วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2552

เจ้า No,9

เจ้า NO,9
วันนี้วันที่ 9 มค. 2009
ผมขอเม้าท์ถึงเจ้า เบอร์ 9 ของผมให้ฟังนะครับเพื่อนๆ
....
โชว่า นำเข้าโดยโจ้โค่ยคิชิ
เป็นปลานิไซ ไดนิชิ มีใบเซอร์ เกรด 5 S
โดยฟาร์มผู้แทนจำหน่ายไดนิชิอีกทีเป็นผู้คัดแบ่งเกรด
ภาพนี้เป็นภาพตอนอยู่ที่ญี่ปุ่นก่อนเข้ามาเมืองไทยครับ
มีชื่อเจ้าของปลากำกับไว้หมดแล้ว ชุดนี้มีทั้งหมด 10 ตัวครับ
....
เมื่อปลามาถึงเมืองไทย
ผมและเพื่อนๆจึงจับฉลากเพื่อนเลือกปลา
จึงเป็นที่มาของ เจ้าเบอร์ 9
เพราะผมจับได้ลำดับที่ 9 นั่นเอง
ภาพรวมรุ่น(เท่าผมที่เก็บภาพไว้ได้)
หลังจากที่ปลามาอยู่เมืองไทยได้สักระยะหนึ่ง
ปลาก็โตขึ้นมีก่เปลี่ยนแปลงอยู่พอสมควรโดยเฉพาะโครงสร้าง เอามาให้ดูเป็นรายตัวเลยครับ
....
เบอร์ 1
ตัวนี้เคยเป็นของผม สีแดงดรอบลงช่วงกลางหลัง
หลังจากเข้ามาได้ระยะหนึ่ง เป็นคินได โชว่า มีโครงสร้างที่ดีครับ
ปัจจุบันเจ้าเบอร์ 1 ย้ายบ้านไปแล้วครับ
เบอร์ 2
เจ้าของคนปัจจุบันคือ คุณอั๋น หรือ untAAA
เป็นโกโมโมะ โชว่า ที่น่าสนใจทีเดียว
ซึ่งผมยังคงติดตามดูพัฒนาการ
ของปลาตัวนี้อย่างต่อเนื่องครับ
เบอร์ 3
ตัวนี้อยู่กับพี่คอง...เสียดาย
ที่ผมตัดสินใจช้าพี่คองเลยยกให้คนอื่นไปก่อน เหอะๆ

เบอร์ 4
เจ้าของปลาคือ คุณโอ๋ หรือ Koenig
ได้ข่าวว่าปลากำลังยืด ขยายออกทางด้านยาว
นี่ก็เป็นอีกตัวที่น่าติดตามดูพัฒนาการครับ

เบอร์ 6
ปลาของพี่เต๋า...ตัวนี้เคยมาอยู่กับผมเอง
แต่ผมทำมันตายไปตั้งแต่ช่วงกักโรคครับ
เปลี่ยนน้ำมากเกินไป ตายเพราะคอร์ลีน เศร้าใจจริงๆ
โชว่าตัวนี้ก็เป็นคินไดโชว่า ถ้าดำไม่มานี่ดูไม่จืดเลยครับ อิอิ
เบอร์ 8
เดิมทีเป็นของพี่เอกธนา ผมขอพี่เอกมาเลี้ยงที่บ้าน
มีดำแบบ ซูมิอาซากิ(ดำที่มีตาข่ายปกคลุมอยู่)
ปัจจุบันย้ายบ้านไปแล้วครับ ข้ามมาที่เบอร์ 10

ก่อนที่จะไปถึงเบอร์ 9 ของผม...ตัวนี้น่าสงสานที่สุด

ต้องอยู่กับตาโจ้ที่ไม่ค่อยรักมัน

ผ่อมเพราะเจ้าของเอาแต่เที่ยว หรือว่าเที่ยวแต่เอาหว่า

อ๋า.....ติดเรดอาร์ไปหน่อยขออภัยครับ อิอิ เบอร์ 9

ปลาของผมเอง...ตัวนี้แหละครับ
ที่เราจะมาดูพัฒนาการของมันกัน
โชว่าตัวนี้มีดำที่เยอะและไม่ค่อยสมดุล
แต่สิ่งที่มันทำให้ผมยังเก็บมันไว้ในบ่อ
ก็เพราะคูณภาพ ดำ แดง ขาว ของเจ้าตัวนี้ครับ
....
ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 25 กย. 2007 ขนาด 40 cm
ตอนนั้นผมดูเจ้าตัวนี้แล้วคิดในใจว่าดำมันจะเป็นยังไงนะ
ถ้ามันมาครบคงจะน่าเกลียดแน่ๆ
ชื่อมันตอนนั้นคือ ลูกเป็ดขี้เหล่

ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 6 ตค. 2007 ขนาด 43 cm
โตขึ้นมานิดเดียว ถือว่าช้าสำครับผม
แต่มันดูล่ำขึ้นกว่ารูปแรก ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 21 พย. 2007 ขนาด 46 cm
ล่ำขึ้นอีกนิด หรือว่าผมคิดไปเองนะ ฮ่าๆๆๆ

ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 2 สค. 2008 ขนาด 60 cm
โตและล่ำขึ้น ดำมีการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะช่วงหัวของปลา
รูปปัจจุบันครับ ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 17 พย. 2008 ขนาด 63cm
สังเกตความเปลี่ยนแปลงของดำช่วงลำตัวของปลาสิครับ

ดูแล้วดำของเจ้าตัวนี้ น่าจะพัฒนาจากหัวไปท้ายนะครับ
แปลกดี แต่ก็ต้องติดตามกันต่อไปครับว่าดำมันจะเป็นอย่างไรต่อไป

วันเสาร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2552

รุ่นเล็ก ขำขำ

รุ่นเล็ก ขำขำ
....
โทไซโคฮากุ จาก ซาไก นำเข้าโดย สมายโค่ย
เป็นปลาที่ผม และ พี่ๆ เพื่อน ตักเลือกขึ้นมา
แล้วแบ่งกันไปเลี้ยงคนละตัว สองตัว ในราคา 1,000 บาท
ในที่นี้เราจะมาดูพัฒนาการของ โคฮากุที่ลูกศรชี้กันนะครับ



ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 19 พค. 2008
ตอนอยู่ที่ฟาร์ม ไม่ทราบขนาดแต่น่าจะเล็กกว่า 20 cm ครับ
....
เหตุผลที่ผมเลือกโคฮากุตัวนี้ คือ
ราคาถูก ซื้อเพื่อศึกษาดูพัฒนาการ และร่วมสนุกกัน พี่ๆ เพื่อนๆ
เมื่อเราดูอีกทีจะเห็นว่า คิว่า ซาชิ ของเจ้าตัวนี้คมดี
ลายหางปิด ที่คีบอก และคีบกระโดงหลังติดแดงนิดหน่อย
เพศก็ยังไม่รู้...วันที่ซื้อผมก็ไม่ได้เช็คเพศปลาเลยครับ ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 29 พค. 2008
หลังจากผ่านการกักโรคอยู่ 1 สัปดาห์
ผมก็ปล่อยเจ้าตัวนี้ลงเลี้ยงในบ่อ 10 ตัน
แล้วจึงตักขึ้นมาทำประวัติเล็กน้อย
ขนาดของมันอยู่ที่ 20 cm ผมเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงเบื้องต้นแล้วครับ
ลายที่เคยเห็นเป็น นิดัง (2 ตอน)
แดงกำลังมาเพิ่มสังเกตจุดที่ลูกศรชี้สิครับ เหอะๆ
ทำให้มันมีลายแดงแบบ อิปโปงฮิ (แดงตอนเดียว)
ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 25 มิย. 2008 ขนาดปลาเพิ่มขึ้นเป็น 27 cm
ผมถ่ายภาพหลายมุมมาให้ดูกันครับ พบการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้าง
เพื่อนๆ ลองสังเกตช่วงรอยต่อระหว่างกระโหลกและไหล่ของปลาสิครับ
แบบนี้เป็นลักษณะทางพันธุ์กรรมของปลาสายเลือดเก่า
บางคนก็อาจเรียกว่าหัวบุบ...แต่ผมมองว่าถ้ามันเป็นทั้ง 2 ข้าง
ไม่อยากเรียกว่าหัวบุบ น่าจะมองว่ามันสมบูรณ์มากกว่า
กระโหลกและไหล่ ขยายออกรับกัน
สีแดงมาเพิ่มมาขึ้น ทำให้เป็นปลาตอนเดียวสีเสมอกันดี
ดูลายแดงข้างลำตัวลงมาถึงแนวเส้นประสาทข้างลำตัว
เป็นตัวบอกว่าลายแดงจะไม่ลอย เมื่อมันโตเป็นปลาใหญ่จะดูดียิ่งขึ้น
เห็นไหมครับช่วงกระโหลก และไหล่มันนูนขึ้นมา

