีวภาพ
แบบมีเดี่ยเคลื่อนที่ Moving bed ใช้ KK-2 เป็นมีเดี่ย
และปั้มลม Resun LP100 จำนวน 1 ตัว
ต่อ Moving bed 1 ชุด
ช่องที่ 3 , 5 ,7 ไม่ใช่สถานีโทรทัศน์นะครับ แฮะๆ
เป็นกรองชีวภาพ แบบมีเดี่ยคงที่ Fix bed
ใช้ JFM เป็นมีเดี่ย ขนาด กว้าง 90cm ยาว 100cm หนา 100cm
ไม่ต้องเติมลมก็ได้ เพราะช่องเหล่านี้เป็นช่องที่อยู่ถัดมาจาก
ช่อง Moving bed ซึ่งน้ำที่ผ่านมาก่อนหน้านี้
จะได้รับการเติมอ๊อกซิเจนอยู่แล้ว
ทำให้เราไม่จำเป็นต้องเติมอ๊อกซิเจนก็ได้ครับ
ช่องที่ 9 , 10 เป็นกรองชีวภาพ และกายภาพ
โดยใช้ "แห หรืออวน" เป็นมีเดี่ย
จุดประสงค์เพื่อให้เป็นกรองละเอียดครั้งสุดท้าย
การกั้นผนังกรองนั้นจะมีผนังแบบ A และ B
คำอธิบายดูตามรูปได้เลยครับ
อย่าลืมปรับสโลปด้วยนะครับ
สงสัยตรงไหนโทรมาหาผมได้ครับพี่โจ๊ก

วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

แบบบ่อพี่โจ๊ก

บ่อขนาด 50 ตัน รวมกรอง
ภาพไซด์วิว
สวัสดีครับ พี่โจ๊ก และเพื่อนๆ
วันนี้ผมทำแบบบ่อใหม่ของพี่โจ๊กมาให้ดูกัน
รายละเอียดผมจะมาเพิ่มเติ่มให้ทราบกันอีกครั้ง
ช่วงนี้ไม่ค่อยว่างครับ
(เดี๋ยวหลังเลิกงานเอกมาเพิ่มเติ่มรายละเอียดให้นะครับพี่โจ๊ก)