วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

''Quality Sumi in Showa Sanshoku''

TKKG Nonthaburi ZNA Friendship Club
ร่วมกับ
ZNA Thailand Chapter
ขอเชิญเข้าร่วมงานสัมมนา
ในหัวข้อเรื่อง ''Quality Sumi in Showa Sanshoku''
โดยมี อาจารย์ชัย แต้วณิชย์เจริญ
รองประธานใน ZNA - So Cal Chapter
และเป็น Local Certified Judge จาก ZNA
ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรในการสัมมนาวิชาการครั้งนี้
โดยจะเป็นการสัมมนาเกี่ยวกับการเลือก การดู และ วิเคราะห์
คุณภาพของสีดำในปลาโชว่า พร้อมตัวอย่างจริง
ที่จะใช้ประกอบการบรรยาย
เพื่อเป็นประโยชน์แก่คนรักปลาทุกท่าน
ที่จะใช้ในการเลือกปลาคาร์พ ที่มีคุณภาพ
และเรียนรู้ถึงพัฒนาการต่างๆของสีดำ
ในปลาคาร์พที่ท่านเลี้ยงอยู่
โดยงานจะจัด ณ โรงแรมนนทบุรีพาเลซ
ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2553
ตั้งแต่เวลาประมาณ 10.00 น.ถึง 15.00 น.( รอบเดียว )
...
ค่าสมัครเข้าร่วมสัมมนา
...
ผู้เข้าร่วมสัมนาท่านละ 500 บาท
อัตรานี้พร้อมอาหารว่าง , อาหารกลางวัน
dvd การบรรยายเรื่อง''Quality Sumi in Showa Sanshoku''
เสื้อยืดที่ระลึกสวยๆ 1ตัว
ผู้ติดตาม ท่านละ 350 บาท
อัตรานี้รวมอาหารกลางวัน
ไม่รวมdvd และเสื้อยืดที่ระลึกนะครับ
รับสมัครตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553
โดยสามารถจองที่นั่งได้ที่
สำหรับสมาชิกต่างจังหวัดที่ต้องการห้องพัก
โรงแรมนนทบุรีพาเลซ คิดค่าห้องพักที่ 800 บาท
อัตรานี้พร้อมอาหารเช้า
สามารถแจ้งความประสงค์ได้ที่
...
การโอนเงินชำระค่าสมัครเข้าร่วมสัมมนา
...
กรุณาโอนเงินเข้าบัญชี
ชื่อบัญชี นายพิพัฒน์ รัตนจินดา
บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาซอยลาซาล
เลขที่บัญชี 221-221252-6
รบกวนแจ้งการโอนเงินโดยลงท้ายเป็นเศษสตารค์
พร้อมแจ้ง ชื่อ - สกุลจริง ในกระทู้นี้เลยนะครับ
หรือทาง e-mail:Ekkarat_mio@hotmail.com

วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553

The body

สวัสดีครับเพื่อนๆจากข้อสงสัยของคุณ lion
ผมขออนุญาติคุณนณณ์ นำปลาของคุณนณณ์มายกตัวอย่างนะ
จากภาพ
ในการพิจารณาโครงสร้างปลา
เราจะแบ่งส่วนในการพิจารณาปลาออกเป็น 5 จุดที่สำคัญ
a
คือ การพิจารณาลักษณะกระโหลกปลา
ในที่นี้นอกจากเราดูความสมบูรณ์ของกระโหลกปลา ไม่พิการแล้ว
เรายังพิจารณาถึงความยาวของกระโหลก ความกว้างของปาก(กินเก่ง)
ความกว้างของฐานกระโหลก ร่วมด้วยครับ
b
คือ การพิจารณาไหล่ของปลา
เบื้องต้นเราดูความสมบูรณ์ ความกว้างของไหล่
เพื่อความสวยงามไหล่ควรมีความกว้างเหมาะสม
รับกันกับฐานกระโหลก นอกจากนั้น
เราจะพิจารณากันที่ความสูงของไหล่
หรือที่ท่านอาจารย์ชัยมักเรียกว่า "แนวกระดูสันหลัง"
จุดนี้เป็นการบอกให้เราทราบถึงความน่าจะเป็น
ที่ปลาจะเติบโตที่ดีของปลาตัวนี้ได้
อีกอย่างจุดสังเกตนี้ทำให้เราพอเดาได้ว่า
ปลาตัวนี้ได้รับอาหารเพียงพอหรือไม่
มากไปหรือป่าว
เพราะปลาที่ได้รับอาหารเพียงพอไหล่จะดูแน่น
ดูเต็มและจะยังโชว์แนวกระดูกสันหลังอยู่
ส่วนปลาที่ได้รับอาหารมากเกินไป
ช่วงไหล่จะหนามากจนดูเหมือนหัวปลาเล็ก ไม่รับกับไหล่
ในทางกลับกัน ปลาที่ได้รับอาหารไม่เพียงพอ
ก็จะพบว่าช่วงไหล่จะลีบ เรียกว่าสันหลังลีบ
c
คือ การพิจารณาช่วงท้องของปลาควรมีความต่อเนื่องกันกับไหล่
และข้อหางจุดนี้เองที่เราจะสังเกตได้ง่ายที่สุด
ว่าปลาตัวนี้จะลงพุงหรือป่าว
จากปลาตัวอย่างนี้ให้เราพิจารณากันที่
"ตำแหน่งวงกลมสีเขียว"
จะเห็นว่ามีส่วนที่ยุบเข้าไปข้างลำตัว
ทำให้พอทราบว่าปลามีโอกาสที่จะลงพุง
แต่อย่างไรก็ดีต้องยอมรับ
ว่าในปลาวาไรตี้จะหาโครงสร้างที่ดีสมบูรณ์
เหมือนปลาหลัก(โคฮากุ โชว่า ซันเก้) จะยากกว่า
เพราะการพัฒนาสายพันธุ์มีน้อยกว่าปลาหลัก
d
คือ การพิจารณาความยาวของข้อหาง
(ดูจากระยะห่างของครีบหลังกับครีบหาง)
ร่วมกับการพิจารณาความอวบของข้อหางร่วมด้วย
ปลาที่มีข้อหางอวบช่วยทำให้โครงสร้างดูสวยงาม
มีพลังความยาวของข้อหางเป็นตัวบ่งชี้
ความน่าจะเป็นที่ปลาจะมีความยาวลำตัวที่ดี
e
คือ การพิจารณาระยะห่างของลูกตาของปลา
เพื่อทราบว่ากระโหลกกว้างเพียงใด
....
เอาหละครับสำหรับวันนี้เพื่อนคงพอทราบ
หลักในการพิจารณาโครงสร้างของปลาไปบ้างแล้ว
เดี๋ยววันหน้าผมจะมาเจาะลึกในแต่ละจุดกันอีกทีครับ
สำหรับวันนี้พอเท่านี้ก่อนครับ
ขอขอบคุณคุณนณณ์
ที่อนุญาติให้ผมวิจารณ์ปลาตัวนี้ครับ

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553

ตะไคร่ในบ่อบอกอะไรกับเราบ้าง

สวัสดีครับเพื่อนๆ
พอดีผมได้มีโอกาสอ่านกระทู้
ของคุณ J@RJ@E ในเว็ป Koi 360
ซึ่งได้นำเสนอเกี่ยวกับตะไคร่น้ำประเภทต่างๆ
สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ซึ่งทำให้ผมทราบว่า ตะไคร่น้ำมันมีชนิดแยกย่อยอีกมากมาย
ก่อนที่เราจะไปรู้จักกับตะไคร่น้ำเหล่านี้
ผมอยากให้พวกเราย้อนกับไปทำความเข้าใจ
เกี่ยวกับวัฏจักรไนโตรเจน(ดูภาพประกอบ)
ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากการที่เราให้อาหารปลา
แก่ปลาของเรา แล้วปลาขับถ่ายของเสียออกมาเป็น
แอมโมเนียไนโตรเจน แล้วถูกแบคทีเลียที่ชื่อว่าไนโตรโซมูนาต
เปลี่ยนไปเป็นไนไตร และถูกแบคทีเลียประเภทไนโตรแบ๊ชเจอร์
เปลี่ยนไนไตรไปเป็นไนเตรท
ซึ่งไนเตรทนี้เองที่พืชสามารถนำไปใช้ในการเจริญเติบโต
จากวัฎจักรไนโตรเจน สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมชมภาพเคลื่อนไหวได้ที่
เอาหละครับเพื่อนๆคงพอทราบว่าไนเตรททำให้พืชน้ำในบ่อเจริญเติบโต
โดยการดึงเอาไนไตรที่มีอยู่ในน้ำไปใช้ในการเจริญเติบโต
แต่การที่พืชน้ำแต่ละชนิดที่มีในบ่อปลาของเราเจริญเติบโต
แตกต่างกันมันบอกให้เราทราบได้ว่าในบ่อเรามีสภาพเป็นอย่างไร
มีสารประกอบอะไรละลายอยู่ในน้ำบ้าง
ผมขอสรุปให้เพื่อเข้าใจง่ายขึ้นนะครับ
ตะใคร่เมือกสีเขียวแกมน้ำเงิน bluegreen algae
พบในน้ำที่มีไนเตรทต่ำมากๆอาจจะพบตะใคร่ชนิดนี้ ตะใคร่สีน้ำตาล Brown algae
พบในบ่อใหม่ๆ มีแสงน้อย หรือมีซิลิก้าในน้ำมากเกินไป
ตะใคร่จุดเขียว spot algae
พบในบ่อที่โดนแสงจัดเป็นเวลานานๆ
ตะใคร่เส้นผม Hair algae
พบในบ่อที่มีธาตุอาหารในน้ำมากเกินไป
ขาดการเปลี่ยนน้ำและแสงจัดเกินไป ตะใคร่ขน brush algae
พบในบ่อที่ขาดการดูแล มีสารอาหารมากเกินไป
ธาตุเหล็กในน้ำก็เป็นตัวกระตุ้นให้ตะใคร่ชนิดนี้ลุกลามได้ ตะใคร่ขนเขียว Beard algae
ในสภาพน้ำปกติก็สามารถเกิดตะใคร่ชนิดนี้ได้
ในบ่อที่สภาพแสงจัดและมีคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เพียงพอ น้ำเขียว Greenwater
เกิดจากสาหร่ายเซลเดียวที่ได้สารอาหาร
และแสงจากในน้ำทำให้เกิดภาวะ algae bloom ขึ้น เพื่อนๆลองไปสังเกตดูสิครับว่าในบ่อปลาของเรา
มีตะไคร่น้ำชนิดไหนมากกว่ากัน
แล้วเราก็จะทราบได้ถึงสภาพน้ำ
ในบ่อปลาของเราเองแหละครับ

วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2553

ปรับปรุงบ่อ และสวน

สวัสดีครับเพื่อนๆ
ช่วงปลายปีที่ผ่านมางานเยอะ
กิจกรรมจัดไปหน่อย
ไม่ค่อยมีเวลามาเขียนบล๊อกเลยครับ
วันนี้พอมีเวลาก็เลยมาเม้าท์สักหน่อย
เกี่ยวกับการปรับปรุงบ่อและทางเดินในสวน
ผมขอเริ่มจากการปรับปรุงบ่อก่อนแล้วกันนะครับ
"เพื่อนๆสามารถดูภาพขยายได้เพียงคลิกที่ภาพครับ"
(ภาพก่อนปรับปรุง)
จากรูปเป็นระบบกรองก่อนปรับปรุง
จะเห็นว่ากรองกายภาพมีขนาดเล็กเกินไป
ผมจึงได้ทำการเพิ่มพื้นที่กรองกายภาพ
ตามคำแนะนำของพี่หนึ่ง (2P)
โดยเพิ่ม ฮันนี่คอม เข้าไป
และใช้ประโยชน์จากช่องว่าง
ที่เดิมเคยเป็นช่องที่ติดตั้งสกิมเมอร์
(ภาพปรับปรุงแล้ว)
ให้มาเป็นมูฟวิ่งเบด และสกิมเมอร์
แบบนี้ทำให้ประสิทธิภาพการบำบัดน้ำ
มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
(ภาพก่อนการปรับทิศทางกระแสน้ำ)
นอกจากนั้นผมยังได้ปรับกระแสน้ำ
จากเดิมจะไหลวนรอบๆบ่อ
กว่าน้ำจะไปถึงตำแหน่งท่อล้นน้ำ
มันนานเกินไปทำให้หน้าน้ำ
ไม่ค่อยเป็นที่พอใจของผมสักเท่าไร
อีกอย่างกระแสน้ำมันเบาไป
ปลาไม่ค่อยได้ว่ายน้ำออกกำลังกาย
(ภาพปรับเปลี่ยนทิศทางกระแสน้ำแล้ว)

ผมจึงปรับใหม่

โดยให้กระแสน้ำไหลทางเดียว

เรียนแบบบ่อของ มร.แมนโซ่ คาเนโกะ

ถึงแม้ว่าน้ำจะไหลทิศทางเดียว

แต่ผมก็ไม่ให้กระแสน้ำไหลแรง

จนปลาต้องว่ายต้านน้ำตลอดเวลา

เพราะแทนที่เราจะได้ปลาที่ข้อหางหนา

แต่ครีบว่ายอาจจะลู่ก็ได้

(คนอะไรช่างคิดมากจัง อิอิ)
นอกจากกระแสน้ำไหลทางเดียว

จะช่วยเรื่องโครงสร้างของปลาแล้ว

ยังช่วยไล่หน้าน้ำได้ดียิ่งกว่าเดิม

ทำให้หน้าน้ำไม่ตึง

ส่งผลให้อ๊อกซิเจนละลายลงสู่น้ำได้ดียิ่งขึ้น

(ภาพมีเดี่ยก่อนปรับปรุง)