ตำหนิร้ายแรงคือ ช่องว่างสีขาวกลางผื้นแดง เรียกว่า Windows
เกิดจากช่วงนั้นเลี้ยงปลาแน่น น้ำในบ่อมีคุณภาพต่ำ
ผมแก้ไขโดยการให้อาหารเร่งสีเพียงอย่างเดียวต่อเนื่องกันหลายเดือน
ดูแลคุณภาพให้ดียิ่งขึ้น ล้างกรองเดือนละ 2 ครั้ง
ภาพนี้เป็นภาพสุดท้ายสำหรับตัวนี้
เพราะผมยกมันให้กับพี่ชายท่านหนึ่งแถวลาดพร้าว
....
ถ่ายเมื่อวันที่ 17 ตค. 2008 ขนาดเจ้าตัวนี้
โตขึ้นเป็น 42 cm เป็นเพศเมียครับ
ผมกู้สีแดงกลับคืนมาได้แล้ว 99% ยังเหลืออีกนิดหน่อย
เพื่อนๆสามารถ คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพขยาย
ภาพมีขนาดใหญ่มากๆ เพื่อให้เห็นรายละเอียดปลาตัวนี้กันชัดๆ
คิดว่า 1,000 บาท แพงเกินไปหรือป่าวครับ สำหรับเจ้าตัวนี้

วันศุกร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2552

"เจ้ากล้วยหอม"

"เจ้ากล้วยหอม"
....
ชิโร่ โทไซ จาก โอโมซาโกะ อีกตัวหนึ่งที่ผมมี
เดิมทีเป็นปลาของพี่ชายใจดี เขตตลิ่งชัน (พี่โจ้ยุ๊กยิก)
ซึ่งพี่โจ้เค้าไปเลือกมาเมื่อตอนปลาเข้าที่ ไทยนิปปอน
มีอยู่ทั้งหมด 5 ตัวตามภาพด้านล่างนี้ครับ
เจ้ากล้วยหอมคือตัวขวามือสุด
จาก โทไซชิโร่ทั้งหมด...เจ้ากล้วยหอม มันเหลืองกว่าชาวบ้านครับ
แต่เนื่องจากผมเห็นโครงสร้างของมัน บวกกับลักษณะดำแบบอาซากิ
.....
Asagi Sumi type เป็นดำที่ยังฝังอยู่ใต้เกล็ด
เรามองเห็นเหมือนมีตาข่ายคลุ่มสีดำนั้นอยู่
มีลักษณะเหมือนตาข่ายของอาซากิ
ดำแบบนี้จะพัฒนาจากด้านในของเกล็ด
เป็นดำที่ใช้เวลาในการพัฒนา
และเราสามารถมองเห็นลวดลายในอนาคตได้
....
แตกต่างจากดำแบบเม็ดพริกไทย
หรือดำแบบมุซาชิ ที่เรามองลวดลายค่อนข้างลำบาก
....
จากรูปข้างล่างจะเห็นว่ากล้วยหอมมันเหลืองกว่าเพื่อนเลย
ผมง่ะหวังในใจว่ามันจะเป็นตัวเมีย
เพราะถ้ามันเป็นตัวเมีย...ยังไงมันก็ขาวได้ครับ
เหอะๆ ซึ่งไม่ควรเอาอย่างผมนะครับ
ภาพเมื่อวันที่ 18 พค. 2008 ไม่ทราบขนาด และเพศ
ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 25 มิย. 2008
ตกลงว่ามันเป็นตัวผู้ครับ แอบผิดหวังเล็กน้อย เหอะๆ
ขนาดตอนนั้นก็ 25 cm เหลืองซะไม่มี
และก็เป็นที่มาของชื่อ "เจ้ากล้วยหอม" ครับ
ภาพนี้ถ่ายเมื่อ 17 พย. 2008 ขนาดเพิ่มขึ้นเป็น 40 cm
ขาวขึ้นเล็กน้อย จะเห็นความเปลี่ยนแปลงของลวดลายบนตัวปลา
ชิโร่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่วง 3 ปีแรก
สังเกตดำที่กำลังพัฒนาขึ้นมาจากในเกล็ดสิครับ
ภาพหมดเพียงเท่านี้วันหน้าผมจะมาอัพเดทให้ดูกันใหม่นะครับ
ว่างๆก็แวะมาดูกันอีกนะครับ