เรามาดูวัสดุกรองกันบ้างครับ
จากเดิมผมใส่ JFM หนาเพียง 50 cm
แต่ด้วยความต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำ
ให้ดียิ่งขึ้น ผมจึงเพิ่ม JFM ให้หนา 1 m
และเพิ่มจำนวน KK1 , KK2 อีก1เท่าเป็น 250 ลิตร
เพิ่ม Bio ball จากเดิมใช้แบบพิเศษ 4,000 ลูก
โดยเพิ่ม Bio ball แบบซี่หวี อีก 9,000 ลูก
(ภาพมีเดี่ยหลังปรับปรุงแล้ว)
ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัสของมีเดี่ยอีกประมาณ 150%
แต่เพื่อให้ได้น้ำที่ดียิ่งขึ้น ผมปรับเปลี่ยนปั้มลมเสียใหม่
จากเดิมใช้ซูปเปอร์ชารจ์ 3 ตัว สลับกันทำงาน
มาเป็นปั้มลมธรรมดา แต่แบ่งการทำงานใหม่
เพื่อให้เหมาะสม กล่าวคือ
ในช่องกรองผมใช้ปั้มลมเติมลม 550 ลิตรต่อนาที
ทำงานตลอด 24 ชม.
และที่จานอ๊อกซิเจน
ใช้ปั้มลมเติมลม 600 ลิตรต่อนาที
ทำงาน 12 ชม. เปิดเฉพาะตอนกลางคืน
เพราะกลางวันผมจะได้ดูปลาได้สะดวก
และกลางคืนปริมาณอ๊อกซิเจนจะลดต่ำลง
ดังนั้นการเติ่มลมในช่วงกลางคืนน่าจะเหมาะสมครับ

เอาหละครับ

เรามาดูสกิมเมอร์ปรับปรุงใหม่

ตามคำแนะนำของ นายแชมป์

โดยเพิ่มความลึกของกระบอกสกิมเมอร์ให้มากขึ้น

เจาะรูสำหรับใส่หัวทราย นอกจากนั้นผมก็เปลี่ยนปั้มน้ำใหม่

ใช้ ของ TCP รุ่น 180 w. แบบเทอร์โบ จำนวน 2 ตัว

เพื่อสูบน้ำจากกรองช่องสุดท้ายขึ้น เบกกิ ต้องขอบคุณแชมป์ที่มาติดตั้งให้ถึงที่บ้านติดตั้งเสร็จก็ทดสอบการทำงานกันเลยครับ

ปั้มเงียบ ทำงานนิ่ง สูบน้ำได้เยอะมากครับเอาหละครับมาดูภาพการปรับปรุงบ่อกรองของผมกันดีกว่า

กรองช่องแรก ทำราวสำหรับแขวนแปรงพู่กรองใหม่ครับ นี่ครับแขวนแปรงพู่กรองเรียบร้อย บ่อผมใช้ JFM รวมทั้งหมด 28 แผ่น

ฮันนี่คอม 3 ก้อน ช่องถัดมาจากแปรงพู่ก็เป็นฮันนี่คอม

ถ้าจะให้ดีควรติดตั้งในตำแหน่ง

ที่กระแสน้ำไหลจากล่างขึ้นบนนะครับ

ช่องถัดมาใส่ JFM ครับ ทำแขนรองรับ JFM ใส่ JFM ชุดที่ 1 ลงไปก่อน ตามด้วย JFM ชุดที่ 2 ครับ

ความหนาของแต่ละชุดคือ 50 cm.

ความหนารวม 1 m

ประกอบปลายท่อเพื่อบังคับทิศทางของน้ำ

ให้ไหลขึ้นแนวดิ่ง เพื่อให้น้ำได้สัมผัสกับมีเดี่ยอย่างทั่วถึงปิดด้านบนด้วย Bio ball แบบซี่หวี มาดูชุดมูฟวิ่งเบดครับที่ก้นตะกล้าเป็นตาข่าย ตัดช่องสำหรับต่อท่อสกิมเมอร์ติดตั้งสกิมเมอร์ที่ปลายด้านล่าง ทางออกของฟองโฟม จากนั้นผมก็เปลี่ยน

ท่อลม สายลม วาล์วลม พร้อมหัวทราย ใหม่ทั้งหมดชุดมูฟวิ่งเบด และสกิมเมอร์

ที่ประกอบเสร็จแล้ว หน้าตาเป็นแบบนี้ครับ

เหลือใส่ KK1,kk2

การติดตั้งมูฟวิ่งเบดตำแหน่งนี้(น้ำมุด)

มีประโยชน์มากกว่าที่คิดครับ เพราะนอกจากจะได้

ระบบกรองชีวภาพแบบมีเดี่ยเคลื่อนที่แล้ว

การเติมอ๊อกซิเจน ณ ตำแหน่งนี้ช่วยให้น้ำได้สัมผัส

กับฟองอากาศได้ดีที่สุดครับ ที่ท่อชักน้ำผมเจาะรู แล้วยึดน๊อต

ไอเดียนี้ได้จากการได้เห็นฟาร์มที่ญี่ปุ่นเค้าทำกันครับ ระบบกรองติดตั้งเสร็จแล้ว รอการเดินระบบจริงครับท่อล้นน้ำเปลี่ยนมาใช้ของแชมป์ เอาหละครับ มาขัดบ่อกันดีกว่าครับ

งานนี้ล้างและขัดทั้งบ่อเลี้ยงบ่อกรองครับ น้ำดำจัง จากนั้นตากบ่อแห้ง 2 อาทิตย์ครับ Bio ball แบบพิเศษรีเฟรช 3 กล่อง แตกหมดเลยครับ

เจ้าพวกนี้เมื่อโดนน้ำแล้วไม่ควรทิ้งให้แห้งนะครับ

เพราะมันจะแตกแบบที่เห็นนี่แหละครับ

ทำให้รีเฟรชละลายน้ำเร็วกว่าที่ควรจะเป็น

ผลก็คือ เปลืองครับ เหอะๆ ที่ปลายท่อของบักกิชั้นสุดท้าย

ผมสวมท่อแล้วเจาะรู(ตามรูป)

เพื่อเปลี่ยนทิศทางการไหลของกระแสน้ำใหม่ครับเปลี่ยนจานอ๊อกซิเจนใหม่ทั้ง 3 อัน ทาสีโครงหลังคาใหม่ทั้งหมดแผ่นใสชุดนี้จะถูกเปลี่ยนใหม่

แล้วย้ายไปติดตั้งที่บ่อเล็กของผม ไม้ฝากรองเอามาทำความสะอาดใหม่ ถังพักลมครับ เสร็จจากการปรับปรุงบ่อกรองแล้ว

ผมก็มาทำทางเดินในสวนใหม่ตามแบบข้างล่างนี้ครับ

ทำเสร็จแล้วครับ
เน้นความเรียบง่ายครับ
ทางเดินเทพื้น แล้วปูกระเบื้องแผ่นใสเปลี่ยนใหม่สว่างกว่าเดิม
เหตุที่เปลี่ยนแผ่นใสใหม่เพื่อให้ปลาได้รับแสงแดดมากยิ่งขึ้นครับ สีของน้ำขุ่นๆเพราะรีเฟรช
ละลายลงมาในน้ำเยอะเกินไปครับ บักกิ
มุมไกลของบ่อครับ
กล่องเก็บอุปกรณ์ ปั้มลม ปั้มน้ำ ของบ่อครับ
ใช้ปั้มลม Adman 12000 5 ตัว Hi blrow HP 200 3 ตัว
มาดูบ่อเล็กของผมกันบ้างครับ
มุมไกลของบ่อเล็ก ผมทำบันไดทางขึ้น
เพื่อความสะดวกเวลตักปลา
หรือเวลาที่พนักงานล้างกรอง
ปลูกต้นไม้นิดหน่อย แต่ไม่ค่อยเน้นสักเท่าไร
เพราะผมชอบปลามากกว่าครับ ฮาๆๆ
บักกิ และสกิมเมอร์ ของบ่อเล็กครับ
มาดูระบบกรองของบ่อเล็กครับ
ช่องแรกเป็นแปรงพู่กรอง กั้นด้วย มาทาร่าแมท
แล้วมาช่องมูฟวิ่งเบด ตามด้วยฟิกเบด
จากนั้นปั้มน้ำจะสูบน้ำไปยังถังกรอง
แล้วไหลผ่านถังสกิมเมอร์
สุดท้ายผ่านบักกิก่อนกลับสู่บ่อเลี้ยง
กล่องเก็บของสำหรับบ่อเล็กครับ
มีปั้มลม Resun LP100 1 ตัว
กับสต๊อกยาที่ต้องใช้ครับ
เฮอ....เม้าท์มานาน
เพื่อนๆคงจะเซง
ผมขอจบการเม้าท์ของผมไว้เท่านี้ก่อนดีกว่าครับ
สวัสดีครับทุกคน